เซ็นทรัล กรุ๊ปทุ่ม 1,000 ล้านบาทรุกศูนย์การค้าในรูปแบบจิวเวลรีเทรดภายใน 3 ปี พร้อมขยายสู่แฟชั่นเอาต์เลตในสาขาที่มีศักยภาพ ตอบรับตลาดเออีซี เล็งลงทุนในอาเซียน+6 ล่าสุดจับมือซีอาร์ซีรีแบรนด์ จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ สู่ “เจทีซี” เป็นจิวเวลรีแอนด์แฟชั่นเอาต์เลตเซ็นเตอร์ คาดปีแรกรับรู้รายได้ภายในศูนย์ฯ ไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท
นายเฮนรี่ โฮ ผู้อำนวยการศูนย์การค้า จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ บริษัท เดอะ สีลม แกลเลอเรีย ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ภายใต้เซ็นทรัล กรุ๊ป คอมปานี เปิดเผยว่า ช่วง 3-5 ปีหลังจากนี้ทางบริษัทเตรียมใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทในการขยายสาขาศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ สู่จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศและตลาดต่างประเทศในอาเซียน+6 อย่าง พม่า เวียดนาม จีน อินเดีย เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
โดยโมเดลที่จะลงทุนนั้นมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ รวมถึงอี-มาร์เกต ซึ่งมีทั้งลงทุนเองและร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น ส่วนคอนเซ็ปต์แต่ละแห่งนั้นต้องขึ้นอยู่กับทำเลเป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีทั้งโมเดลให้บริการเฉพาะจิวเวลรีอย่างเดียว หรืออาจะเป็นคอนเซ็ปต์จิวเวลรีแอนด์แฟชั่นเอาต์เลตเซ็นเตอร์
ทั้งนี้ แห่งแรกที่จะขยายไปคือ จันทบุรี ส่วนในต่างประเทศ ได้แก่ พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง
ล่าสุดในส่วนของศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ได้ร่วมกับทางบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปรับโฉมใหม่เป็น เจ ที ซี เพื่อเป็นศูนย์กลางจิวเวลรีแอนด์แฟชั่นเอาต์เลตเซ็นเตอร์ใจกลางเมืองแห่งแรกของไทย จากเดิมที่เป็นศูนย์การค้าอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของไทยอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จากเดิมจะเน้นกลุ่มบีทูบี ซึ่งกว่า 70% เป็นต่างชาติ และ 30%เป็นโลคัล มาเป็นกลุ่มลูกค้าแบบบีทูซีมากยิ่งขึ้น
ด้านนายเลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ทางบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาทสำหรับปรับปรุงพื้นที่ 22,000 ตารางเมตรให้ดูทันสมัย และปรับสัดส่วนลูกค้าใหม่เป็น 3 โซนหลัก คือ 1. โซนจิวเวลรี หรือจิวเวลเวิลด์ และเดอะ ซิกเนเจอร์ 6,500 ตารางเมตร 2. โซนแฟชั่น หรือบางกอก แฟชั่น เอาต์เลต 6,500 ตารางเมตร และ 3. โซนศิลปะ หรือบางกอก อาร์ต แกลเลอเรีย 1,200 ตารางเมตร พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.นี้เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการเพิ่มเป็น 25,000 คนในวันธรรมดา และ 30,000 คนในวันเสาร์อาทิตย์ จากปกติจะมีผู้เข้าใช้บริการวันละประมาณ 5,000 คน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเอาต์เลตนั้นจะมีแบรนด์สินค้ากว่า 500 แบรนด์นำมาลดราคาตั้งแต่ 30-90% โดยมั่นใจว่าแต่ละปีจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนภายในศูนย์การค้าฯราว 2,500 ล้านบาทขึ้นไป มาจากเอาต์เลต 750 ล้านบาท และในส่วนของจิวเวลรี 1,750 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของค่าเช่าพื้นที่ที่ทางบริษัทจะมีรายได้เข้ามานั้น ต่อปีคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายในเจ ที ซี ยังสามารถพัฒนาพื้นที่ที่เหลืออีกกว่า 5ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 9 ไร่ครึ่ง โดยจะเพิ่มในส่วนของจิวเวลรีจากทั่วโลกให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น เพชร พลอย หยก มุก แกะสลัก และนาฬิกา เป็นต้น นายเลิศวิทย์กล่าวต่อว่า ภายใน 5 ปีหลังจากนี้บริษัทมีแผนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟชั่นเอาต์เลตมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องดูการตอบรับจากเจ ที ซี ก่อน โดยในกรุงเทพฯ นั้นมองว่าควรจะมีแฟชั่นเอาต์เลตไม่เกิน 2 แห่ง ส่วนในต่างจังหวัดนั้นจะเน้นทำเลที่มีนักท่องเที่ยวเป็นหลัก
นายเฮนรี่ โฮ ผู้อำนวยการศูนย์การค้า จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ บริษัท เดอะ สีลม แกลเลอเรีย ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ภายใต้เซ็นทรัล กรุ๊ป คอมปานี เปิดเผยว่า ช่วง 3-5 ปีหลังจากนี้ทางบริษัทเตรียมใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทในการขยายสาขาศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ สู่จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศและตลาดต่างประเทศในอาเซียน+6 อย่าง พม่า เวียดนาม จีน อินเดีย เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
โดยโมเดลที่จะลงทุนนั้นมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ รวมถึงอี-มาร์เกต ซึ่งมีทั้งลงทุนเองและร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น ส่วนคอนเซ็ปต์แต่ละแห่งนั้นต้องขึ้นอยู่กับทำเลเป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีทั้งโมเดลให้บริการเฉพาะจิวเวลรีอย่างเดียว หรืออาจะเป็นคอนเซ็ปต์จิวเวลรีแอนด์แฟชั่นเอาต์เลตเซ็นเตอร์
ทั้งนี้ แห่งแรกที่จะขยายไปคือ จันทบุรี ส่วนในต่างประเทศ ได้แก่ พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง
ล่าสุดในส่วนของศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ได้ร่วมกับทางบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปรับโฉมใหม่เป็น เจ ที ซี เพื่อเป็นศูนย์กลางจิวเวลรีแอนด์แฟชั่นเอาต์เลตเซ็นเตอร์ใจกลางเมืองแห่งแรกของไทย จากเดิมที่เป็นศูนย์การค้าอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของไทยอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จากเดิมจะเน้นกลุ่มบีทูบี ซึ่งกว่า 70% เป็นต่างชาติ และ 30%เป็นโลคัล มาเป็นกลุ่มลูกค้าแบบบีทูซีมากยิ่งขึ้น
ด้านนายเลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ทางบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาทสำหรับปรับปรุงพื้นที่ 22,000 ตารางเมตรให้ดูทันสมัย และปรับสัดส่วนลูกค้าใหม่เป็น 3 โซนหลัก คือ 1. โซนจิวเวลรี หรือจิวเวลเวิลด์ และเดอะ ซิกเนเจอร์ 6,500 ตารางเมตร 2. โซนแฟชั่น หรือบางกอก แฟชั่น เอาต์เลต 6,500 ตารางเมตร และ 3. โซนศิลปะ หรือบางกอก อาร์ต แกลเลอเรีย 1,200 ตารางเมตร พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.นี้เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการเพิ่มเป็น 25,000 คนในวันธรรมดา และ 30,000 คนในวันเสาร์อาทิตย์ จากปกติจะมีผู้เข้าใช้บริการวันละประมาณ 5,000 คน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเอาต์เลตนั้นจะมีแบรนด์สินค้ากว่า 500 แบรนด์นำมาลดราคาตั้งแต่ 30-90% โดยมั่นใจว่าแต่ละปีจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนภายในศูนย์การค้าฯราว 2,500 ล้านบาทขึ้นไป มาจากเอาต์เลต 750 ล้านบาท และในส่วนของจิวเวลรี 1,750 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของค่าเช่าพื้นที่ที่ทางบริษัทจะมีรายได้เข้ามานั้น ต่อปีคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายในเจ ที ซี ยังสามารถพัฒนาพื้นที่ที่เหลืออีกกว่า 5ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 9 ไร่ครึ่ง โดยจะเพิ่มในส่วนของจิวเวลรีจากทั่วโลกให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น เพชร พลอย หยก มุก แกะสลัก และนาฬิกา เป็นต้น นายเลิศวิทย์กล่าวต่อว่า ภายใน 5 ปีหลังจากนี้บริษัทมีแผนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟชั่นเอาต์เลตมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องดูการตอบรับจากเจ ที ซี ก่อน โดยในกรุงเทพฯ นั้นมองว่าควรจะมีแฟชั่นเอาต์เลตไม่เกิน 2 แห่ง ส่วนในต่างจังหวัดนั้นจะเน้นทำเลที่มีนักท่องเที่ยวเป็นหลัก