“ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ “ ศึกษาทำธุรกิจเอทานอละครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยเจรจาพันธมิตรตั้งโรงหีบอ้อยเพื่อนำวัตถุดิบไปผลิตเอทานอล แล้วต่อยอดไปผลิตในอุตสาหกรรเคมี นอกเหนือจากการนำเอทานอลไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งศึกษาโอกาสขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่มเป็น 5 แสนลิตร/วัน รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ยันไม่เปลี่ยนใจนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 2 นี้
นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TAE) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเอทานอลแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยเบื้องต้นบริษัทฯจะขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันผลิตอยู่ 3.65 แสนลิตร/วัน เป็น 5แสนลิตร/วัน โดยจะซื้อโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไออยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันบีโอไอไม่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโรงงานเอทานอลใหม่
ซึ่งแผนการขยายกำลังการผลิตเอทานอลดังกล่าวนี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้เอทานอลที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจากนโยบายรัฐที่ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน โดยกำหนดเป้าหมายการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านลิตร/วันในปี 2564 จากปัจจุบันความต้องการใช้เอทานอลอยู่ที่ 2.5-2.7 ล้านลิตร/วัน
นอกจากนี้ บริษัทฯยังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต้นน้ำ โดยจะร่วมกับพันธมิตรตั้งโรงงานหีบอ้อย เพื่อนำกากน้ำตาลหรือโมลาสมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงงานผลิตเอทานอล สร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบ จากปัจจุบันทำสัญญาระยะยาวซื้อโมลาสจากโรงงานน้ำตาลมิตรผล รวมทั้งต่อยอดการใช้เอทานอลไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า นอกเหนือจากการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
“ปัจจุบัน บริษัทฯมีการใช้กำลังการผลิตเอทานอลอยู่ที่ 70-80%จากกำลังการรวม 3.65 แสนลิตร/วัน ใช้กากน้ำตาลและมันเส้นเป็นวัตถุดิบ ซึ่งในอนาคตบริษัทฯมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่ม โดยจะซื้อไลเซนซ์ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ 50 ราย แต่มีการตั้งโรงงานผลิตจริง 20 กว่ารายในช่วง 4-5ปีนี้ โดยยอมรับว่าโรงเอทานอลใหม่เกิดขึ้นได้ลำบาก แข่งขันสูง เพราะมีผู้ผลิตหลายรายแต่ผู้รับซื้อคือบริษัทน้ำมันเพียง 7-8 รายเท่านั้น ”
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า การจะบรรลุเป้าหมายการการใช้เอทานอลให้ถึง 9 ล้านลิตร/วันในปี 2564 นั้นจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ก็สามารถใช้ได้ การทำตลาดแก๊สโซฮอล์อี 85 รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกเอทานอลด้วย แต่ที่ผ่านมารัฐมองข้ามความมั่งคงด้านวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งเห็นว่ารัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการนำที่นาที่ไม่ได้ผลผลิตมากมาปลูกอ้อยแทนเพียง 7 ล้านไร่ รวมทั้งลดการส่งออกมันเส้นและโมลาสด้วย
“ ในปีนี้บริษัทฯคาดว่าความต้องการใช้เอทานอลจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.8 ล้านลิตร/วัน หากปัญหาการเมืองไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการใช้พลังงาน และปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านลิตร/วัน
บริษัท ไทย อะโกร ฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ รองจากมิตรผลและอุบล เอทานอล มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯในไตรมาส 2 นี้ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น
ทั้งนี้บริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 200 ล้านหุ้น รวมกับหุ้นสามัญเดิมที่ลานนารีซอร์สเซส ฯ (LANNA) ถืออยู่ 96,037,733 หุ้น รวมเป็นจำนวนหุ้นที่เสนอขาย 296,037,733 หุ้น แบ่งเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นของ LANNA ตามสัดส่วนการถือหุ้น จำนวนไม่เกิน 105,037,733 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ และการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนจำนวน 191 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 19.10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทฯของลานนา รีซอร์สเซสฯจากร้อยละ 75.75 เหลือเพียงร้อยละ 51
โดยเม็ดเงินที่ระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ จะนำไปใช้สร้างระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์ คาดว่าจะจ่ายไฟใช้ภายในโรงงานได้ในปีนี้ ใช้เงินลงทุน 190 ล้านบาท ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ปีละ 75 ล้านบาท รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชำระหนี้คืนเงินกู้บางส่วนด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้ารายได้เติบโตขึ้น 30%จากปี 2556 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 1,659.05 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 117.68 ล้านบาทในปี 2556
นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TAE) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเอทานอลแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยเบื้องต้นบริษัทฯจะขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันผลิตอยู่ 3.65 แสนลิตร/วัน เป็น 5แสนลิตร/วัน โดยจะซื้อโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไออยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันบีโอไอไม่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโรงงานเอทานอลใหม่
ซึ่งแผนการขยายกำลังการผลิตเอทานอลดังกล่าวนี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้เอทานอลที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจากนโยบายรัฐที่ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน โดยกำหนดเป้าหมายการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านลิตร/วันในปี 2564 จากปัจจุบันความต้องการใช้เอทานอลอยู่ที่ 2.5-2.7 ล้านลิตร/วัน
นอกจากนี้ บริษัทฯยังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต้นน้ำ โดยจะร่วมกับพันธมิตรตั้งโรงงานหีบอ้อย เพื่อนำกากน้ำตาลหรือโมลาสมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงงานผลิตเอทานอล สร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบ จากปัจจุบันทำสัญญาระยะยาวซื้อโมลาสจากโรงงานน้ำตาลมิตรผล รวมทั้งต่อยอดการใช้เอทานอลไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า นอกเหนือจากการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
“ปัจจุบัน บริษัทฯมีการใช้กำลังการผลิตเอทานอลอยู่ที่ 70-80%จากกำลังการรวม 3.65 แสนลิตร/วัน ใช้กากน้ำตาลและมันเส้นเป็นวัตถุดิบ ซึ่งในอนาคตบริษัทฯมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพิ่ม โดยจะซื้อไลเซนซ์ที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ 50 ราย แต่มีการตั้งโรงงานผลิตจริง 20 กว่ารายในช่วง 4-5ปีนี้ โดยยอมรับว่าโรงเอทานอลใหม่เกิดขึ้นได้ลำบาก แข่งขันสูง เพราะมีผู้ผลิตหลายรายแต่ผู้รับซื้อคือบริษัทน้ำมันเพียง 7-8 รายเท่านั้น ”
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า การจะบรรลุเป้าหมายการการใช้เอทานอลให้ถึง 9 ล้านลิตร/วันในปี 2564 นั้นจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ก็สามารถใช้ได้ การทำตลาดแก๊สโซฮอล์อี 85 รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกเอทานอลด้วย แต่ที่ผ่านมารัฐมองข้ามความมั่งคงด้านวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งเห็นว่ารัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการนำที่นาที่ไม่ได้ผลผลิตมากมาปลูกอ้อยแทนเพียง 7 ล้านไร่ รวมทั้งลดการส่งออกมันเส้นและโมลาสด้วย
“ ในปีนี้บริษัทฯคาดว่าความต้องการใช้เอทานอลจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.8 ล้านลิตร/วัน หากปัญหาการเมืองไม่ส่งผลกระทบต่อยอดการใช้พลังงาน และปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านลิตร/วัน
บริษัท ไทย อะโกร ฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ รองจากมิตรผลและอุบล เอทานอล มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯในไตรมาส 2 นี้ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น
ทั้งนี้บริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 200 ล้านหุ้น รวมกับหุ้นสามัญเดิมที่ลานนารีซอร์สเซส ฯ (LANNA) ถืออยู่ 96,037,733 หุ้น รวมเป็นจำนวนหุ้นที่เสนอขาย 296,037,733 หุ้น แบ่งเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นของ LANNA ตามสัดส่วนการถือหุ้น จำนวนไม่เกิน 105,037,733 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ และการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนจำนวน 191 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 19.10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทฯของลานนา รีซอร์สเซสฯจากร้อยละ 75.75 เหลือเพียงร้อยละ 51
โดยเม็ดเงินที่ระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ จะนำไปใช้สร้างระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์ คาดว่าจะจ่ายไฟใช้ภายในโรงงานได้ในปีนี้ ใช้เงินลงทุน 190 ล้านบาท ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ปีละ 75 ล้านบาท รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชำระหนี้คืนเงินกู้บางส่วนด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้ารายได้เติบโตขึ้น 30%จากปี 2556 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 1,659.05 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 117.68 ล้านบาทในปี 2556