“กันตาร์” ฟันธงไทยได้นายกฯ คนใหม่ เพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคให้มีความถี่ในการใช้จ่ายสินค้ากลับมาโตได้ 5% จากที่ประเมินไว้ในปีนี้น่าจะโตเพียง 3% ชี้ “โชวห่วย” ช่องทางหลักในการซื้อสินค้า ส่วนค้าปลีกขนาดใหญ่ต้องรุกโมเดลร้านค้าขนาดเล็กสู้
นายฮาร์เวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า จากผลงานวิจัยผู้บริโภคกว่า 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศพบว่า ปีนี้ผู้บริโภคทั้งในตัวเมืองและชนบทยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือน ก.ค. 57 ทำให้มั่นใจได้ว่าอัตราความถี่ในการจับจ่ายใช้สอยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นทันทีที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น หรือทั้งปีจะมีความถี่ในการจับจ่ายใช้สอยเติบโตเพียง 3% เท่านั้น ขณะที่ปีก่อนเติบโต 7%
แต่ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจกลับมามากขึ้น เห็นได้จากช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ทิศทางการใช้จ่ายเริ่มดีขึ้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าในครึ่งปีหลังนี้การจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักต์จะกลับมาเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักและทำให้ทั้งปีมีอัตราการเติบโตได้ 5% จากก่อนหน้าที่ประเมินไว้เพียง 3% หรือจากช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมาความถี่ในการออกไปจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วประเทศกว่า 22.5 ล้านครัวเรือนอยู่ที่ 4,900 ล้านครั้ง หรือคิดเป็น 4.1 ครั้งต่อสัปดาห์
“นอกจากความมั่นใจของผู้บริโภคแล้วยังมาจากสภาพการเมืองที่นิ่งขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยวคืนกลับมา และนโยบายจำนำข้าวที่ส่งมอบเงินคืนแก่ชาวนาได้เกือบครบ ล้วนส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายทั้งสิ้น ที่สำคัญในครึ่งปีหลังกลุ่มค้าปลีกต่างทำโปรโมชันส่งเสริมการขายกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะโปรโมชันในรูปแบบสะสมสแตมป์ เป็นต้น”
ทั้งนี้ พบว่าในช่วงไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมา ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมียอดขายตกลง 1.1% เทสโก้โลตัสมียอดขายตกลง 9.1% และบิ๊กซีมียอดขายตกลง 2.1% ส่วนในไตรมาสสองนั้นเริ่มกลับมาดีขึ้น โดยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นกลับมาโต 0.5% เทสโก้โลตัสกลับมาตกลงเพียง 5.3% และบิ๊กซีกลับมาตกลงเพียง 1.2%
สำหรับกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ผู้บริโภคงดซื้อที่ผ่านมา ได้แก่ กระดาษทิชชู น้ำยาบ้วนปาก เฟเชียล คลีนเซอร์ น้ำยาซักผ้าสี และครีมนวดผม เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าพรีเมียมยังมีอัตราการซื้อที่ดีอยู่ เช่น บอดี้โลชั่น และผงซักฟอก เป็นต้น
นายฮาร์เวิร์ดกล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทฯ ได้ขยายงานวิจัยสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านอุปโภคบริโภคครอบคลุมสินค้ากว่า 100 รายการ และเปิดตัว 1st Shopper Trend ซึ่งเป็นนิตยสารฟรีก๊อบปี้รายเดือน แจกให้บริษัทต่างๆ โดยมีเนื้อหาสาระการเปลี่ยนของตลาดค้าปลีกและพฤติกรรมการจับจ่ายของตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค เช่น พบว่าผู้บริโภคในพื้นที่ชนบทจะเพิ่มความถี่ในการออกไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นด้วยสัดส่วน 4.8 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าผู้บริโภคในเขตตัวเมือง 3.3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละครั้งลดลงอยู่ในอัตรา 50% ของจำนวนการใช้จ่ายของคนเมืองในแต่ละครั้งอยู่ที่ 132 บาท/ครั้ง และในชนบทต่ำกว่า 50% โดยพฤติกรรมการบริโภคของคนต่างจังหวัดจะนิยมจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านโชวห่วยใกล้บ้าน
ส่วนคนเมืองนิยมจับจ่ายผ่านค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี แต่เมื่อเทียบความถี่ในการใช้จ่ายผ่านค้าปลีกขนาดใหญ่จะต่ำกว่าเซเว่น อีเลฟเว่น โดยการใช้จ่ายต่อครั้งสูงกว่า 5 เท่า หรืออยู่ที่ 302 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ค้าปลีกจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์เพิ่มจำนวนร้านค้าปลีกขนาดเล็ก รวมถึงช่องทางขายผ่านออนไลน์ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการจับจ่าย
ล่าสุดบริษัทเปิดตัวบริการรูปแบบโซลูชั่นที่ครอบคลุม 3 ด้านคือ 1.การให้รายละเอียดข้อมูลสำคัญ 2.การใก้คำแนะนำที่ทรงคุณค่า และ 3.การวัดประเมินผล พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญบริการพร้อมคำปรึกษาในระบบสมาชิก 3 ระดับคือ รายปี ราย 3 ปี และราย 5 ปีผ่านเครื่องมือ WPO ข้อมูลพร้อมใช้แบบ 24x7 พร้อมบริการพิเศษวิจัยเฉพาะเรื่องตามความต้องการเฉพาะรายเพื่อช่วยเจ้าของสินค้าวางแผนอย่างตรงจุด
นายฮาร์เวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า จากผลงานวิจัยผู้บริโภคกว่า 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศพบว่า ปีนี้ผู้บริโภคทั้งในตัวเมืองและชนบทยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือน ก.ค. 57 ทำให้มั่นใจได้ว่าอัตราความถี่ในการจับจ่ายใช้สอยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นทันทีที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น หรือทั้งปีจะมีความถี่ในการจับจ่ายใช้สอยเติบโตเพียง 3% เท่านั้น ขณะที่ปีก่อนเติบโต 7%
แต่ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจกลับมามากขึ้น เห็นได้จากช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ทิศทางการใช้จ่ายเริ่มดีขึ้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าในครึ่งปีหลังนี้การจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักต์จะกลับมาเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักและทำให้ทั้งปีมีอัตราการเติบโตได้ 5% จากก่อนหน้าที่ประเมินไว้เพียง 3% หรือจากช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมาความถี่ในการออกไปจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วประเทศกว่า 22.5 ล้านครัวเรือนอยู่ที่ 4,900 ล้านครั้ง หรือคิดเป็น 4.1 ครั้งต่อสัปดาห์
“นอกจากความมั่นใจของผู้บริโภคแล้วยังมาจากสภาพการเมืองที่นิ่งขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยวคืนกลับมา และนโยบายจำนำข้าวที่ส่งมอบเงินคืนแก่ชาวนาได้เกือบครบ ล้วนส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายทั้งสิ้น ที่สำคัญในครึ่งปีหลังกลุ่มค้าปลีกต่างทำโปรโมชันส่งเสริมการขายกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะโปรโมชันในรูปแบบสะสมสแตมป์ เป็นต้น”
ทั้งนี้ พบว่าในช่วงไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมา ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมียอดขายตกลง 1.1% เทสโก้โลตัสมียอดขายตกลง 9.1% และบิ๊กซีมียอดขายตกลง 2.1% ส่วนในไตรมาสสองนั้นเริ่มกลับมาดีขึ้น โดยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นกลับมาโต 0.5% เทสโก้โลตัสกลับมาตกลงเพียง 5.3% และบิ๊กซีกลับมาตกลงเพียง 1.2%
สำหรับกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ผู้บริโภคงดซื้อที่ผ่านมา ได้แก่ กระดาษทิชชู น้ำยาบ้วนปาก เฟเชียล คลีนเซอร์ น้ำยาซักผ้าสี และครีมนวดผม เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าพรีเมียมยังมีอัตราการซื้อที่ดีอยู่ เช่น บอดี้โลชั่น และผงซักฟอก เป็นต้น
นายฮาร์เวิร์ดกล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทฯ ได้ขยายงานวิจัยสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านอุปโภคบริโภคครอบคลุมสินค้ากว่า 100 รายการ และเปิดตัว 1st Shopper Trend ซึ่งเป็นนิตยสารฟรีก๊อบปี้รายเดือน แจกให้บริษัทต่างๆ โดยมีเนื้อหาสาระการเปลี่ยนของตลาดค้าปลีกและพฤติกรรมการจับจ่ายของตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค เช่น พบว่าผู้บริโภคในพื้นที่ชนบทจะเพิ่มความถี่ในการออกไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นด้วยสัดส่วน 4.8 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าผู้บริโภคในเขตตัวเมือง 3.3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละครั้งลดลงอยู่ในอัตรา 50% ของจำนวนการใช้จ่ายของคนเมืองในแต่ละครั้งอยู่ที่ 132 บาท/ครั้ง และในชนบทต่ำกว่า 50% โดยพฤติกรรมการบริโภคของคนต่างจังหวัดจะนิยมจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านโชวห่วยใกล้บ้าน
ส่วนคนเมืองนิยมจับจ่ายผ่านค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี แต่เมื่อเทียบความถี่ในการใช้จ่ายผ่านค้าปลีกขนาดใหญ่จะต่ำกว่าเซเว่น อีเลฟเว่น โดยการใช้จ่ายต่อครั้งสูงกว่า 5 เท่า หรืออยู่ที่ 302 บาทต่อครั้ง ดังนั้นผู้ค้าปลีกจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์เพิ่มจำนวนร้านค้าปลีกขนาดเล็ก รวมถึงช่องทางขายผ่านออนไลน์ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการจับจ่าย
ล่าสุดบริษัทเปิดตัวบริการรูปแบบโซลูชั่นที่ครอบคลุม 3 ด้านคือ 1.การให้รายละเอียดข้อมูลสำคัญ 2.การใก้คำแนะนำที่ทรงคุณค่า และ 3.การวัดประเมินผล พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญบริการพร้อมคำปรึกษาในระบบสมาชิก 3 ระดับคือ รายปี ราย 3 ปี และราย 5 ปีผ่านเครื่องมือ WPO ข้อมูลพร้อมใช้แบบ 24x7 พร้อมบริการพิเศษวิจัยเฉพาะเรื่องตามความต้องการเฉพาะรายเพื่อช่วยเจ้าของสินค้าวางแผนอย่างตรงจุด