xs
xsm
sm
md
lg

NRFสู่คลีนฟูดเทค เปิดโรดแมปบริษัทลูก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – NRF เปิดทิศทางใหม่ชูกลยุทธ์รุกครั้งใหญ่ ผลักดันสู่เป้าหมายการเป็น ฟูดเทค คอมปะนี เร่งมือแก้ปัญหาไคลเมทเชนจ์ พร้อมวางโรดแมปบริษัทในเครือเดินหน้าสู่การเติบโตทุกกระบวนท่า

“เอ็นอาร์เอฟ มีเป้าหมายที่จะทำให้บริษัทเป็น คลีน ฟูด เทค คอมปะนี (Clean Food Tech Company) อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน (Climate Change) ลดการสร้างและปล่อยก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ในกระบวนการผลิตอาหาร และขับเคลื่อนองค์กรสู่สถานะ การปล่อยคาร์บอนเป็นลบ มุ่งเสริมความแข็งแกร่งของการดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอกย้ำถึงจุดยืนของบริษัทที่มุ่งสร้างผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้การปล่อยมลพิษมีค่าเท่ากับศูนย์ภายในปีค.ศ. 2050 ”
 
นี่คือคำกล่าวของ นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์เอฟ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นอาร์เอฟ / NRF
 
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในกระบวนการผลิตจำนวนมาก

ทั้งนี้ภาวะโลกรวนนั้นส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของพวกเราทุกคนอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแต่ละปีจะเห็นปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ได้กลายเป็นตัวการอันดับต้นๆ ของอันตรายต่อ สุขภาพของคนไทย โดยที่ตัวการใหญ่ของปัญหานี้คือ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ปล่อย มลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมมากถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด ในประเทศไทยเองนั้น เราต้องจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอย จากการเกษตรมากถึง 17 ล้านตันทุกๆ ปี
 
นายแดน กล่าวว่า เราต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วนขององค์กรและวางแผน การดำเนินงานของปีค.ศ. 2022 นี้ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ ซึ่งรวมไปถึงการตั้งเป้าผลการดำเนินงานในแต่ละระยะ เพื่อผลักดันให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้มากที่สุด และรวดเร็วที่สุด”


กระบวนการผลิตและพลังงานที่จะนำมาใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นในปี2565นี้ เอ็นอาร์เอฟ จึงมีแผนดำเนินการเป็นรูปธรรม ด้วยโครงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบทั้งในไทยและที่อเมริกา ซึ่งจะลงทุนสร้างโรงงานดักจับคาร์บอน การลงทุนในบริษัทที่ผลิตเทคโนโลยีและเข้าถือสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีต่างๆด้วย

คาดการณ์ว่าจะทำให้รายได้ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชนั้นเพิ่มขึ้น 20% สร้างกระแสเงินหมุนเวียนขององค์กรที่มากขึ้น
เอ็นอาร์เอฟจะตั้งโรงงานดักจับคาร์บอนที่ไทย มองทำเลภาคเหนือในรูปแบบโมบายยูนิต ขนาดเล็กเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้มีความคล่องตัวและสะดวกในการเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว มีขนาดพื้นที่ 20 ตารางเมตร สามารถรองรับวัตถุดิบในการผลิตได้ประมาณ 1 ตันต่อชั่วโมง ลงทุนประมาณ 10 ล้านบาทต่อยูนิต ซึ่งโรงงานดักจับคาร์บอนนี้ จะนำเอาของเหลือทางการเกษตรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ นำไปผ่านกระบวนการและผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ 3 อย่าง คือ 1.ไบโอคาร์บอน 2.น้ำมันชีวภาพ และ 3.ไฟฟ้าชีวมวล ที่่จะนำมาแปลงเป็นพลังงานต่อไป

ส่วนที่สหรัฐอเมริกานั้น ก็จะใช้วิธีการร่วมทุนกับบริษัทที่มีความเชี่ี่ยวชาญด้านนี้อยู่แล้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียด คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆนี้

ประโยชน์ของไบโอคาร์บอนมีมากมายเช่น ใช้ในการฟื้นฟูดินทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 7-14% ลดการปล่อยมีเทนในการปลูกข้าว 25% ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเพิ่มความแข็งแรง 15% ขณะที่น้ำมันชีวภาพใช้เจาะนำ้มันชีวภาพเพื่อลดคาร์่บอนไดออกไซด์อย่างถาวร เป็นต้น

การที่จะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าของการกำจัดคาร์บอนจนเหลือศูนย์ของ NRF นั้นเริ่มจาก การนำเอาขยะมูลฝอยในภาคการเกษตร หรือมวลชีวภาพ (Biomass) มาผลิตเป็นไบโอ-ออยล์ และถ่านชีวภาพ หลังจากนั้น NRF ก็จะนำถ่านชีวภาพเหล่านั้นเข้าไปใช้ในห่วงโซ่อุปทาน และกระบวนการผลิต เพื่อลดคาร์บอนออฟเซ็ต และเพิ่มคาร์บอนเครดิต เหล่านี้ถือเป็นกระบวนการต้นน้ำของการกำจัดคอร์บอน


NRF ยังร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรเพื่อผลักดันให้ปลูกพืชผล และผลิตโปรตีนในกระบวน การแบบยั่งยืน โดยเครือข่ายโรงงานในแต่ละภูมิภาคนั้น ก็สามารถกระจายสินค้าได้แบบปลอดภาษี ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์สามารถเข้าถึงสินค้าที่ผลิตโดยแบรนด์ในกลุ่ม NRF และผลิตจากโรงงานของ NRF ได้อย่างทั่วถึง ผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

“เราไม่เพียงแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้โดยเร็วเท่านั้น แต่เรายังสร้างทีมที่เฟ้นเอา บุคลากรคุณภาพจากทั่วโลก อันประกอบไปด้วย วิศวกรสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านตลาดคาร์บอนมาคอยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบบนเส้นทางของเราในครั้งนี้ ด้วยทีมที่แข็งแกร่งนี้ทำให้เรายังครองความเป็นผู้นำของตลาดที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสร้างคุณค่าอย่างมหาศาลให้กับทั้ง NRF บรรดาพันธมิตรของเรา รวมไปถึงผู้บริโภคด้วย” นายแดน กล่าว

ขณะเดียวกันทางเอ็นอาร์เอฟ ยังได้วางโครงสร้างองค์กรใหม่ตลอดจนบริษัท ในเครือและการวางโรดแมปในแต่ละกลุุ่มธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้เพื่อการก้าวสู่จุดหมายอย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยแบ่งเป็น 3 ช่องทางหลักคือ

1. ช่องทางการลดคาร์บอนประกอบด้วย การลดคาร์บอน และNove Foods ที่เป็นแพลนท์เบส ผลิต จำหน่ายอาหารที่มาจากพืช ( NRPT, Nove eats, Konscious Foods, Wicked Foods)

2. ช่องทางอาหารเฉพาะกลุ่ม คือ
City Food – อาหารเฉพาะกลุ่มและท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการผลิตอาหารท้องถิ่นและอาหารเฉพาะกล่มุบริโภคอย่างอื่น
Botany – ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบพิเศษ และที่ผลิตจากพืช
GTH - ดำเนินการพัฒนาแลผลิตและจำหน่ายสมุนไพรไทยอย่างเช่น กัญชง

3. ช่องทางระบบนิเวศ การสร้างคุณค่าทางอาหาร
NRF Cunsumer แบรนด์อีคอมเมิร์ซ การซื้อแบรนด์และอีคอมเมิร์ซของอะเมซอนทำให้เอ็นอาร์เอฟขยายการจัดจำหน่ายได้มากขึ้น
Undeem – ช่องทางการตลาดออนไลน์ทางตรง ซึ่งมีสมาชิก 300,000 คน สำหรับทำการขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท
CVC ลงทุนในระบบอีโคซิสเต็มเพื่อผลักดันกลยุทธ์ต่างๆ


สำหรับแผนการขับเคลื่อนของแต่ละกลุ่มธุรกิจในเครือหลักๆ ในปีนี้ได้มีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนในปีนี้

1. โรดแมปอาหารจากพืชแบรนด์ Nove
ด้านนวัตกรรม โดยการลงทุนกับทางทีมและศูนย์การวิจัยนวัตกรรมใน กรุงเทพฯ และกับ Konsciousในแวนคูเวอร์ , ทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัปเพื่อสร้างพลังงานสังเคราะห์และโอกาสสร้างรายได้, เพิ่มจำนวนเอสเคยูสินค้าจาก 40 เอสเคยู เป็น 60 เอสเคยู

ส่วนศักยภาพการผลิตจะเน้นไปที่การผลิตในไทยและสหราชอาณาจักร, การซื้อและสร้างกิจการในอเมริกา และเริ่มการเจาะตลาดสหราชอาณาจักร

ด้านผลิตภัณฑ์ เตรียมเปิดตัว Nove และ Nove Eatsในอเมริกา, เปิดร้าน NRPT Experience ในไทย, สร้างภาคีบริการด้านอาหาร และการตลาดขับเคลื่อนโดย NFT

2. โรดแมป ของNRPT Plant based
จะเปิดร้านต้นแบบ alt. Eaterขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้า บริโภคที่ปราศจากเนื้อสัตว์ ที่สุขุมวิท 51 ในไตรมาสที่ 2 เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์แบบใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลอง และรับรู้ รสชาติที่ดีเยี่ยมพร้อมเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ สําหรับอาหารทางเลือก

การเปิดตัวแบรนด์ "alt." อาหารทานเล่นแช่แข็งผลิตจากพืช ในไตรมาสที่ 2 โดยจัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและ ร้านค้าชั้นนำ ร่วมมือกับพันธมิตรร้านอาหารเพื่อพัฒนาสูตรอาหารแพลนท์เบสในประเทศไทย เป็นผู้นําเข้าแบรนด์สินค้าแพลนเบส Start-up จากต่างประเทศในช่วงกลางปี 2565

การร่วมมือกับบริษัทแพลนแอนด์บี ประเทศอังกฤษ เพื่อสร้างโรงงานผลิตเนื้อจากพืชด้วยนวัตกรรมขั้นสูงแห่งแรกของประเทศไทย ที่นิคมโรจนะ คาดการณ์แล้วจะพร้อมเริ่มผลิ ตไตรมาสที่2ปี 2566

3. อีคอมเมิร์ซ ซื้อกิจการแบรนด์ขนาดเล็กถึงใหญ่ 5-7 แบรนด์ มีสองบริษัทอยู่ในข้อตกลงดำเนินการ บริษัทหนึ่งเป็นบริษัทขนาด กลวง อีกบริษัทมีขนาดใหญ่

ช่องทางการจัดจำหน่าย นำเอาแบรนด์ที่มีอยู่เข้าไปสู่ช่องทางอี คอมเมิร์ซและช่องทางออฟไลน์ นำเข้าผลิตภัณฑ์สำคัญไปยังเอเชีย พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เช่น Prime การเปิดตัวเอสเคยูใหม่สู่ตลาด ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศไทย

4. โรดแมปอาหารท้องถิ่น ปี 2565 สู่การเติบโต 30% ด้วยการสร้างโรงงานผลิตซอส แห่งใหม่ 200 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในไตรมาส4 , การควบคุมต้นทุนและปรับปรุงศักยภาพในการผลิต พัฒนา SKU ใหม่ 50 เอสเคยู

ช่องทางการจัดจําหน่าย เน้นไปที่ตลาดหัวหาดสำคัญในการผลักดันผลิตภัณฑ์ NRF ได้แก่ UK จีน อเมริกา และไทย เน้นไปที่การทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายและสร้างการเข้าถึงในการจัดจำหน่าย เน้นไปที่การทำตลาดแบรนด์ NRE กับ NET สร้างชุมชนโซเชียลมีเดีย

5. โรดแมปBotany Petfood Factory ไลน์การผลิตอาหารเม็ดกำลังการผลิตสูงสุด 1,500 ตันต่อเดือน, มี กำลังการผลิตไลน์แรกจะถึง 50% ภายในไตรมาสที่ 4, สายผลิตสารเคลือบเม็ดของตนเอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าและลดต้นทุน เพิ่มจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์สินค้าของโบทานี

การขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของบริษัท ใช้ช่องทางผู้ค้าส่งและร้านอาหารสัตว์เลี้ยง กว่า 200 แห่งเป็นหลักและเพิ่มจำนวนขึ้นช่องทางเป็น 2 เท่าในปี 2566

Distribution เพิ่มกลุ่มสินค้า Hi protein ภายในไตรมาสที่ 3 ปี2565 เพื่อแชร์ส่วนแบ่งตลาด (High margin segment)
Product and marketing เร่งผลิตสินค้าให้พันธมิตรทางธุรกิจที่เซ็นข้อตกลงไว้ทันทีที่โรงงานเสร็จ โดยมีประเทศส่งออกโดยมีสัดส่วนประมาณ 65% ของกำลังการผลิต, นโยบายส่งเสริมการค้าและดำเนินการกิจกรรมสื่อสารแบรนด์ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ สัดส่วน 35% ของกำลังการผลิต


สำหรับผลประกอบการไตรมาส 4/2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 664 ล้านบาท เติบโต 51.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จากการขาย 438 ล้านบาท ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวม 2,100 ล้านบาท เติบโต 49.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มีรายได้จากการขายรวม 1,408 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 221 ล้านบาท และกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 318 ล้านบาท เติบโต 78% และ 26.2% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 124 ล้านบาท และกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 252 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมาจากผลิตภัณฑ์อาหารไทยและอาหารท้องถิ่น และอาหาร specialty ที่มีสัดส่วนรายได้กว่า 77% โดยมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นของลูกค้าในทุกประเภทสินค้า และในทุกภูมิภาค รวมถึงการรับรู้รายได้จากบริษัท City Food และการรับรู้รายได้จากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่ธุรกิจ E-commerce มีสัดส่วนรายได้ 18% โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการรับรู้รายได้จากบริษัท BOOSTED NRF Corp. ซึ่งได้ดำเนินการเข้าซื้อกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า ทั้งหมด 3 แบรนด์ คือ Prime Labs, SOL Trading และ WellPath

อีกทั้งยังมีการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce ในประเทศ ผ่านการลงทุนในบริษัท Indeem Group จำกัด และผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคที่ไม่ใช่อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ที่มีสัดส่วนรายได้ 1% มาจากการรับรู้รายได้การขายเครื่องจักร และอะไหล่ V-shape


กำลังโหลดความคิดเห็น