xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่ม D7 ชง 3 โครงการประชารัฐ ดันรายได้เติบโต-ค่าจีดีพีพุ่ง แต่ปัญหาหลักใครคือเจ้าภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายทศ จิราธิวัฒน์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานกลุ่ม D7 การสร้างรายได้และกระตุ้นค่าใช้จ่าย หนึ่งในคณะทำงานโครงการประชารัฐของภาครัฐบาล
ผู้จัดการรายวัน 360 - กลุ่ม D7 การสร้างรายได้และกระตุ้นใช้จ่ายประชารัฐ เสนอ 3 โครงการให้รัฐบาล หวังกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันจีดีพีให้เติบโตขึ้น ประกอบด้วย โครงการเนรมิตอยุธยา, ผลิตภัณฑ์ภูมิภาค และแม่สอดศูนย์กลางการค้า แต่ปัญหาใหญ่คือใครจะเป็นเจ้าภาพจัดการ

นายทศ จิราธิวัฒน์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานกลุ่ม D7 การสร้างรายได้และกระตุ้นค่าใช้จ่าย หนึ่งในคณะทำงานโครงการประชารัฐของภาครัฐบาล เปิดเผยว่า ในนามกลุ่ม D7 ได้ทำการศึกษาแนวทางการสร้างรายได้และกระตุ้นค่าใช้จ่าย โดยมีโครงการใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. เนรมิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ผลิตภัณฑ์ภูมิภาค และ 3. แม่สอดศูนย์กลางการค้า ซึ่งได้ทำการศึกษามาตั้งแต่ต้นปี 2559 ขณะนี้ได้จัดทำรายงานนำเสนอต่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว รอการนำเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ โครงการเนรมิตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเป้าหมายเป็น 1 ใน 10 เมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก จากปัจจุบันที่ยังไม่ติดอันดับ ยกเว้นเพียงกรุงเทพฯ เท่านั้นที่ติดอันดับที่ 6 ในปี 2558 โดยมีเป้าหมาย 3 ข้อ คือ 1. กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ 3 เท่า เป็นมีรายได้ 4.5 แสนบาทต่อคนต่อปี เพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในจังหวัดอีกกว่า 1 แสนล้านบาท และอีก 4 หมื่นล้านบาทในกรุงเทพฯ 2. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ทั่วประเทศไทย ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึงประวัตศาสตร์และอารยธรรม

3. ใช้เป็นเมืองต้นแบบให้แก่จังหวัดอื่นๆ ในอนาคตเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ เช่น สงขลา เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้น โดยการเลือกจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดนำร่องก่อนเนื่องจากเมื่อเทียบเคียงกับเมืองเกียวโตแล้วมีความใกล้เคียงกัน เพราะอดีตก็เคยเป็นเมืองหลวงด้วยกันทั้งคู่กล่าว คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองเก่าแก่มีอายุมากกว่า 660 ปี มีรายได้ต่อหัว 1.79 แสนบาท มีนักท่องเที่ยวท้องถิ่น 4.9 ล้านคน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.8 ล้านคน รวม 6.7 ล้านคน มีโรงแรมเกสต์เฮาส์ที่พัก รีสอร์ท 30 แห่ง สถานที่โดดเด่นมีอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกจากยูเนสโก วัดแห่งประวัติศาสตร์ 30 แห่ง เดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1-1.5 ชั่วโมงทางรถยนต์ ขณะที่เมืองเกียวโต รายได้ต่อปีหัวละ 1.2 ล้านบาทต่อคน มีนักท่องเที่ยวท้องถิ่น 45.3 ล้านคน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 10.4 ล้านคน รวม 55.7 ล้านคน มีโรงแรมและที่พักรวม 800 แห่ง มี 17 สถานที่มรดกโลกของยูเนสโก วัดที่โดดเด่น 39 แห่ง จากทั้งหมดกว่า 2 พันแห่ง เดินทางจากโตเกียวประมาณ 30 นาที

ทั้งนี้ คณะทำงานได้นำเสนอว่าจะต้องดำเนินการ 12 ประการหลัก คือ 1. บูรณะโบราณสถาน 2. การใช้แสงสีมาเป็นตัวสร้างความสวยงามยามค่ำคืน 3. การปลูกต้นใหม้ให้ร่มรื่น 4. การสร้างเลนขี่จักรยานรอบเมือง 5. การสร้างทางสัญจรทางน้ำ 6. การสร้างรถรางนำเที่ยวในเมือง 7. การสร้างโซนนิงใหม่ 8. การสร้างจุดแวะพัก 9. การจัดการแสดงเทศกาลต่างๆ 10. การให้ความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยว 11. การสร้างพิพิธภัณธ์ระดับโลก และ 12. การสร้างเครือข่ายคมนาคมจากกรุงเทพฯ

“คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณรวมไม่ต่ำกว่า 6-9 พันล้านบาท เพื่อปรับปรุงดำเนินการตามโครงการนี้ โดยใช้เวลาอย่างมากไม่เกิน 3 ปีก็จะดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งจะแบ่งเป็นเฟสก็ได้ โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างให้ครบทุกอย่างก็ได้แต่ถ้าทำได้จะเป็นการดีที่สุด”

อย่างไรก็ตาม หากสามารถดำเนินการแล้วเสร็จคาดว่าจะช่วยทำให้จีดีพีจากการท่องเที่ยวเติบโตมากถึง 10 เท่า การเข้าพักค้างคืนเฉลี่ย 1 คืน จากเดิมไปเช้าเย็นกลับ มาจากรายได้จากนักท่องเที่ยว ซึ่งจากเดิมอยุธยามีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.3 หมื่นล้านบาทในปี 2557 จะเพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาทในปี 2568 ขณะที่กรุงเทพฯ ก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย ด้วยรายได้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาทในอีก 10 ปีจากนี้ รวมทั้งปริมาณนักท่องเที่ยว ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย 9.4% ต่อปี จากเดิมที่เติบโตเพียง 0.6% ต่อปีเท่านั้น หรือประมาณ 6.7 ล้านคนในปี 2557 และเพิ่มเป็น 7.7 ล้านคนในปี 2558

ขณะที่โครงการที่ 2 คือ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพใหม่หรือพัฒนาอาชีพเดิมให้รุ่งเรืองขึ้น รายได้ต่อหัวต้องเพิ่มขึ้น พัฒนาสินค้าให้เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เพิ่มมูลค่าสินค้า โดยมี 5 ขั้นตอนดำเนินการเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือนในทุกจังหวัดให้มากขึ้น 2-3 เท่า คือ 1. คัดเลือกผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัด 2. ตั้งทีมท้องถิ่นลงพื้นที่ทำแผนงาน 3. จัดตั้งศูนย์ประชารัฐพัฒนา 4. สนับสนุนด้านการเงิน และ 5. ทำการตลาดการจัดจำหน่าย

ทั้งนี้ โครงการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 76 จังหวัด 76 ผลิตภัณฑ์ คือ (1. ปี 2559 ทำโครงการนำร่อง 8 โครงการ ออกจำหน่ายภายในปี 2559 (2. ปี 2560 เริ่มเมษายน 2559 ใน 33 จังหวัด ที่เซ็นทรัลมีสาขาอยู่เสร็จสิ้นภายในปี 2560 และ (3. ปี 2561 ร่วมมือกับค้าปลีกและหน่วยงานอื่นๆ เริ่มดำเนินการปี 2560 จะเสร็จสิ้นปี 2561

โครงการนำร่อง 8 ผลิตภัณฑ์ในปี 2559 มี 768 ครัวเรือน เพิ่มรายได้ 25-500% เช่น ข้าวสังข์หยด จ.พัทลุง เกษตรกร 196 ครัวเรือน รายได้ต่อปีเดิม 1.2 แสนบาทต่อปี รายได้หลังจากดำเนินการ 2.5 แสนบาทต่อปี เพิ่มขึ้น 108%, แมคคาดีเมีย สตรอว์เบอร์รี มะเขือเทศ จ.เลย เกษตรกร 52 ครัวเรือน รายได้เดิม 3.3 หมื่นบาทต่อปี รายได้ใหม่ 2.17 แสนบาทต่อปี เพิ่ม 557%, พรมอเนกประสงค์ จ.แพร่ เกษตรกร 40 ครัวเรือน รายได้เดิม 2.4 หมื่นบาทต่อปี รายได้ใหม่ 1 แสนบาทต่อปี เพิ่มขึ้น 316% คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณการลงทุน 150-200 ล้านบาท

3. โครงการแม่สอดศูนย์กลางการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แม่สอดเป็นศูย์กลางทางการค้าปลีกและส่งไทย-พม่า กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าการส่งออกและนำเข้า เพิ่มช่องทางจำหน่าย โดยมีเมืองต้นแบบคือ เมืองอี้อู ประเทศจีนที่เป็นศูนย์กลางค้าส่งขนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรกว่า 2.32 ล้านคน เป็นพื้นที่คนพื้นเมือง 35% และคนท้องถิ่น 65% มูลค่าการค้า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก 2058

แผนการดำเนินงานมี 6 ด้าน ทั้งการผ่านแดนทั้งขาเข้าและขาออกควรลดค่าธรรมเนียม ขยายเวลาบอร์เดอร์พาสจาก 1 วัน เป็น 7 หรือ 14 วัน เป็นต้น การคมนาคมและลอจิสติกส์ กฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐาน นโยบายการเงินการธนาคาร และการลงทุนสร้างศูนย์คล้าปลีก-ส่ง

นายทศกล่าวให้ความเห็นด้วยว่า ทั้ง 3 โครงการใหญ่นี้จะช่วยทำให้ประเทศไทยมีค่าจีพีดีที่เติบโตขึ้น แต่มีเพียงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เอกชนสามารถดำเนินการไปได้ก่อนแล้ว ส่วนปัญหาใหญ่คือการหาเจ้าภาพว่าใคร หรือหน่วยงานใดที่จะเป็นตัวกลาง หรือเจ้าภาพที่รับโครงการเหล่านี้ไปดำเนินการ



กำลังโหลดความคิดเห็น