ASTVผู้จัดการรายวัน - ผ่าโลกโซเชียล ปี 58 “เฟซบุ๊ก” ครองใจคนไทยสูงสุด คนใช้งานร่วม 35 ล้านคน เจาะลึกวัยรุ่นหมกมุ่นโลกออนไลน์มากสุด ตะลึงเพศที่สามเปิดเผยตัวในโลกออนไลน์สูงขึ้น ภาคธุรกิจกลุ่มสถาบันการเงินใช้เฟซบุ๊กสร้างกระแสและเพิ่มยอดขายสูงสุด จับตาไลฟ์บรอดคาส “Vine” โซเชียลตัวใหม่มาแรง ส่ง “Social ALARM” เคล็ดไม่ลับทะลวงโลกออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด เปิดเผยว่า จากภาพรวมการเข้าถึงในการใช้สื่อดิจิตอลในประเทศไทยในปี 2558 พบว่า จากจำนวนประชากรทั้งหมด 64.9 ล้านคน มีผู้เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 47% และมีผู้เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย 34 ล้านคน เติบโตขึ้น 42% ขณะที่จำนวนโทรศัพท์มือถือที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีกว่า 97 ล้านเครื่อง เติบโตกว่าปีก่อน 15% โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียผ่านทางโทรศัพท์มือถือจริงราว 30 ล้านเครื่อง เติบโตจากปีก่อน 36%
ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกลงไปในสื่อโซเชียลยอดนิยมของคนไทยพบว่ามี 5 สื่อที่นิยมใช้งานมากสุด คือ 1. เฟซบุ๊ก 35 ล้านคน เติบโตขึ้น 34% 2. อินสตาแกรม 2 ล้านคน เติบโตขึ้น 172% โดยมีการโพสต์รูปกว่า 99 ล้านรูป และวิดีโอ 7 ล้านคลิป 3. ไลน์ 33 ล้านคน เติบโตขึ้น 38% 4. ทวิตเตอร์ 4.5 ล้านคน แอ็กทีฟ 3.5 ล้านคน และ 5. ยูทิวบ์ 3.3 ล้านคลิป เฉลี่ยมีการโพสต์คลิป 377 คลิปต่อชั่วโมง
ขณะที่ “เฟซบุ๊ก” เป็นสื่อโซเชียลที่มีความนิยมและใช้งานมากสุด โดยพบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ใช้งานรวมกว่า 1,390 ล้านคน ประเทศไทยติดอันดับ 9 ที่มีผู้ใช้งาน 35 ล้านคน คิดเป็น 51% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยอันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา มีผู้ใช้งานกว่า 190 ล้านคน คิดเป็น 59% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ขณะที่สิงคโปร์มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมากสุดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือมีผู้ใช้งานกว่า 5.5 ล้านคน คิดเป็น 98% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
สำหรับประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้น 34.62% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดย 5 เมืองหลักที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กสูงสุดคือ 1. กรุงเทพฯ 20 ล้านคน 2. เชียงใหม่ 9.8 แสนคน 3. นครราชสีมา 7.8 แสนคน 4. นนทบุรี 6 แสนคน และ 5. ชลบุรี 5.4 แสนคน โดยในจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดระบุสถานะอย่างหลากหลาย
“เป็นที่น่าสังเกตว่ามีจำนวนผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกันกว่า 3.3 แสนคน และมีกลุ่มผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกันกว่า 6.62 แสนคน หรือรวมแล้วมีจำนวนกลุ่มเพศที่สามกว่า 9 แสนถึง 1 ล้านคน คิดเป็น 2.83% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งกลุ่มดังกล่าวที่นิยมใช้งานเฟซบุ๊กมากสุดอายุระหว่าง 19-20 ปี จากตัวเลขที่เกิดขึ้นทำให้เห็นถึงสถานการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีเพศที่สามที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนมาก” นายภาวุธกล่าว
เมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กทั้งหมดยังพบด้วยว่า คนไทยอายุ 19 ปีเป็นกลุ่มที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากที่สุด ขณะที่คนกรุงเทพฯ อายุ 24-28 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากสุด ส่วนในต่างจังหวัดเป็นกลุ่มอายุ 18-20 ปีที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากที่สุด
ขณะที่ช่วงเวลาการโพสต์บนเฟซบุ๊กจะเป็นช่วงเวลา 10.00-15.00 น. และเมื่อรวมการใช้สื่อโซเชียลอื่นๆ อย่างอินสตาแกรมที่มีการโพสต์มากสุดตั้งแต่เวลา 21.00 น.เป็นต้นไป รวมถึงทวิตเตอร์มีการแชร์มากสุดอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนไทยเป็นกลุ่มที่มีการเล่นโซเชียลมีเดียตลอดทั้งวัน
ส่วนในแง่ของภาคธุรกิจทั้งกลุ่มอาหาร, เครื่องดื่ม, ยานยนต์, สื่อสาร/ไอที และสถาบันการเงิน นิยมเลือกใช้เฟซบุ๊กเพื่อการประชาสัมพันธ์และเพิ่มยอดขายมากที่สุด ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มสถาบันการเงิน เป็นกลุ่มที่โพสต์คอนเทนต์ลงบนเฟซบุ๊กแล้วมีผู้แชร์ต่อสูงสุด คิดเป็นสัดส่วน 6% รองลงมาคือกลุ่มเครื่องดื่ม 4% ขณะที่ยานยนต์และอาหารมีการแชร์ต่อ 3% โดยในส่วนของเครื่องดื่มที่มีการแชร์สูงนั้นมองว่ามาจากแคมเปญชิงรางวัลของกลุ่มชาเขียวนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นและการพัฒนาของ 4G ส่งผลให้ทิศทางของสื่อโซเชียลกำลังก้าวเข้าสู่โลกของไลฟ์บรอดแคสในเรื่องของการถ่ายทอดสด หรือ “ไลฟ์ วิดีโอ แชริ่ง” ซึ่งมีความเป็นเรียลไทม์ และสตรีมมิ่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนี้มีโปรแกรมโซเชียลที่เป็นลักษณะของไลฟ์บรอดแคสแล้วหลายตัว เช่น Periscope by Twitter, Meerat และ Vine ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยและเริ่มมีคนดังที่เป็นคนธรรมดาแต่มีคนกดติดตามสูงมาก ถือเป็นโปรแกรมที่น่าจับตาในปี 2558
นายภาวุธ ล่าวสรุปว่า จากตัวเลขของผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์โซเชียลมีเดียที่จะทำให้ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จคือ Social ALARM ประกอบด้วย 1. A-Analysis Market การทำการวิเคราะห์ตลาดว่าตลาดในภาพรวมนั้นเป็นอย่างไร 2. L-Listening Insight ฟังเสียงผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดียเพื่อหาความต้องการที่แท้จริง 3. A-Action วิธีการนำไปปฏิบัติ มีวิธีการอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้ 4. R-Real time Trends ต้องอยู่ในกระแสขณะนั้น ไม่ล้าสมัย และ 5. M-Measurement การประเมินผลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด เปิดเผยว่า จากภาพรวมการเข้าถึงในการใช้สื่อดิจิตอลในประเทศไทยในปี 2558 พบว่า จากจำนวนประชากรทั้งหมด 64.9 ล้านคน มีผู้เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 47% และมีผู้เข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดีย 34 ล้านคน เติบโตขึ้น 42% ขณะที่จำนวนโทรศัพท์มือถือที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีกว่า 97 ล้านเครื่อง เติบโตกว่าปีก่อน 15% โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียผ่านทางโทรศัพท์มือถือจริงราว 30 ล้านเครื่อง เติบโตจากปีก่อน 36%
ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกลงไปในสื่อโซเชียลยอดนิยมของคนไทยพบว่ามี 5 สื่อที่นิยมใช้งานมากสุด คือ 1. เฟซบุ๊ก 35 ล้านคน เติบโตขึ้น 34% 2. อินสตาแกรม 2 ล้านคน เติบโตขึ้น 172% โดยมีการโพสต์รูปกว่า 99 ล้านรูป และวิดีโอ 7 ล้านคลิป 3. ไลน์ 33 ล้านคน เติบโตขึ้น 38% 4. ทวิตเตอร์ 4.5 ล้านคน แอ็กทีฟ 3.5 ล้านคน และ 5. ยูทิวบ์ 3.3 ล้านคลิป เฉลี่ยมีการโพสต์คลิป 377 คลิปต่อชั่วโมง
ขณะที่ “เฟซบุ๊ก” เป็นสื่อโซเชียลที่มีความนิยมและใช้งานมากสุด โดยพบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ใช้งานรวมกว่า 1,390 ล้านคน ประเทศไทยติดอันดับ 9 ที่มีผู้ใช้งาน 35 ล้านคน คิดเป็น 51% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยอันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา มีผู้ใช้งานกว่า 190 ล้านคน คิดเป็น 59% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ขณะที่สิงคโปร์มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมากสุดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือมีผู้ใช้งานกว่า 5.5 ล้านคน คิดเป็น 98% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
สำหรับประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้น 34.62% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดย 5 เมืองหลักที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กสูงสุดคือ 1. กรุงเทพฯ 20 ล้านคน 2. เชียงใหม่ 9.8 แสนคน 3. นครราชสีมา 7.8 แสนคน 4. นนทบุรี 6 แสนคน และ 5. ชลบุรี 5.4 แสนคน โดยในจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดระบุสถานะอย่างหลากหลาย
“เป็นที่น่าสังเกตว่ามีจำนวนผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกันกว่า 3.3 แสนคน และมีกลุ่มผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกันกว่า 6.62 แสนคน หรือรวมแล้วมีจำนวนกลุ่มเพศที่สามกว่า 9 แสนถึง 1 ล้านคน คิดเป็น 2.83% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งกลุ่มดังกล่าวที่นิยมใช้งานเฟซบุ๊กมากสุดอายุระหว่าง 19-20 ปี จากตัวเลขที่เกิดขึ้นทำให้เห็นถึงสถานการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีเพศที่สามที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนมาก” นายภาวุธกล่าว
เมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กทั้งหมดยังพบด้วยว่า คนไทยอายุ 19 ปีเป็นกลุ่มที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากที่สุด ขณะที่คนกรุงเทพฯ อายุ 24-28 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากสุด ส่วนในต่างจังหวัดเป็นกลุ่มอายุ 18-20 ปีที่ใช้งานเฟซบุ๊กมากที่สุด
ขณะที่ช่วงเวลาการโพสต์บนเฟซบุ๊กจะเป็นช่วงเวลา 10.00-15.00 น. และเมื่อรวมการใช้สื่อโซเชียลอื่นๆ อย่างอินสตาแกรมที่มีการโพสต์มากสุดตั้งแต่เวลา 21.00 น.เป็นต้นไป รวมถึงทวิตเตอร์มีการแชร์มากสุดอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนไทยเป็นกลุ่มที่มีการเล่นโซเชียลมีเดียตลอดทั้งวัน
ส่วนในแง่ของภาคธุรกิจทั้งกลุ่มอาหาร, เครื่องดื่ม, ยานยนต์, สื่อสาร/ไอที และสถาบันการเงิน นิยมเลือกใช้เฟซบุ๊กเพื่อการประชาสัมพันธ์และเพิ่มยอดขายมากที่สุด ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มสถาบันการเงิน เป็นกลุ่มที่โพสต์คอนเทนต์ลงบนเฟซบุ๊กแล้วมีผู้แชร์ต่อสูงสุด คิดเป็นสัดส่วน 6% รองลงมาคือกลุ่มเครื่องดื่ม 4% ขณะที่ยานยนต์และอาหารมีการแชร์ต่อ 3% โดยในส่วนของเครื่องดื่มที่มีการแชร์สูงนั้นมองว่ามาจากแคมเปญชิงรางวัลของกลุ่มชาเขียวนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นและการพัฒนาของ 4G ส่งผลให้ทิศทางของสื่อโซเชียลกำลังก้าวเข้าสู่โลกของไลฟ์บรอดแคสในเรื่องของการถ่ายทอดสด หรือ “ไลฟ์ วิดีโอ แชริ่ง” ซึ่งมีความเป็นเรียลไทม์ และสตรีมมิ่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนี้มีโปรแกรมโซเชียลที่เป็นลักษณะของไลฟ์บรอดแคสแล้วหลายตัว เช่น Periscope by Twitter, Meerat และ Vine ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยและเริ่มมีคนดังที่เป็นคนธรรมดาแต่มีคนกดติดตามสูงมาก ถือเป็นโปรแกรมที่น่าจับตาในปี 2558
นายภาวุธ ล่าวสรุปว่า จากตัวเลขของผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์โซเชียลมีเดียที่จะทำให้ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จคือ Social ALARM ประกอบด้วย 1. A-Analysis Market การทำการวิเคราะห์ตลาดว่าตลาดในภาพรวมนั้นเป็นอย่างไร 2. L-Listening Insight ฟังเสียงผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดียเพื่อหาความต้องการที่แท้จริง 3. A-Action วิธีการนำไปปฏิบัติ มีวิธีการอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามที่วางแผนไว้ 4. R-Real time Trends ต้องอยู่ในกระแสขณะนั้น ไม่ล้าสมัย และ 5. M-Measurement การประเมินผลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม