xs
xsm
sm
md
lg

คปพ.ลั่นไม่เอาสัมปทานจำแลงหนุน กมธ.วิสามัญฯ 14 พ.ย.นี้ โหวตแก้ไขหลักการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“คปพ.” เปิดแถลง 11 พ.ย.เกาะติดการประชุม กมธ.พิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับที่จะมีการโหวตให้แก้ไขหลักการเพื่อส่งกลับ “ครม.” ชี้เป็นสัมปทานจำแลง เหตุการแก้ไขที่ผ่านมาแม้จะเพิ่มระบบบริหารจัดการปิโตรเลียมด้วยการเพิ่มระบบ PSC และรับจ้างผลิตแต่ในแง่ปฏิบัติไม่มีพอและยังอิง กม.สัมปทานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ ก.พลังงานย้ำแก้ไขตามที่ภาคประชาชนเรียกร้องแล้ว


ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)เปิดเผยว่า วันที่ 11 พ.ย. คปพ.จะแถลงการเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรฯ พิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. ... และร่างแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. ... ที่จะประชุมในวันที่ 14 พ.ย.นี้ลงมติเห็นชอบแก้ไขหลักการเนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาในวาระแรกนั้นมีการแก้ไขร่างไม่ครบเนื่องจากการบริหารจัดการแหล่งปิโตรเลียมในประเทศตามที่กระทรวงพลังงานเสนอนั้นแม้ว่าจะมีการกำหนดให้มีระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) และรับจ้างผลิตนอกเหนือจากระบบสัมปทานแต่กลับไม่มีวิธีปฏิบัติที่เพียงพอ

“เดิมทีทราบว่าจะมีการโหวตเมื่อจันทร์ที่ผ่านมาแต่ไม่ทราบด้วยเหตุผลอะไรเลยเลื่อนไปเป็นวันจันทร์หน้าซึ่ง คปพ.เองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแก้ไขหลักการเพราะร่างที่ผ่านพิจารณาวาระแรกนั้นแม้จะเพิ่ม 2 ระบบการจัดการแหล่งปิโตรเลียมเข้ามาก็จริงแต่เป็นแค่เพียงไปเติมชื่อไว้เพิ่มเติมท้ายร่างเท่านั้นเปรียบเสมือนสัมปทานจำแลง ไม่ได้มีวิธีปฏิบัติที่เพียงพอและหลักปฏิบัติส่วนใหญ่ไปอิงกฎหมายสัมปทานเดิมจึงเห็นว่าควรจะโหวตแก้ไขหลักการเพื่อเสนอ ครม.ให้ส่งกลับมาพิจารณาอีกครั้ง” ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าว

ทั้งนี้ การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ กมธ.วิสามัญได้มีการพิจารณาวาระแรกแล้วและเตรียมจะเข้าสู่วาระ 2 และ 3 หากมีการโหวตวันที่ 14 พ.ย.นี้โดยไม่แก้ไขหลักการก็จะเดินหน้าสู่วาระ 2 ทันทีซึ่งจะทำห้เกิดปัญหามากขึ้น ขณะเดียวกัน คปพ.ยังจะเรียกร้องให้เร่งพิจารณาการคืนท่อก๊าซของ ปตท. จากที่ผ่านาได้มีการเรียกร้องมาแล้วก่อนหน้านี้หลายครั้งแต่ภาครัฐเองก็ยังนิ่งเฉย

นางบุญบันดาล ยุวนะศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และ กมธ.วิสามัญกล่าวว่า วันที่ 14 พ.ย.จะมีการประชุม กมธ.แต่ยังไม่ได้ระบุวาระว่าจะหารือประเด็นใดแน่ แต่ในส่วนของกระทรวงพลังงานที่เสนอแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมยืนยันว่าเป็นไปตามหลักการที่เครือข่ายภาคประชาชนเสนอมาว่า การบริหารจัดการแหล่งปิโตรเลียม ควรจะใช้ระบบอื่นด้วย ไม่ใช่สัมปทานอย่างเดียว ดังนั้นจึงแก้ไขให้มีทางเลือก ทั้งระบบสัมปทาน, ระบบแบ่งปันผลผลิตและรับจ้างผลิต
กำลังโหลดความคิดเห็น