xs
xsm
sm
md
lg

Gulf Growth Future รุ่นที่ 2 รวมพลังคนรุ่นใหม่หัวใจรักษ์ทะเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ขยะในทะเล” กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ขยะมากมายมหาศาลที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้น ปริมาณขยะในทะเลถูกจัดว่ามีสัดส่วนมากที่สุด โดยขยะทะเลนั้นเกิดจากกิจกรรมพักผ่อนตามแนวชายฝั่งของนักท่องเที่ยวในสัดส่วนถึง 41% และขยะที่เกิดจากการทำการประมงมีสัดส่วนที่ 8% ที่สำคัญปัญหานี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างวิกฤติต่อสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากเสี่ยงสูญพันธุ์อีกด้วย

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงปัญหานี้เช่นกัน และเห็นถึงศักยภาพของกลุ่มผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีพลังมุ่งมั่นต้องการทำกิจกรรมดีๆ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการค่ายพัฒนาเยาวชนที่ชื่อว่า Gulf Growth Future ซึ่งปีนี้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ว่า เยาวชนคือหนึ่งในกำลังหลักที่จะเติบโตขึ้นช่วยพัฒนาชาติในด้านต่างๆ การปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักในปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

นายธนญ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มบริษัท กัลฟ์ เห็นความสำคัญของกลุ่มเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา เป็นช่วงวัยที่เริ่มเผชิญกับความซับซ้อนของสังคมในหลากหลายมิติจึงได้จัดตั้งโครงการ Gulf Growth Future ขึ้นมาเมื่อปี 2561 โดยได้เลือก “กลุ่มเครือข่ายประธานนักเรียนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูง มีเครือข่ายการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง มุ่งทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ให้เข้าร่วมโครงการนี้

กิจกรรมของค่ายในปีนี้ มีเครือข่ายประธานนักเรียนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 30 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2562 ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เน้นทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะ อาทิ การให้ความรู้เรื่องการลดขยะและการย่อยสลายของขยะทางทะเล พร้อมทำกิจกรรมสร้างสรรค์ออกแบบชุดด้วยวัสดุรีไซเคิล พร้อมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจทางความคิดและการใช้ชีวิตบนสังคมยุคใหม่ ผ่านการแชร์มุมมองเรื่องสิ่งแวดล้อมจากศิลปินคนดังที่เป็นต้นแบบของเยาวชนยุคนี้ ได้แก่ นภ พรชำนิ, อุ๋ย บุดาเบลส และ โจ ทศกัณฐ์

“เชื่อว่ากระบวนการค่าย Gulf Growth Future จะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าร่วมให้มีทักษะการคิดอย่างมีระบบ เน้นการทำงานเป็นทีม พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำ เรียนรู้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมบนพื้นฐานของหลักเหตุผลและคุณธรรม พร้อมกับเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานไปพร้อมกัน”

สำหรับรูปแบบการทำกิจกรรม ประกอบด้วย รักษ์โลกลดถุงพลาสติก เรียนรู้การทำถุงผ้าบาติก ถุงผ้ามัดย้อม เก็บขยะริมชายหาดแม่รำพึ่ง จังหวัดระยอง ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์แหล่งที่มาของขยะที่พบ และร่วมกันเสนอแนะแนวทางการลดขยะประกวดชุดแฟนชีจากขยะเรียนรู้ประโยชน์จากขยะ รวมถึงเยี่ยมชมกระบวนการผลิตไฟฟ้า และมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้ากัลฟ์ตาสิทธิ์ 3-4

นายกิตติพงษ์ สุนทรวัฒนพงศ์ จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน เล่าถึงความประทับใจกับค่าย Gulf Growth Future รุ่นที่ 2 ว่า “กิจกรรมในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำผ้ามัดย้อม การที่เราได้มีโอกาสเรียนรู้ ฝึกฝนหาประโยชน์จากวัสดุทางธรรมชาติ เพื่อที่เราจะได้พัฒนาตัวเอง และรักษาระบบนิเวศน์ของโลกนี้ให้อยู่ต่อไป ผมเชื่อว่า การที่เราจะพัฒนาอะไรบางอย่าง ไม่ควรจะพัฒนาสิ่งที่ใหญ่ๆ ก่อน แต่ควรเริ่มจากจดเล็กๆ คือ เราควรปลูกฝังจากเด็กๆ ผมจึงนำสมาชิกซี่งมีภาวะความเป็นผู้นำจากหลายๆ โรงเรียนมารวมตัวกัน และค่ายนี้ก็จะไปป่าวประกาศได้ว่า เรามาทำงาน ทำสาธารณประโยชน์ การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อที่ว่าจะได้มีประโยชน์ต่อคนอื่นต่อไป”

ทางด้านศิลปินที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่าง “นภ พรชำนิ” พูดถึงมุมมองเรื่องจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมว่า ย้อนไป 10-20 ปีที่แล้ว ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจะเน้นไปที่เรื่องการปลูกป่า การรักษาสัตว์ป่า การดูแลธรรมชาติ เพราะเป็นช่วงที่เริ่มเกิดความตระหนักต่อปัญหาก๊าซเรือนกระจก (Green House Effect) แต่ ณ วันนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมไปไกลกว่านั้น เพราะเข้าไปอยู่ในทุกๆ ย่างก้าวของทุกคน อยู่ในวิถีชีวิตของเราว่าต้องมีแนวความคิดถึงอนาคตว่าเราจะไม่สร้างของเสีย เราจะไม่ทำลายโลกนี้ไปมากกว่านี้ในทุกๆ รูปแบบ เพราะการกระทำของเราทุกคนจะมีผลในการส่งต่อมอบโลกใบนี้ต่อให้รุ่นต่อไป

ขณะที่ “อุ๋ย บุดดาเบลส” ให้วิธีคิดที่น่าสนใจว่า “ขยะน่ะยังไงเราก็ต้องผลิตอยู่แล้ว แต่ว่าจะผลิตอย่างไรให้น้อยที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าจะผลิตขยะทั้งทีก็ต้องเลือกขยะที่ย่อยสลายได้ และต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นำมารีไซเคิลได้ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องพวกนี้ เราก็ทำเพื่อตัวเราเอง อย่าไปคิดว่าทำเพื่อโลกหรือเพื่ออะไรเลย คิดว่าเป็นหน้าที่เลยแล้วกัน เพราะมันสะท้อนกลับมาถึงตัวเราโดยตรง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ลดการผลิตขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลไม่ได้ พยายามหลีกเลี่ยง ถ้าช่วยกันจริงๆ ทุกคน สักวันก็จะเห็นผล”

ทั้งนี้ ค่าย Gulf Growth Future รุ่นที่ 2 แม้จะเป็นก้าวเล็กๆ สำหรับการปูพื้นฐานให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยต้องเผชิญอยู่ แต่ก็ถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะปลูกฝังให้กลุ่มเยาวชนได้เข้าใจปัญหา และคิดหาวิธีการในการสร้างจิตสำนึกที่ดี ในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคน เพื่อสิ่งแวดล้อมดีๆ จะได้อยู่คู่กับประเทศไทย และโลกของเราใบนี้ต่อไป


พลาสติกรีไซเคิลเติบโตสูง “ไอวีแอล”จับมือ2สตาร์ทอัพระดับโลกเร่งทลายข้อจำกัด “PETสี”
พลาสติกรีไซเคิลเติบโตสูง “ไอวีแอล”จับมือ2สตาร์ทอัพระดับโลกเร่งทลายข้อจำกัด “PETสี”
ไอวีแอลชี้แนวโน้มพลาสติกรีไซเคิลเติบโตสูง ตั้งเป้าปี พ.ศ. 2568 รีไซเคิลขวดพลาสติก PET เพิ่มขึ้นเป็น 750,000 ตัน พร้อมเผยกำลังพัฒนานวัตกรรมเคมิคอลส์รีไซเคิลร่วมกับ 2 สตาร์ทอัพระดับโลกผู้นำเทคโนโลยีในยุโรปและสหรัฐอเมริกาล่าสุดเปิดโรงงานที่นครปฐม โชว์เทคโนโลยีล้ำหน้าจากยุโรปในการรีไซเคิลพลาสติกครบวงจรสู่ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET และ rHDPE เผยปี 2561 สามารถรีไซเคิลขวด PET กว่า 1.65 พันล้านขวดต่อปี ช่วยประเทศไทยลดการใช้น้ำมันดิบกว่า 530,000 บาร์เรล และลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกซ์มากถึง 118 ล้านกิโลกรัม
กำลังโหลดความคิดเห็น