xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจเข้ม! เรือจาก 6 ประเทศกลุ่มเสี่ยง “โควิด-19” กรมเจ้าท่าออกประกาศเพิ่มมาตรการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 มีนาคม) นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ได้ลงนามในประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 41/ 2563 เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับเรือที่เข้ามาในน่านน้ำไทย กรณีเป็นเรือจากท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 กำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักร ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong) สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic) และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran) เป็นเขตโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเรือที่เข้ามาในน่านน้ำไทยให้ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคของประเทศ อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงประกาศแนวปฏิบัติสำหรับเรือที่เข้ามาในน่านน้ำไทย กรณีเป็นเรือจากท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังต่อไปนี้

1. ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรใดเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019) นายเรือ คนประจำเรือ ผู้โดยสาร และผู้ที่อยู่บนเรือที่เดินทางมาจากท้องที่นั้นต้องได้รับการกักตัว (quarantine) และอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออย่างอื่นตามที่รัฐบาลกำหนด

2. กรณีการเข้ามาของเรือเดินระหว่างประเทศที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 กำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักร ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea) สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong) สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic) และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Ian) เป็นเขตโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) และเมืองหรือประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขจะประกาศแก้ไขเพิ่มเติม มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาประเทศไทย นายเรือหรือตัวแทนเรือจะต้องดำเนินการดังนี้

2.1 ให้ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค ก่อนเรือเข้ามาในช่องทางเข้าออกประเทศอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ได้แก่ ใบสำแดง
สุขภาพของคนในเรือ (Maritime Declaration of Health) รายชื่อ 10 เมืองที่ผ่านมา บัญชีรายชื่อลูกเรือ
และผู้โดยสารในเรือ และผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย 7 วันล่าสุด
2.2 ให้นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.2.1 ให้ความรู้แก่ผู้ทำการในเรือ และผู้โดยสาร เรื่อง โรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.2.2 จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายคนประจำเรือและผู้โดยสารเป็นการประจำ หากพบว่ามีความผิดปกติ มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้คัดแยกผู้ป่วยและฝ้าระวังอาการ และหากสามารถกระทำได้ให้นำตัวส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อทำการตรวจอาการผิดปกติดังกล่าวทันที
2.2.3 ให้นายเรือจัดให้มีการดำเนินการคัดกรองผู้ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บุคคลที่อยู่บนเรือ หากพบหรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อให้คัดแยกตัวไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น และแจ้งด่านควบคุมโรค
2.3 เมื่อพบว่ามีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 บนเรือ ให้เรือทอดสมอตามจุดตำบลที่ทอดสมอสำหรับการกักกันโรคและคัดกรองโรค ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือตำบลที่พนักงานแพทย์เห็นสมควร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
3. ให้ผู้ประกอบการเรือ เจ้าของเรือ นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ ดำเนินการให้เป็นไปตามหมวดที่ 5 ข้อบังคับสำหรับการป้องกันโรคภยันตราย พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น