xs
xsm
sm
md
lg

ทีเอ็มบีเจาะลึกอินไซต์ เสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี ตอกย้ำแนวคิดให้เอสเอ็มอี “ได้มากกว่า” เสริมองค์ความรู้ เปิดวิสัยทัศน์ให้เอสเอ็มอีไทยเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ล่าสุดจัดงาน “TMB SME Industry Forum 2019 เสริมศักยภาพรอบด้าน ให้เอสเอ็มอีไทยก้าวไกลได้มากกว่า” มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมงานกว่า 400 คน

งานสัมมนาเจาะลึกความรู้เพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง, อุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมผู้ค้าส่ง และอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ พร้อมดึง 10 นักธุรกิจและกูรูเอสเอ็มอีชื่อดังร่วมถ่ายทอดเทคนิค ประสบการณ์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง สร้างความแตกต่าง และต่อยอดธุรกิจได้ โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมงานกว่า 400 คน


นายพร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า ในปัจจุบันการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและดิจิทัลดิสรัปชันเป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคของเอสเอ็มอีที่จะเติบโตในธุรกิจ ซึ่งทีเอ็มบีมุ่งเน้นเรื่องการศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกๆ แง่มุม เพื่อนำเสนอโซลูชันและบริการที่ตอบโจทย์ Pain Point และช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเติบโตและต่อยอดได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการจัดงาน “TMB SME Industry Forum 2019 เสริมศักยภาพรอบด้าน ให้เอสเอ็มอีไทย ก้าวไกลได้มากกว่า” ครั้งนี้เป็นการออกแบบเนื้อหาแบบเจาะลึกเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 4 อุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทย คือ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง, อุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมผู้ค้าส่ง และอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ

ข้อมูลจากงานสัมมนารอบอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง พบว่ามีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจำนวนกว่า 80,000 รายที่อยู่ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งนายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยที่จะขับเคลื่อนด้วยแรงหนุนจากภาครัฐอีกตลอด 4 ปีข้างหน้า และงานการก่อสร้างภาคเอกชน (นิคมอุตสาหกรรม โรงงาน และที่อยู่อาศัย) จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในช่วงปี 2564 หลังจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและในโครงการอีอีซีเพิ่มมากขึ้น นายพรเทพ เหลือทรัพย์สุข ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มผลผลิต ได้แนะเคล็ดลับการสร้างประสิทธิภาพจากภายในองค์กร และ 8 เทคนิคการกำจัดความสูญเปล่าในองค์กรที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายก็มีกำไรได้ และปิดท้ายด้วยกรณีศึกษาเรื่องการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนของกระเบื้องดูราเกรซจาก นายสมบูรณ์ อุรานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)


ต่อด้วยข้อมูลสำคัญจากอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ถึง 80,000 ราย และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 8.8 แสนล้านบาท โดยนางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ ผู้ช่วยกรรมการรองผู้อำนวยการ/กรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้เผยถึงภาพรวมของธุรกิจอาหารและเทรนด์ธุรกิจอาหารของโลกที่เอสเอ็มอีไทยจะต้องจับตามอง เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ต่อยอดขยายธุรกิจอย่างแตกต่างต่อไป ด้านนายทัดณัฐ ฉันทธรรม์ เจ้าของแบรนด์แมลงอบกรอบ “ไฮโซ” ได้เปิดเผยเรื่องราวของการสร้างแบรนด์และส่งออกอาหารไทยให้ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ

ขณะที่อุตสาหกรรมค้าส่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของไทย ซึ่งมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ในอุตสาหกรรมถึง 1.3 ล้านราย และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง 2 ล้านล้านบาท โดยได้รับเกียรติจาก นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ตั้งงี่สุนซูเปอร์สโตร์ จำกัด เจ้าของธุรกิจค้าส่งร้านดังแห่งจังหวัดอุดรธานี มาเผยประสบการณ์การบริหารงานด้วยกลยุทธ์สร้างความเข้าใจของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง จนครองใจร้านค้าในจังหวัดอุดรธานี สร้างยอดขายได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท พร้อมเสริมความรู้ด้านบัญชี และภาษี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องทราบ นายถนอม เกตุเอม กูรูด้านภาษีและบล็อกเกอร์ด้านการเงิน พร้อมตอบทุกคำถาม ทั้งเรื่องโครงสร้างรายรับ รายจ่าย กำไร และภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ จบงานด้วยความรู้ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ซึ่งข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ (ETDA) พบว่ามูลค่าของอีคอมเมิร์ซในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 680,000 ล้านบาทภายในปี 2562 นี้ คิดเป็นประมาณ 20% ของมูลค่าการค้าปลีกของประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่ขายของบนอีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม และโซเชียลคอมเมิร์ซ ทั้ง Facebook LINE และ Instagram รวมกว่า 500,000 คน
กำลังโหลดความคิดเห็น