• ในปีที่ผ่านมาคนไทยส่วนมาก (66%) เดินทางไกลเพื่อท่องเที่ยวและทำงานภายในประเทศโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นหลัก
• 90% ของผู้ขับขี่ไทยนำรถเข้าศูนย์บริการก่อนการเดินทาง
• กิจกรรมหลักของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์คือการฟังเพลง แต่ผู้โดยสารที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปีมีแนวโน้มมากกว่าที่จะทำกิจกรรมประเภทดูหนัง เล่นเกม เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก โทร. หรือแชตผ่านโทรศัพท์ระหว่างการเดินทาง
สำนักงานสถิติฯ เผยยอดการท่องเที่ยวในประเทศไทยเติบโตขึ้นเป็นลำดับจากปี 2552 จนถึงปี 2555 จากร้อยละ 48.8 เป็นร้อยละ 57.8 เพิ่มโอกาสทางการค้าและเงินหมุนเวียนภายในประเทศ ไม่เพียงแต่ตลาดท่องเที่ยว โรงแรม และอาหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงตลาดรถยนต์และศูนย์บริการอีกด้วย โดยผลสำรวจพฤติกรรมและมุมมองผู้บริโภคเกี่ยวกับรถยนต์ของนีลเส็นในปีที่ผ่านมาค้นพบว่าคนไทยส่วนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะหลักในการเดินทางในประเทศ โดยผู้ขับขี่รถยนต์ถึง 90% ให้ความสำคัญต่อการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางกับทางศูนย์บริการเนื่องจากให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยขณะเดินทางท่องเที่ยวเป็นหลัก และเน้นไปที่การตรวจลมยาง น้ำมันเครื่อง เบรก และน้ำกลั่น
“ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ผู้ขับขี่ไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง มีผู้ขับขี่เพียง 13% ที่ให้ความสำคัญและจัดแจงให้มีการตรวจสภาพรถยนต์หลังกลับจากการเดินทาง ยิ่งไปกว่านั้นยังเลือกที่จะตรวจสภาพรถด้วยตัวเองแทนที่จะนำรถเข้าเช็กที่ศูนย์บริการอีกด้วย” สมวลี ลิมป์รัชตามร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจยานยนต์จากนีลเส็น กล่าว
กลุ่มผู้ขับขี่ที่เช็กสภาพรถหลังการท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญต่อการตรวจทั่วไปเป็นหลัก รองลงมาคือการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ และการตรวจสภาพยาง/ลมยาง
“พฤติกรรมของผู้ขับขี่นี้จะเปิดโอกาสไม่เพียงแต่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่รวมไปถึงศูนย์บริการ ศูนย์รถยนต์หรืออู่ซ่อมบำรุง ซึ่งในสภาวะปัจจุบันที่ผู้ขับขี่ยังไม่ได้ใช้บริการตรวจเช็กรถยนต์กับศูนย์บริการหลังการเดินทางท่องเที่ยวนั้นหมายความว่ายังมีช่องทางในการให้บริการ โดยทางบริษัทสามารถเสนอแพกเกจโปรโมชันตรวจเช็กรถแบบก่อนและหลังการเดินทาง ประกอบกับการสื่อสารและสร้างความตื่นตัวให้ผู้ใช้รับทราบถึงความสำคัญของการตรวจเช็กรถหลังการเดินทางและหันมาใช้บริการมากขึ้น ดังนั้น การเข้าใจถึงความต้องการของผู้ขับขี่นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสารและการออกแบบรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและการให้บริการ” สมวลีกล่าวเพิ่มเติม
ผลการสำรวจยังพบอีกว่า กิจกรรมที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารนิยมทำมากที่สุดระหว่างการขับรถนั้นคือการฟังเพลงและวิทยุ รองลงมาคือการคุยกันเองในรถ
อย่างไรก็ดี เราจะเห็นได้ว่ายิ่งผู้โดยสารอายุน้อยลง อัตราการเล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต หรือแชตบนโทรศัพท์มือถือระหว่างโดยสารจะมีมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ตอบสนองต่อกระแสและค่านิยมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของคนไทย ดังที่ผลสำรวจจากรายงาน Smartphone Insights ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมการเลือกซื้อ และการใช้โทรศัพท์ของนีลเส็นพบว่าคนไทยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นถึง 81% จากไตรมาสที่ 3 ปี 2011 โดยใช้เวลาถึง 277 นาทีต่อวันกับการใช้โทรศัพท์ ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 76 นาทีต่อวันในการแชต 50 นาทีในการเล่นเกม และ 42 นาทีต่อวันในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยแอปพลิเคชัน Line เป็นแชตแอปที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนนิยมใช้มากที่สุดในทุกเครือข่าย และผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ในขณะที่แอปพลิเคชัน WeChat ซึ่งอยู่ใน top 5 ของแอปพลิเคชันที่ใช้ในการแชตได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ใช้ในเครือข่าย AIS และผู้ใช้ส่วนมากเป็นผู้ชาย
“นี่อาจเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ผลิตสามารถออกแบบระบบการทำงานของรถ หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อรองรับกิจกรรมที่ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารนิยมทำในรถเพื่อเปิดช่องทางในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค” สมวลีกล่าวเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการศึกษา Smartphone Insights ของ Nielsen
Smartphone Insights คือการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติ, พฤติกรรมการเลือกซื้อ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษากลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในประเทศไทย โดยครอบคลุมจังหวัดหัวเมืองหลักๆ ทั้งหมดในประเทศไทย ทุกกลุ่มอายุ และฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ
• 90% ของผู้ขับขี่ไทยนำรถเข้าศูนย์บริการก่อนการเดินทาง
• กิจกรรมหลักของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์คือการฟังเพลง แต่ผู้โดยสารที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปีมีแนวโน้มมากกว่าที่จะทำกิจกรรมประเภทดูหนัง เล่นเกม เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก โทร. หรือแชตผ่านโทรศัพท์ระหว่างการเดินทาง
สำนักงานสถิติฯ เผยยอดการท่องเที่ยวในประเทศไทยเติบโตขึ้นเป็นลำดับจากปี 2552 จนถึงปี 2555 จากร้อยละ 48.8 เป็นร้อยละ 57.8 เพิ่มโอกาสทางการค้าและเงินหมุนเวียนภายในประเทศ ไม่เพียงแต่ตลาดท่องเที่ยว โรงแรม และอาหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงตลาดรถยนต์และศูนย์บริการอีกด้วย โดยผลสำรวจพฤติกรรมและมุมมองผู้บริโภคเกี่ยวกับรถยนต์ของนีลเส็นในปีที่ผ่านมาค้นพบว่าคนไทยส่วนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะหลักในการเดินทางในประเทศ โดยผู้ขับขี่รถยนต์ถึง 90% ให้ความสำคัญต่อการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางกับทางศูนย์บริการเนื่องจากให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยขณะเดินทางท่องเที่ยวเป็นหลัก และเน้นไปที่การตรวจลมยาง น้ำมันเครื่อง เบรก และน้ำกลั่น
“ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ผู้ขับขี่ไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง มีผู้ขับขี่เพียง 13% ที่ให้ความสำคัญและจัดแจงให้มีการตรวจสภาพรถยนต์หลังกลับจากการเดินทาง ยิ่งไปกว่านั้นยังเลือกที่จะตรวจสภาพรถด้วยตัวเองแทนที่จะนำรถเข้าเช็กที่ศูนย์บริการอีกด้วย” สมวลี ลิมป์รัชตามร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจยานยนต์จากนีลเส็น กล่าว
กลุ่มผู้ขับขี่ที่เช็กสภาพรถหลังการท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญต่อการตรวจทั่วไปเป็นหลัก รองลงมาคือการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ และการตรวจสภาพยาง/ลมยาง
“พฤติกรรมของผู้ขับขี่นี้จะเปิดโอกาสไม่เพียงแต่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่รวมไปถึงศูนย์บริการ ศูนย์รถยนต์หรืออู่ซ่อมบำรุง ซึ่งในสภาวะปัจจุบันที่ผู้ขับขี่ยังไม่ได้ใช้บริการตรวจเช็กรถยนต์กับศูนย์บริการหลังการเดินทางท่องเที่ยวนั้นหมายความว่ายังมีช่องทางในการให้บริการ โดยทางบริษัทสามารถเสนอแพกเกจโปรโมชันตรวจเช็กรถแบบก่อนและหลังการเดินทาง ประกอบกับการสื่อสารและสร้างความตื่นตัวให้ผู้ใช้รับทราบถึงความสำคัญของการตรวจเช็กรถหลังการเดินทางและหันมาใช้บริการมากขึ้น ดังนั้น การเข้าใจถึงความต้องการของผู้ขับขี่นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสารและการออกแบบรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและการให้บริการ” สมวลีกล่าวเพิ่มเติม
ผลการสำรวจยังพบอีกว่า กิจกรรมที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารนิยมทำมากที่สุดระหว่างการขับรถนั้นคือการฟังเพลงและวิทยุ รองลงมาคือการคุยกันเองในรถ
อย่างไรก็ดี เราจะเห็นได้ว่ายิ่งผู้โดยสารอายุน้อยลง อัตราการเล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต หรือแชตบนโทรศัพท์มือถือระหว่างโดยสารจะมีมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ตอบสนองต่อกระแสและค่านิยมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของคนไทย ดังที่ผลสำรวจจากรายงาน Smartphone Insights ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมการเลือกซื้อ และการใช้โทรศัพท์ของนีลเส็นพบว่าคนไทยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นถึง 81% จากไตรมาสที่ 3 ปี 2011 โดยใช้เวลาถึง 277 นาทีต่อวันกับการใช้โทรศัพท์ ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 76 นาทีต่อวันในการแชต 50 นาทีในการเล่นเกม และ 42 นาทีต่อวันในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยแอปพลิเคชัน Line เป็นแชตแอปที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนนิยมใช้มากที่สุดในทุกเครือข่าย และผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ในขณะที่แอปพลิเคชัน WeChat ซึ่งอยู่ใน top 5 ของแอปพลิเคชันที่ใช้ในการแชตได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ใช้ในเครือข่าย AIS และผู้ใช้ส่วนมากเป็นผู้ชาย
“นี่อาจเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ผลิตสามารถออกแบบระบบการทำงานของรถ หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อรองรับกิจกรรมที่ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารนิยมทำในรถเพื่อเปิดช่องทางในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค” สมวลีกล่าวเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการศึกษา Smartphone Insights ของ Nielsen
Smartphone Insights คือการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติ, พฤติกรรมการเลือกซื้อ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษากลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในประเทศไทย โดยครอบคลุมจังหวัดหัวเมืองหลักๆ ทั้งหมดในประเทศไทย ทุกกลุ่มอายุ และฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ