ผู้จัดการรายวัน 360 - เปิดตัวเลขงบโฆษณารวม ช่วงครึ่งปีแรก 61 ทะลุ 51,725 ล้านบาท แต่ยังติดลบ 1.57% ขณะที่มิถุนายนเดือนเดียวพุ่ง 14.35% หรือมีมูลค่า 9,549 ล้านบาท ด้านยูนิลีเวอร์ยังแชมป์ใช้งบสูงสุดครึ่งปีแรก แต่มูลค่าลดลง
รายงานข่าวจากบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดงบโฆษณารวมเดือนมิถุนายน 2561 เพียงเดือนเดียวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 2560 พบว่า เดือนมิถุนายนปี 61 มีมูลค่ารวม 9,549 ล้านบาท เพิ่ม 14.35% จากเดิมที่มี 8,351 ล้านบาท
โดยแยกเป็นสื่อดังนี้ สื่อทีวีเดิม มูลค่า 3,325 ล้านบาท เพิ่ม 2.94% จากเดิมมี 3,230 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มูลค่า 200 ล้านบาท ตกลง 18.22% จากเดิมมี 269 ล้านบาท, สื่อทีวีดิจิทัล มูลค่า 3,023 ล้านบาท เพิ่ม 65% จากเดิมมี 1,832 ล้านบาท
สื่อวิทยุ มูลค่า 409 ล้านบาท เพิ่ม 7.92% จากเดิมมี 379 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 515 ล้านบาท ตกลง 20.16% จากเดิมมี 645 ล้านบาท, สื่อนิตยสาร มูลค่า 104 ล้านบาท ตกลง 35.80% จากเดิมมี 162 ล้านบาท, สื่อโรงหนัง มูลค่า 662 ล้านบาท ตกลง 5.16% จากเดิมมี 698 ล้านบาท
สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 575 ล้านบาท เพิ่ม 8.70% จากเดิมมี 529 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 507 ล้านบาท เพิ่ม 24.88% จากเดิมมี 406 ล้านบาท, สื่ออินสโตร์ มูลค่า 82 ล้านบาท เพิ่ม 10.81% จากเดิมมี 74 ล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 128 ล้านบาท เพิ่ม 1.59% จากเดิมมี 126 ล้านบาท
สำหรับ ตลาดงบโฆษณารวม ช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม-มิถุนายน 2561) เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2560 พบว่า ตลาดรวมมีมูลค่า 51,725 ล้านบาท ตกลง 1.5% จากเดิมที่มี 52,552 ล้านบาท โดยแยกเป็น สื่อทีวีเดิม มูลค่า 19,159 ล้านบาท ตกลง 13.10% จากเดิมที่มี 22,047 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มูลค่า 1,240 ล้านบาท ตกลง 23.12% จากเดิมที่มี 1,613 ล้านบาท, สื่อทีวีดิจิทัล มูลค่า 14,100 ล้านบาท เพิ่ม 27.79% จากเดิมที่มี 11,034 ล้านบาท
สื่อวิทยุ มูลค่า 2,253 ล้านบาท เพิ่ม 5.13% จากเดิมที่มี 2,143 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 2,903 ล้านบาท ตกลง 25.79% จากเดิมที่มี 3,912 ล้านบาท, สื่อนิตยสาร มูลค่า 648 ล้านบาท ตกลง 36.96% จากเดิมที่มี 1,028 ล้านบาท, สื่อโรงหนัง มูลค่า 3,836 ล้านบาท เพิ่ม 12.46% จากเดิมที่มี 3,411 ล้านบาท
สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 3,344 ล้านบาท เพิ่ม 9.71% จากเดิมที่มี 3,048 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 2,967 ล้านบาท ตกลง 3.36% จากเดิมที่มี 3,070 ล้านบาท, สื่ออินสโตร์ มูลค่า 512 ล้านบาท เพิ่ม 6% จากเดิมที่มี 483 ล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 762 ล้านบาท ตกลง 0.13% จากเดิมที่มี 763 ล้านบาท
สำหรับ 3 บริษัท ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือนมิถุนายนเดือนเดียวปี2561 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2560 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 300 ล้านบาท ตกลงจากเดิมที่ใช้ 327 ล้านบาท 2. ไทยเบฟเวอเรจ ใช้งบ 228 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 99 ล้านบาท และ 3. พีแอนด์จี ใช้งบ 215 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 103 ล้านบาท
ส่วน 3 บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดช่วงครึ่งปีแรกปี 2561 เทียบครึ่งปีแรกปี 2560 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ไทย ใช้งบ 1,937 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 2,019 ล้านบาท 2. ทีวีไดเร็ค ใช้งบ 1,282 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 144 ล้านบาท และ 3. พีแอนด์จี ใช้งบ 1,125 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 961 ล้านบาท
สำหรับแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือนมิถุนายน 2561 เทียบมิถุนายนปี 2560 คือ 1. น้ำแร่ตราช้าง มูลค่า 202 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 8 แสนบาท 2. ธนาคารกสิกรไทย ใช้งบ 185 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 23 ล้านบาท และ 3. ทีวีไดเร็ค ใช้งบ 175 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 20 ล้านบาท
ส่วนแบรนด์สินค้า 3 อันดับที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด ช่วงครึ่งปีแรกปี 2561 เทียบครึ่งปีแรกปี 2560 คือ 1. ทีวีไดเร็ค ใช้งบ 1,282 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 144 ล้านบาท 2. ธนาคารออมสิน ใช้งบ 515 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 245 ล้านบาท และ 3. เครื่องดื่มโค้ก ใช้งบ 468 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 464 ล้านบาท