xs
xsm
sm
md
lg

พช.พัทลุงสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP ต่อเนื่อง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายเสรี จิตรเวช พัฒนาการจังหวัดพัทลุง มอบหมายนางสาวอุมาพร หวานช่วย นักพัฒนาชุมชน ( พช.)และนักการตลาดรุ่นใหม่ ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP ตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความสามารถและทักษะในการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งดำเนินการนำร่องปั้นผู้ขายออนไลน์ไป จำนวน 2 รุ่น จำนวน 50 รายนั้น

นางสาวอนงค์ ตุ้นรัตน์ พัฒนาการอำเภอตะโหมด มอบหมายให้นางนิตติยา อยู่เกตุ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนางสาวปรากาญ วิไลรัตน์ อาสาพัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ติดตามและสนับสนุน ซึ่งในภาคเช้า ร่วมติดตามจำนวน 2 ราย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนเส้นสานบ้านห้วยพงษ์ ของนางสาวนันทนา อินทร์ชุมนุม บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด และร้านริมห้วย คาเฟ่ ของนางสาวณาตยา ไชยโยธา บ้านเลขที่ 204 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด
ภาคบ่าย ติดตาม 2 ราย ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านปลักปลอม ของนางสาวอนิสรา ปานทอง บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด และกล้วยหิน ฟ้าผ่า ของนางสาวรัตนา ไชยรัตน์ บ้านเลขที่ 217/2 หมู่ 11 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างครึกครื้นและเต็มไปด้วยรอยยิ้มอย่างอบอุ่น โดยได้สอบถามปัญหาในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดออนไลน์ ช่องทางการจำหน่ายต่าง ๆ และรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์ ซึ่งปรากฎว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวทุกราย ดังนี้

1.วิสาหกิจชุมชนเส้นสานบ้านห้วยพงษ์ ของนางสาวนันทนา อินทร์ชุมนุม รายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ 12,000 บาท/เดือน หลังเข้าร่วม 19,500 บาท/เดือน

2.ร้านริมห้วย คาเฟ่ ของนางสาวณาตยา ไชยโยธา รายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ 12,000 บาท/เดือน หลังเข้าร่วม 52,000 บาท/เดือน

3.กลุ่มแม่บ้านปลักปลอม ของนางสาวอนิสรา ปานทอง รายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ 10,000 บาท/เดือน หลังเข้าร่วม 18,000 บาท/เดือน

4.กล้วยหิน ฟ้าผ่า ของนางสาวรัตนา ไชยรัตน์ รายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ 3,600 บาท/เดือน หลังเข้าร่วม 4,000 บาท/เดือน

นอกจากนั้นนักการตลาดรุ่นใหม่ได้แนะนำแนวทางการทำการตลาดออนไลน์และเทคนิคการเพิ่มยอดขายทางช่องทางอื่นๆ รวมถึงมีการไลฟ์สดผลิตภัณฑ์จักสานเส้นพลาสติก ผ่านเพจ OTOP เมืองลุง และได้เก็บภาพบรรยากาศเพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี น้ำตกลาดเตยและศูนย์การเรียนรู้ภูมิไท

ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนมุ่งหวังให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีความสามารถเข้าถึงตลาดออนไลน์ และขยายตลาดไปยังประเทศและต่างประเทศได้ รวมถึงการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปต่อยอดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้น ยังสอบถามกลุ่มฯ ไปถึงสิ่งที่กลุ่มยังต้องการเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เติมเต็มให้กลุ่มฯ มีศักยภาพในการขายเพิ่มขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ การติดตามสนับสนุน ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ดังกล่าว ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด


กำลังโหลดความคิดเห็น