เผยข้อมูลอัตราเฉลี่ยของรายได้ต่อจำนวนห้องพักปรับตัวสูงกว่า 10% ขณะที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 20% สูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุตลาดส่งสัญญาณดีส่งผลให้มีการลงทุนอย่างตือเนื่อง คาดหลังเปิด AEC การลงทุนด้านโรงแรมจะมีการปรับรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น
นายอาร์ท บิวเซอร์ กรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีบีอาร์อี โฮเทลส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการตลาดโรงแรมของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจของโลกตกอยู่ในวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2554 ซึ่งโรงแรมต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยลดลงไปเกือบถึงระดับ 50-55% โดยปัจจุบันอัตราการเข้าพักได้พุ่งสูงขึ้นถึง 75%
นอกจากนั้น อัตราเฉลี่ยของรายได้ต่อจำนวนห้องพักที่มีไว้จำหน่าย (RevPar) ของโรงแรมทั่วทั้งประเทศไทยยังปรับตัวดีขึ้นมากกว่า 10% ซึ่งถือว่าสูงกว่าอีกหลายๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น ขณะที่ฮ่องกงและสิงค์โปร์ก็มีอัตราค่อนข้างคงที่ โดยอัตราค่าห้องพักของโรงแรมในประเทศไทยปัจจุบันยังคงมีระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 5-10% เท่านั้น แต่อัตรา RevPar ถือว่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 25-30% ซึ่งหมายถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้น 50-100% แสดงให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการในปัจจุบันที่จะเริ่มปรับอัตราค่าห้องพักให้สูงขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยวต่างๆ
“ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตดังกล่าว คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน ประกอบกับจำนวนโรงแรมคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ เพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีประมาณ 5% เท่านั้น”
ขณะเดียวกัน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังถือว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยธุรกรรมการซื้อขายโรงแรมในภูมิภาคเอเชียในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 มีมูลค่ารวมมากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 7.845 หมื่นล้านบาท
“ตลาดโรงแรมของประเทศไทยในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและมีความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมากขึ้น ทำให้ปริมาณธุรกรรมการซื้อขายโรงแรมเริ่มมีสูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีในอนาคต เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยจะยังคงมีนักลงทุนทั้งรายเก่าและใหม่ลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมีการพัฒนารูปแบบโรงแรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นหลังจากการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558”
นายอาร์ท บิวเซอร์ กรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีบีอาร์อี โฮเทลส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางการตลาดโรงแรมของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจของโลกตกอยู่ในวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2554 ซึ่งโรงแรมต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยลดลงไปเกือบถึงระดับ 50-55% โดยปัจจุบันอัตราการเข้าพักได้พุ่งสูงขึ้นถึง 75%
นอกจากนั้น อัตราเฉลี่ยของรายได้ต่อจำนวนห้องพักที่มีไว้จำหน่าย (RevPar) ของโรงแรมทั่วทั้งประเทศไทยยังปรับตัวดีขึ้นมากกว่า 10% ซึ่งถือว่าสูงกว่าอีกหลายๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น ขณะที่ฮ่องกงและสิงค์โปร์ก็มีอัตราค่อนข้างคงที่ โดยอัตราค่าห้องพักของโรงแรมในประเทศไทยปัจจุบันยังคงมีระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 5-10% เท่านั้น แต่อัตรา RevPar ถือว่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 25-30% ซึ่งหมายถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้น 50-100% แสดงให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการในปัจจุบันที่จะเริ่มปรับอัตราค่าห้องพักให้สูงขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยวต่างๆ
“ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตดังกล่าว คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน ประกอบกับจำนวนโรงแรมคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ เพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีประมาณ 5% เท่านั้น”
ขณะเดียวกัน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังถือว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยธุรกรรมการซื้อขายโรงแรมในภูมิภาคเอเชียในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 มีมูลค่ารวมมากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 7.845 หมื่นล้านบาท
“ตลาดโรงแรมของประเทศไทยในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาและมีความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมากขึ้น ทำให้ปริมาณธุรกรรมการซื้อขายโรงแรมเริ่มมีสูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีในอนาคต เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยจะยังคงมีนักลงทุนทั้งรายเก่าและใหม่ลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมีการพัฒนารูปแบบโรงแรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นหลังจากการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558”