นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขับเคลื่อนแนวคิดระดับโลก “การพัฒนาที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติจริงระดับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้บริบท “เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน และจากการดำเนินงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งมุ่งสร้างความเติบโตบนวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 เรื่อง การดำเนินงานส่งเสริมเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมในทุกจังหวัด โดยเน้นการสร้างการรับรู้ให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่ง “การประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” เป็นโครงการหนึ่งเพื่อหนุนเสริมให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายดังกล่าว
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองอยู่ดี คนมีสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และ การบริหารจัดการที่ดี” สี่มิติหลักซึ่งประกอบด้วย 34 ตัวชี้วัดของเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ได้ดำเนินการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง โดยมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือสำหรับองค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นในการนำไปใช้กำหนดนโยบาย วางแผนพัฒนา และติดตามประเมินผลการพัฒนาเมืองด้วยตนเอง ตลอดจนใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับจัดการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ จุดประกายและค้นหาแบบอย่างการดำเนินงานที่ดีด้านการพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
“สำหรับการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้มีเทศบาลสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งมีเทศบาลที่ได้รับรางวัลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ จำนวน 55 รางวัล กล่าวคือ รางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 44 รางวัล รางวัลชมเชยเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน จำนวน 1 รางวัล และรางวัลความมุ่งมั่นในการพัฒนาเมืองสู่ความน่าอยู่อย่างยั่งยืน จำนวน 4 รางวัล ประกอบกับรางวัลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่เข้าร่วมการประเมินเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2563 จำนวน 10 รางวัล รางวัลเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2564 จำนวน 16 รางวัล และเมืองที่เข้ารับการตรวจติดตามผลการดำเนินงาน (Surveillance Audit) เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2564 จำนวน 1 รางวัล” ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวทิ้งท้าย
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเพิ่มเติมว่า เมืองอยู่ดี คนมีสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และ การบริหารจัดการที่ดี” สี่มิติหลักซึ่งประกอบด้วย 34 ตัวชี้วัดของเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ได้ดำเนินการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง โดยมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือสำหรับองค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นในการนำไปใช้กำหนดนโยบาย วางแผนพัฒนา และติดตามประเมินผลการพัฒนาเมืองด้วยตนเอง ตลอดจนใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับจัดการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ จุดประกายและค้นหาแบบอย่างการดำเนินงานที่ดีด้านการพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
“สำหรับการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้มีเทศบาลสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งมีเทศบาลที่ได้รับรางวัลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ จำนวน 55 รางวัล กล่าวคือ รางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 44 รางวัล รางวัลชมเชยเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน จำนวน 1 รางวัล และรางวัลความมุ่งมั่นในการพัฒนาเมืองสู่ความน่าอยู่อย่างยั่งยืน จำนวน 4 รางวัล ประกอบกับรางวัลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่เข้าร่วมการประเมินเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2563 จำนวน 10 รางวัล รางวัลเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2564 จำนวน 16 รางวัล และเมืองที่เข้ารับการตรวจติดตามผลการดำเนินงาน (Surveillance Audit) เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2564 จำนวน 1 รางวัล” ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวทิ้งท้าย