โรงงานน้ำตาลเร่งรณรงค์และร่วมมือกับชาวไร่ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ และตัดอ้อยสด พบเปิดหีบ 57 วันหรือครึ่งทางมีอ้อยเข้าหีบรวมแล้ว 43.86 ล้านตันซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่อ้อยสดเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็น 75.46% ส่งผลให้ค่าความหวานและยิลด์อยู่ในเกณฑ์
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินการเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ของโรงงานทั้ง 57 โรง หลังเปิดรับผลิตมาแล้ว 57 วันมีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม 43.86 ล้านตันอ้อยซึ่งต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 49.99 ล้านตัน โดยอ้อยเข้าหีบดังกล่าวเป็นอ้อยสดเข้าหีบ 33.10 ล้านตันอ้อย หรือคิดเป็น 75.46% และสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 24.54% คิดเป็น 10.76 ล้านตันอ้อย เมื่อเทียบช่วงระยะเวลาหีบอ้อยที่เท่ากันของปีก่อนที่มีปริมาณอ้อยสดเพียง 50.47% และอ้อยไฟไหม้ 49.53%
“แม้ว่าผลผลิตอ้อยจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ชาวไร่และโรงงามต่างพยายามที่จะลดอ้อยไฟไหม้ให้ได้ตามนโยบายภาครัฐ ทำให้การหีบอ้อยหลังผ่านมาครึ่งทางสามารถทำผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) เพิ่มขึ้นเป็น 107.78 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มียิลด์อยู่ที่ 104.22 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ขณะที่ค่าความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยอยู่ที่ 12.58 ซีซีเอส จากปีก่อนที่มีค่าความหวาน 12.33 ซีซีเอส เป็นผลให้ผลผลิตน้ำตาลได้ 47.27 ล้านกระสอบ” นายสิริวุทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สังกัดกระทรวงพลังงาน ได้หารือในเบื้องต้นกับผู้ประกอบการโรงน้ำตาลเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจในโครงการ (เอ็มโอยู) การใช้ประโยชน์ใบอ้อยและยอดอ้อยเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อลดปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเอ็มโอยูโครงการความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อ้อยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการนำใบอ้อยที่เป็นเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ โดยคาดว่าจะมีการรับซื้อใบอ้อยจากชาวไร่ได้ประมาณปีละกว่า 1 ล้านตันเพื่อนำไปใช้แปรรูปเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์ต่อปีตลอดระยะเวลาโครงการระหว่างปี 2564-2566 ขณะที่ชาวไร่จะได้รับรายได้จากการขายใบอ้อยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากรายได้ดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาอยู่ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ จึงเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวไร่จัดเก็บอ้อยสดส่งเข้าหีบเพิ่มขึ้น
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินการเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2563/64 ของโรงงานทั้ง 57 โรง หลังเปิดรับผลิตมาแล้ว 57 วันมีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม 43.86 ล้านตันอ้อยซึ่งต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 49.99 ล้านตัน โดยอ้อยเข้าหีบดังกล่าวเป็นอ้อยสดเข้าหีบ 33.10 ล้านตันอ้อย หรือคิดเป็น 75.46% และสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 24.54% คิดเป็น 10.76 ล้านตันอ้อย เมื่อเทียบช่วงระยะเวลาหีบอ้อยที่เท่ากันของปีก่อนที่มีปริมาณอ้อยสดเพียง 50.47% และอ้อยไฟไหม้ 49.53%
“แม้ว่าผลผลิตอ้อยจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ชาวไร่และโรงงามต่างพยายามที่จะลดอ้อยไฟไหม้ให้ได้ตามนโยบายภาครัฐ ทำให้การหีบอ้อยหลังผ่านมาครึ่งทางสามารถทำผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) เพิ่มขึ้นเป็น 107.78 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มียิลด์อยู่ที่ 104.22 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ขณะที่ค่าความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยอยู่ที่ 12.58 ซีซีเอส จากปีก่อนที่มีค่าความหวาน 12.33 ซีซีเอส เป็นผลให้ผลผลิตน้ำตาลได้ 47.27 ล้านกระสอบ” นายสิริวุทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สังกัดกระทรวงพลังงาน ได้หารือในเบื้องต้นกับผู้ประกอบการโรงน้ำตาลเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจในโครงการ (เอ็มโอยู) การใช้ประโยชน์ใบอ้อยและยอดอ้อยเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อลดปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเอ็มโอยูโครงการความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อ้อยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการนำใบอ้อยที่เป็นเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ โดยคาดว่าจะมีการรับซื้อใบอ้อยจากชาวไร่ได้ประมาณปีละกว่า 1 ล้านตันเพื่อนำไปใช้แปรรูปเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์ต่อปีตลอดระยะเวลาโครงการระหว่างปี 2564-2566 ขณะที่ชาวไร่จะได้รับรายได้จากการขายใบอ้อยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากรายได้ดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาอยู่ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ จึงเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวไร่จัดเก็บอ้อยสดส่งเข้าหีบเพิ่มขึ้น