นับเป็นการประยุกต์ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนได้อย่างมีคุณค่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับชุมชนปากน้ำปราน ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม แถมเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมไปด้วยในขณะเดียวกัน
เพราะถ้าไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ก็ยากจะเกิดมีขึ้นมาได้...
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่แปลงปลูกป่า FPT 29 และFPT 29/3 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีรับมอบผืนป่า 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ ในส่วนที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมดำเนินการปลูก
ในวันดังกล่าว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสที่สำคัญต่อคณะทำงานตอนหนึ่งว่า “ปลูกป่าแล้ว ต้องให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย” โดยพระราชดำรัสดังกล่าวนั้น ได้กลายเป็นที่มาของการต่อยอดพัฒนาแปลงปลูกป่า FPT29 เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีในปัจจุบัน
และเพื่อเป็นการสนองพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดจนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ศูนย์ฯสิรินาถราชินีจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสังคมชุมชนขึ้น เพื่อให้ป่าชายเลนในพื้นที่ เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการคงอยู่ของทรัพยากรป่าชายเลน นำไปสู่การอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ศูนย์ฯสิรินาถราชินี ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนตำบลปากน้ำปราณในอดีต โดยมีการสืบค้นข้อมูลและการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึงของชุมชน และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนปากน้ำปราณ และก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ เพื่อสร้างการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ซึ่งที่ผ่านมานั้น ผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนนี้ ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี
โดยที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลน ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชุมชนรอบพื้นที่ หลากหลายชนิด เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้าง?
1. ขี้ผึ้งสมุนไพรสำมะง่า ที่มาพร้อมสรรพคุณต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้รอยฟกช้ำจากแรงกระแทก
2. ยานวดนวดสมุนไพรสารภีทะเลช่วยลดการอักเสบ ระคายเคือง ช่วยระบบการหมุนเวียนเลือด ลดอาการเมื่อยล้า บวม อักเสบ ของกล้ามเนื้อ และถอนพิษที่เกิดจากแมลง และสัตว์มีพิษกัดต่อย
3. สบู่สมุนไพร จากต้นสำมะง่าต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน จากโรคผิวน้ำเหลืองเสีย และกากเกลื้อน
4. สบู่สมุนไพร จากต้นขลู่ ต้านการอักเสบ ลดอาการคันของผิวหนัง ทำให้ผิวชุ่มชื้น
5. สบู่สมุนไพร จากต้นเบญจมาศน้ำเค็ม ต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน จากโรคผิวน้ำเหลืองเสีย
6. ปากกาฝักโกงกางอันนี้คือพิเศษจริง ๆ เพราะผลิตจากฝักโกงกางแห้ง โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ นับเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนและสามารถใช้งานได้จริง
7. ผ้าเช็ดหน้ามัดย้อมจากใบโกงกางแห้ง ซึ่งทำมาจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนเนื้อผ้าฝ้าย
8. ผ้าคลุมไหล่มัดย้อมจากใบโกงกางแห้งทำจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนเนื้อผ้าสปันเรยอน
9. กระเป๋ามัดย้อมจากใบโกงกางแห้ง ทำจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนกระเป๋าผ้าด้ายดิบ
สุดท้าย ต้องยอมรับว่า นอกเหนือจากไอเดียหรือภูมิปัญญาในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างและกระจายรายได้ในชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าพื้นที่ป่าชายเลนที่มีต่อชุมชนตำบลปากน้ำปราณ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังนำไปร่วมสมทบทุนในโครงการเพื่อน้อง เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรป่าชายเลนที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนได้ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรในชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
เพราะถ้าไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ก็ยากจะเกิดมีขึ้นมาได้...
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่แปลงปลูกป่า FPT 29 และFPT 29/3 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีรับมอบผืนป่า 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ ในส่วนที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมดำเนินการปลูก
ในวันดังกล่าว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสที่สำคัญต่อคณะทำงานตอนหนึ่งว่า “ปลูกป่าแล้ว ต้องให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย” โดยพระราชดำรัสดังกล่าวนั้น ได้กลายเป็นที่มาของการต่อยอดพัฒนาแปลงปลูกป่า FPT29 เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีในปัจจุบัน
และเพื่อเป็นการสนองพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดจนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ศูนย์ฯสิรินาถราชินีจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสังคมชุมชนขึ้น เพื่อให้ป่าชายเลนในพื้นที่ เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการคงอยู่ของทรัพยากรป่าชายเลน นำไปสู่การอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ศูนย์ฯสิรินาถราชินี ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนตำบลปากน้ำปราณในอดีต โดยมีการสืบค้นข้อมูลและการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึงของชุมชน และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังชุมชนปากน้ำปราณ และก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ เพื่อสร้างการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ซึ่งที่ผ่านมานั้น ผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนนี้ ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี
โดยที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลน ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชุมชนรอบพื้นที่ หลากหลายชนิด เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้าง?
1. ขี้ผึ้งสมุนไพรสำมะง่า ที่มาพร้อมสรรพคุณต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้รอยฟกช้ำจากแรงกระแทก
2. ยานวดนวดสมุนไพรสารภีทะเลช่วยลดการอักเสบ ระคายเคือง ช่วยระบบการหมุนเวียนเลือด ลดอาการเมื่อยล้า บวม อักเสบ ของกล้ามเนื้อ และถอนพิษที่เกิดจากแมลง และสัตว์มีพิษกัดต่อย
3. สบู่สมุนไพร จากต้นสำมะง่าต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน จากโรคผิวน้ำเหลืองเสีย และกากเกลื้อน
4. สบู่สมุนไพร จากต้นขลู่ ต้านการอักเสบ ลดอาการคันของผิวหนัง ทำให้ผิวชุ่มชื้น
5. สบู่สมุนไพร จากต้นเบญจมาศน้ำเค็ม ต้านการอักเสบ ช่วยแก้อาการคัน จากโรคผิวน้ำเหลืองเสีย
6. ปากกาฝักโกงกางอันนี้คือพิเศษจริง ๆ เพราะผลิตจากฝักโกงกางแห้ง โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนปากน้ำปราณ นับเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ป่าชายเลนและสามารถใช้งานได้จริง
7. ผ้าเช็ดหน้ามัดย้อมจากใบโกงกางแห้ง ซึ่งทำมาจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนเนื้อผ้าฝ้าย
8. ผ้าคลุมไหล่มัดย้อมจากใบโกงกางแห้งทำจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนเนื้อผ้าสปันเรยอน
9. กระเป๋ามัดย้อมจากใบโกงกางแห้ง ทำจากสีย้อมจากใบโกงกางแห้ง บนกระเป๋าผ้าด้ายดิบ
สุดท้าย ต้องยอมรับว่า นอกเหนือจากไอเดียหรือภูมิปัญญาในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างและกระจายรายได้ในชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าพื้นที่ป่าชายเลนที่มีต่อชุมชนตำบลปากน้ำปราณ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังนำไปร่วมสมทบทุนในโครงการเพื่อน้อง เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรป่าชายเลนที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนได้ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรในชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
|