ASTV ผู้จัดการรายวัน - “ชวาร์สคอฟ โปรเฟสชั่นแนล” เร่งพัฒนาแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน ยกระดับผู้ประกอบการและแฮร์สไตลิสต์ปรับธุรกิจสู่รูปแบบ “ดิจิตอล ซาลอน” วางแผนโรดแมปผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมใน 2 ปี ด้าน “ชลาชล” ตอบรับทันควัน ชิมลางเปิดตัวสาขาแรก “เซ็นทรัล เวสต์เกต บางใหญ่” ปลายปี 58 ก่อนเปิด Flagship Store เต็มรูปแบบต้นปี 59 ที่ “เซ็นทรัล อีสต์ วิลล์ รามอินทรา”
นายธีรศักดิ์ ไตรทิพย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฮงเคล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม “ชวาร์สคอฟ โปรเฟสชั่นแนล” (Schwarzkopf Professional) เปิดเผยว่า “ชวาร์สคอฟ” มีแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจซาลอนให้มีรูปแบบเป็น “ดิจิตอล ซาลอน” (Digital Salon) จึงได้พัฒนาระบบเทคโนโลยี “Digital Tools Schwarzkopf Professional” ในลักษณะของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจให้คู่ค้าพันธมิตรทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2556 โดยล่าสุดได้มีธุรกิจ “ดิจิตอล ซาลอน” เต็มรูปแบบเกิดขึ้นแล้วที่ประเทศเยอรมนี
ในส่วนของประเทศไทย “ชวาร์สคอฟ” ได้มีการนำแอปพลิเคชันต่างๆ มาใช้งานสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนและแฮร์สไตลิสต์ระดับมืออาชีพแล้ว 3 ส่วน คือ 1. House of Color เพื่อช่วยแฮร์สไตลิสต์ในการออกแบบสีผมและแนะนำผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนัดหมายในการใช้บริการครั้งต่อไป 2. Hair Expert เพื่อช่วยแฮร์สไตลิสต์วิเคราะห์การบำรุงสุขภาพเส้นผมของลูกค้า 3. Essential Looks เพื่อช่วยแนะนำเทรนด์ต่างๆ เกี่ยวกับเส้นผมให้แฮร์สไตลิสต์เรียนรู้เพื่อแนะนำลูกค้าในการตบแต่งทรงผมให้เข้ากับการแต่งหน้าและการแต่งกายในระดับเดียวกับนางแบบบนเวทีแคตวอล์กระดับโลก
“เหตุผลที่ชวาร์สคอฟพยายามพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในประเทศไทยเพื่อเป็นการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยวัดจากปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล หรือ Bandwidth ที่มีสูงถึง 1,239 K ในปี 2557 เติบโตขึ้นถึง 70% ส่งผลให้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มใหม่ หรือ The New Internet User เพิ่มขึ้นถึง 30%”
นายธีรศักดิ์กล่าวด้วยว่า “ชวาร์สคอฟ” มีแผนโรดแมปที่จะพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในประเทศไทยให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี โดยจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและแฮร์สไตลิสต์ใช้งานร่วมกับลูกค้าผู้ใช้บริการในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภายใน (Salon Management) และอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเข้ารับบริการ
สำหรับแอปพลิเคชันใหม่ที่พัฒนาและใช้งานได้แล้วคือ EL IPad App. 2.0 ซึ่งเป็นการต่อยอดแอปพลิเคชัน Essential Looks โดยนำเทคโนโลยีใหม่คือ AR Code ซึ่งเป็นการสแกนโลโก้ของ “ชวาร์สคอฟ” เพื่อแสดงคลิปวิดีโอให้เห็นทรงผมในมิติที่สมจริงมากขึ้น โดยในระยะยาว “ชวาร์สคอฟ” จะรวบรวมฐานข้อมูลลูกค้าใน Cloud Computing ของทุกแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1. Salon Finder 2.0 Tools เพื่อช่วยลูกค้าหาร้านซาลอนใกล้บ้าน เพื่อนัดหมายออนไลน์และสอบถามข้อมูลราคาค่าบริการ รวมถึงการบันทึกรูปภาพก่อนและหลังการใช้บริการ 2. EL Styling App 3.0 ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดสำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการได้ใช้งานควบคู่กับแอปพลิเคชัน Salon Finder 2.0 Tools ในการอัปเดตทรงผม การแต่งหน้า การแต่งกาย
3. ASK Academy เป็นแอปพลิเคชันเสมือนศูนย์การศึกษาด้านการจัดแต่งทรงผมโดยเฉพาะ เพื่อพัฒนาคู่ค้าพันธมิตรในธุรกิจซาลอนและแฮร์สไตลิสต์ให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาเกี่ยวกับเทรนด์การออกแบบและตกแต่งทรงผม การแต่งหน้า และการแต่งกาย
4. Virtual Salon Mirror Consultation Tools เป็นแอปพลิเคชันสุดท้ายของการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอน เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการสามารถเห็นภาพตนเองกับทรงผมต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี “กระจกเสมือนจริง” ก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ
นายธีรศักดิ์กล่าวด้วยว่า บริษัทฯ ใช้ 2 ช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ชวาร์สคอฟ” ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ผ่านช่องทางค้าปลีกทั้งในส่วนของโมเดิร์นเทรดและร้านค้าทั่วไปสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือการจำหน่ายตรงกับคู่ค้าพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะฝีมือของแฮร์สไตลิสต์มืออาชีพ
“การพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนถือเป็นการช่วยยกระดับและพัฒนาธุรกิจให้คู่ค้าพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยล่าสุดได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับธุรกิจซาลอนชื่อดังของประเทศไทยคือร้านชลาชล ในการสร้างมาตรฐานธุรกิจดิจิตอลซาลอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย” นายธีรศักดิ์กล่าวในที่สุด
ทางด้าน นายกิตติณัฏฐ ชลาชล ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชลาชล จำกัด เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ร้านชลาชลมีการพัฒนาเทคโนโลยีใช้บริหารจัดการภายในเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว โดยเริ่มที่สาขาทองหล่อเป็นแห่งแรก จนปัจจุบันมีทั้งสิ้น 14 สาขา แยกเป็นกรุงเทพฯ 12 สาขา เชียงใหม่ 1 สาขา และระยอง 1 สาขา แบ่งเป็นการลงทุนเอง 8 สาขา และแฟรนไชส์ 6 สาขา โดยมีกลุ่มลูกค้าตั้งแต่วัยทำงานจนถึงผู้สูงวัย ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี การร่วมมือครั้งนี้จึงมีการกำหนดให้ช่างทำผมและแฮร์สไตลิสต์ทั้งหมดประมาณ 200 คนมีการนำแอปพลิเคชันต่างๆ ของ “ชวาร์สคอฟ” มาใช้งานเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี
“ตามแผนการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในเบื้องต้นบริษัทฯ จะเป็นผู้ลงทุนเอง จำนวน 2 สาขา โดยจะเริ่มเห็นสาขาแรกเป็นรูปธรรมในช่วงปลายปี 2558 ที่เซ็นทรัล เวสต์เกต บางใหญ่ จากนั้นจะเปิดสาขา 2 ซึ่งจะถือเป็นร้านต้นแบบ หรือ Flagship Store ที่เซ็นทรัล อีสต์ วิลล์ ถ.รามอินทรา ในช่วงต้นปี 2559 โดยคาดว่ารูปแบบการให้บริการใหม่จะช่วยขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 30%”
นายกิตติณัฏฐกล่าวในตอนท้ายว่า หากการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าผู้ใช้บริการ บริษัทฯ อาจมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดแฟรนไชส์ธุรกิจดิจิตอลซาลอนในอนาคต จากเดิมที่ปัจจุบันกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับร้านซาลอนทั่วไปเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาทบนพื้นที่อย่างน้อย 100 ตารางเมตร
นายธีรศักดิ์ ไตรทิพย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฮงเคล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม “ชวาร์สคอฟ โปรเฟสชั่นแนล” (Schwarzkopf Professional) เปิดเผยว่า “ชวาร์สคอฟ” มีแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจซาลอนให้มีรูปแบบเป็น “ดิจิตอล ซาลอน” (Digital Salon) จึงได้พัฒนาระบบเทคโนโลยี “Digital Tools Schwarzkopf Professional” ในลักษณะของแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจให้คู่ค้าพันธมิตรทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2556 โดยล่าสุดได้มีธุรกิจ “ดิจิตอล ซาลอน” เต็มรูปแบบเกิดขึ้นแล้วที่ประเทศเยอรมนี
ในส่วนของประเทศไทย “ชวาร์สคอฟ” ได้มีการนำแอปพลิเคชันต่างๆ มาใช้งานสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนและแฮร์สไตลิสต์ระดับมืออาชีพแล้ว 3 ส่วน คือ 1. House of Color เพื่อช่วยแฮร์สไตลิสต์ในการออกแบบสีผมและแนะนำผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนัดหมายในการใช้บริการครั้งต่อไป 2. Hair Expert เพื่อช่วยแฮร์สไตลิสต์วิเคราะห์การบำรุงสุขภาพเส้นผมของลูกค้า 3. Essential Looks เพื่อช่วยแนะนำเทรนด์ต่างๆ เกี่ยวกับเส้นผมให้แฮร์สไตลิสต์เรียนรู้เพื่อแนะนำลูกค้าในการตบแต่งทรงผมให้เข้ากับการแต่งหน้าและการแต่งกายในระดับเดียวกับนางแบบบนเวทีแคตวอล์กระดับโลก
“เหตุผลที่ชวาร์สคอฟพยายามพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในประเทศไทยเพื่อเป็นการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยวัดจากปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล หรือ Bandwidth ที่มีสูงถึง 1,239 K ในปี 2557 เติบโตขึ้นถึง 70% ส่งผลให้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มใหม่ หรือ The New Internet User เพิ่มขึ้นถึง 30%”
นายธีรศักดิ์กล่าวด้วยว่า “ชวาร์สคอฟ” มีแผนโรดแมปที่จะพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในประเทศไทยให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี โดยจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและแฮร์สไตลิสต์ใช้งานร่วมกับลูกค้าผู้ใช้บริการในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภายใน (Salon Management) และอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเข้ารับบริการ
สำหรับแอปพลิเคชันใหม่ที่พัฒนาและใช้งานได้แล้วคือ EL IPad App. 2.0 ซึ่งเป็นการต่อยอดแอปพลิเคชัน Essential Looks โดยนำเทคโนโลยีใหม่คือ AR Code ซึ่งเป็นการสแกนโลโก้ของ “ชวาร์สคอฟ” เพื่อแสดงคลิปวิดีโอให้เห็นทรงผมในมิติที่สมจริงมากขึ้น โดยในระยะยาว “ชวาร์สคอฟ” จะรวบรวมฐานข้อมูลลูกค้าใน Cloud Computing ของทุกแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1. Salon Finder 2.0 Tools เพื่อช่วยลูกค้าหาร้านซาลอนใกล้บ้าน เพื่อนัดหมายออนไลน์และสอบถามข้อมูลราคาค่าบริการ รวมถึงการบันทึกรูปภาพก่อนและหลังการใช้บริการ 2. EL Styling App 3.0 ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดสำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการได้ใช้งานควบคู่กับแอปพลิเคชัน Salon Finder 2.0 Tools ในการอัปเดตทรงผม การแต่งหน้า การแต่งกาย
3. ASK Academy เป็นแอปพลิเคชันเสมือนศูนย์การศึกษาด้านการจัดแต่งทรงผมโดยเฉพาะ เพื่อพัฒนาคู่ค้าพันธมิตรในธุรกิจซาลอนและแฮร์สไตลิสต์ให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาเกี่ยวกับเทรนด์การออกแบบและตกแต่งทรงผม การแต่งหน้า และการแต่งกาย
4. Virtual Salon Mirror Consultation Tools เป็นแอปพลิเคชันสุดท้ายของการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอน เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการสามารถเห็นภาพตนเองกับทรงผมต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี “กระจกเสมือนจริง” ก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ
นายธีรศักดิ์กล่าวด้วยว่า บริษัทฯ ใช้ 2 ช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ชวาร์สคอฟ” ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ผ่านช่องทางค้าปลีกทั้งในส่วนของโมเดิร์นเทรดและร้านค้าทั่วไปสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือการจำหน่ายตรงกับคู่ค้าพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะฝีมือของแฮร์สไตลิสต์มืออาชีพ
“การพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนถือเป็นการช่วยยกระดับและพัฒนาธุรกิจให้คู่ค้าพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจซาลอนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยล่าสุดได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับธุรกิจซาลอนชื่อดังของประเทศไทยคือร้านชลาชล ในการสร้างมาตรฐานธุรกิจดิจิตอลซาลอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย” นายธีรศักดิ์กล่าวในที่สุด
ทางด้าน นายกิตติณัฏฐ ชลาชล ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชลาชล จำกัด เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ร้านชลาชลมีการพัฒนาเทคโนโลยีใช้บริหารจัดการภายในเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว โดยเริ่มที่สาขาทองหล่อเป็นแห่งแรก จนปัจจุบันมีทั้งสิ้น 14 สาขา แยกเป็นกรุงเทพฯ 12 สาขา เชียงใหม่ 1 สาขา และระยอง 1 สาขา แบ่งเป็นการลงทุนเอง 8 สาขา และแฟรนไชส์ 6 สาขา โดยมีกลุ่มลูกค้าตั้งแต่วัยทำงานจนถึงผู้สูงวัย ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี การร่วมมือครั้งนี้จึงมีการกำหนดให้ช่างทำผมและแฮร์สไตลิสต์ทั้งหมดประมาณ 200 คนมีการนำแอปพลิเคชันต่างๆ ของ “ชวาร์สคอฟ” มาใช้งานเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี
“ตามแผนการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนในเบื้องต้นบริษัทฯ จะเป็นผู้ลงทุนเอง จำนวน 2 สาขา โดยจะเริ่มเห็นสาขาแรกเป็นรูปธรรมในช่วงปลายปี 2558 ที่เซ็นทรัล เวสต์เกต บางใหญ่ จากนั้นจะเปิดสาขา 2 ซึ่งจะถือเป็นร้านต้นแบบ หรือ Flagship Store ที่เซ็นทรัล อีสต์ วิลล์ ถ.รามอินทรา ในช่วงต้นปี 2559 โดยคาดว่ารูปแบบการให้บริการใหม่จะช่วยขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 30%”
นายกิตติณัฏฐกล่าวในตอนท้ายว่า หากการพัฒนาธุรกิจดิจิตอลซาลอนได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าผู้ใช้บริการ บริษัทฯ อาจมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดแฟรนไชส์ธุรกิจดิจิตอลซาลอนในอนาคต จากเดิมที่ปัจจุบันกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับร้านซาลอนทั่วไปเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาทบนพื้นที่อย่างน้อย 100 ตารางเมตร