เมืองต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการขนานนามให้เป็นแหล่งชอปปิ้งอันดับต้นของโลกสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม อ้างอิงจากดัชนี Muslim Shopping Travel Index 2015 (MTSI 2015) ของ MasterCard-CrescentRating รายงานที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดเบื้องลึกจากการวิเคราะห์รูปแบบการใช้จ่ายของชาวมุสลิมที่เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก
รายงานชิ้นนี้ยังเผยให้เห็นอีกว่า นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมนั้นใช้จ่ายเงินทั่วโลกเพื่อการรับประทานอาหาร และชอปปิ้งในปี 2557 เป็นจำนวนทั้งสิ้นสูงถึง 6.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.25 ล้านล้านบาท) โดยจำแนกเป็นเงินชอปปิ้ง 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) และเงินในส่วนรับประทานอาหาร 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.4 แสนล้านบาท)
รายงาน Muslim Travel Shopping Index (MTSI) 2015 เป็นความร่วมมือทางด้านการวิจัยล่าสุดระหว่าง MasterCard และ CrescentRating สำหรับตลาดในส่วนนี้ ต่อยอดจากงานวิจัย Global Muslim Travel Index (GMTI) 2015 ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยดัชนีนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเบื้องลึกทางด้านการใช้จ่ายเงินเดินทางท่องเที่ยวของชาวมุสลิมในเมืองสำคัญ 40 แห่งทั่วโลกผ่านเกณฑ์การรวบรวมข้อมูลหลายปัจจัย ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษารายละเอียดเชิงลึกด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม
“ดัชนี Muslim Travel Shopping Index ของ MasterCard-CrescentRating เผยข้อมูลเบื้องลึกที่น่าสนใจด้านพฤติกรรมการชอปปิ้งของผู้บริโภคชาวมุสลิม และจะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่ามันเป็นเครื่องมืออันทรงคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมดในตลาดส่วนนี“” นายฟาซาล บาฮาร์ดีน CEO แห่ง CrescentRating & HalalTrip กล่าว
“MTSI 2015 เจาะลึกประเด็นสำคัญ 2 อย่างที่เกี่ยวข้องต่อผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยว นั่นก็คือ การใช้จ่ายเพื่อการชอปปิ้ง และรับประทานอาหาร เราเห็นว่าข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่มันจะทำให้เรามองตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่ามีความสำคัญ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้พันธมิตรของเราในธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถรับมือต่อแนวโน้มนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย" นายแมทธิว ไดร์ฟเวอร์ ผู้บริหารกลุ่มบริษัท ฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันสากล มาสเตอร์การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว
การจัดอันดับ 40 เมืองสากลที่อยู่บนดัชนี MTSI 2015 นั้นจะจัดเรียงตามคะแนนที่มาจากการคำนวนเกณฑ์ที่ครอบคลุมหลายปัจจัย เช่น ความเหมาะสมในฐานะแหล่งชอปปิ้ง บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม รวมไปถึงการเดินทางที่ง่ายดาย โดยเกณฑ์แต่ละตัวจะถูกให้น้ำหนักตามความเหมาะสมจนได้เป็นคะแนนที่สมบูรณ์เพื่อการจัดทำดัชนี
- กัวลาลัมเปอร์ รั้งอันดับ 2 บนดัชนี MTSI2015 จากจำนวนทั้งสิ้น 40 เมือง โดยมี สิงคโปร์ ตามมาที่อันดับ 3 และดูไบ เป็นผู้ครองอันดับที่ 1
- ดูไบ เป็นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวชอปปิ้งอันดับ 1 สำหรับชาวมุสลิม ด้วยคะแนน 79.5 ตามมาด้วยกัวลาลัมเปอร์ กับคะแนน 73.3 ในขณะที่สิงคโปร์ ได้คะแนน 71.6 และเป็นเมืองอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศ non-OIC และเป็นอันดับ 3 บนรายการรวม
- บาหลี ติดอันดับที่ 10 ในท็อปเทน ด้วยคะแนน 58.2 ตามติดมาด้วย ปีนัง ที่มีคะแนน 56.9 โดยเมื่อดูจากรายการรวมทั้งสิ้น 40 เมืองแล้ว มีเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกติดอันดับถึง 14 เมือง
- สิงคโปร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชอปปิ้งของชาวมุสลิมที่ยังอยู่ใน top 5 แม้ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่ม non-OIC* ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเมืองในกลุ่มนี้ที่มีจำนวนถึง 25 แห่งบนรายการรวมทั้งหมดว่ายังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมได้ หากมีความสามารถในเชิงรุกเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มนี้ได้ดีพอ
- กรุงเทพฯ ติดอันดับ top 5 ในกลุ่มประเทศ non-OIC ด้วยคะแนน 51.1
คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงถึง 150 ล้านคน ภายในปี 2020 ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของตลาดในส่วนนี้ และคาดว่ามูลค่าการตลาดจะโตถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.26 ล้านล้านบาท)
รายงานชิ้นนี้ยังเผยให้เห็นอีกว่า นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมนั้นใช้จ่ายเงินทั่วโลกเพื่อการรับประทานอาหาร และชอปปิ้งในปี 2557 เป็นจำนวนทั้งสิ้นสูงถึง 6.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.25 ล้านล้านบาท) โดยจำแนกเป็นเงินชอปปิ้ง 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) และเงินในส่วนรับประทานอาหาร 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.4 แสนล้านบาท)
รายงาน Muslim Travel Shopping Index (MTSI) 2015 เป็นความร่วมมือทางด้านการวิจัยล่าสุดระหว่าง MasterCard และ CrescentRating สำหรับตลาดในส่วนนี้ ต่อยอดจากงานวิจัย Global Muslim Travel Index (GMTI) 2015 ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยดัชนีนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลเบื้องลึกทางด้านการใช้จ่ายเงินเดินทางท่องเที่ยวของชาวมุสลิมในเมืองสำคัญ 40 แห่งทั่วโลกผ่านเกณฑ์การรวบรวมข้อมูลหลายปัจจัย ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษารายละเอียดเชิงลึกด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม
“ดัชนี Muslim Travel Shopping Index ของ MasterCard-CrescentRating เผยข้อมูลเบื้องลึกที่น่าสนใจด้านพฤติกรรมการชอปปิ้งของผู้บริโภคชาวมุสลิม และจะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่ามันเป็นเครื่องมืออันทรงคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมดในตลาดส่วนนี“” นายฟาซาล บาฮาร์ดีน CEO แห่ง CrescentRating & HalalTrip กล่าว
“MTSI 2015 เจาะลึกประเด็นสำคัญ 2 อย่างที่เกี่ยวข้องต่อผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยว นั่นก็คือ การใช้จ่ายเพื่อการชอปปิ้ง และรับประทานอาหาร เราเห็นว่าข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่มันจะทำให้เรามองตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่ามีความสำคัญ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้พันธมิตรของเราในธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถรับมือต่อแนวโน้มนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย" นายแมทธิว ไดร์ฟเวอร์ ผู้บริหารกลุ่มบริษัท ฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันสากล มาสเตอร์การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว
การจัดอันดับ 40 เมืองสากลที่อยู่บนดัชนี MTSI 2015 นั้นจะจัดเรียงตามคะแนนที่มาจากการคำนวนเกณฑ์ที่ครอบคลุมหลายปัจจัย เช่น ความเหมาะสมในฐานะแหล่งชอปปิ้ง บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม รวมไปถึงการเดินทางที่ง่ายดาย โดยเกณฑ์แต่ละตัวจะถูกให้น้ำหนักตามความเหมาะสมจนได้เป็นคะแนนที่สมบูรณ์เพื่อการจัดทำดัชนี
- กัวลาลัมเปอร์ รั้งอันดับ 2 บนดัชนี MTSI2015 จากจำนวนทั้งสิ้น 40 เมือง โดยมี สิงคโปร์ ตามมาที่อันดับ 3 และดูไบ เป็นผู้ครองอันดับที่ 1
- ดูไบ เป็นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวชอปปิ้งอันดับ 1 สำหรับชาวมุสลิม ด้วยคะแนน 79.5 ตามมาด้วยกัวลาลัมเปอร์ กับคะแนน 73.3 ในขณะที่สิงคโปร์ ได้คะแนน 71.6 และเป็นเมืองอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศ non-OIC และเป็นอันดับ 3 บนรายการรวม
- บาหลี ติดอันดับที่ 10 ในท็อปเทน ด้วยคะแนน 58.2 ตามติดมาด้วย ปีนัง ที่มีคะแนน 56.9 โดยเมื่อดูจากรายการรวมทั้งสิ้น 40 เมืองแล้ว มีเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกติดอันดับถึง 14 เมือง
- สิงคโปร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชอปปิ้งของชาวมุสลิมที่ยังอยู่ใน top 5 แม้ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่ม non-OIC* ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเมืองในกลุ่มนี้ที่มีจำนวนถึง 25 แห่งบนรายการรวมทั้งหมดว่ายังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมได้ หากมีความสามารถในเชิงรุกเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มนี้ได้ดีพอ
- กรุงเทพฯ ติดอันดับ top 5 ในกลุ่มประเทศ non-OIC ด้วยคะแนน 51.1
คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงถึง 150 ล้านคน ภายในปี 2020 ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของตลาดในส่วนนี้ และคาดว่ามูลค่าการตลาดจะโตถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.26 ล้านล้านบาท)