“เวิร์คพอยท์” จัดทัพลุยดิจิตอลทีวีเต็มสูบ เล็งไว้ 2 ช่อง คือ วาไรตี้ -เด็กและครอบครัว เชื่อโควต้าช่องดิจิตอลเปลี่ยน แต่ผู้เล่นตัวจริงยังเท่าเดิม ไม่น่าจะส่งผลต่อการประมูล ชี้ราคาเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขัน ล่าสุดทุ่ม 100 ล้านบาท เพิ่ม 8 สตูดิโอรองรับ ส่วนรายการฟรีทีวียังคงโฟกัสเช่นเดิม
นายปัญญา นิรันดร์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามข้อมูลล่าสุดที่ทาง กสทช.ประกาศโควตาช่องดิจิตอลทีวีออกมาใหม่เป็น 3 ช่องเด็ก/ครอบครัว, 7 ช่องเอชดี, 7 ช่องวาไรตี้เอชดี, 7 ช่องข่าว จากเดิมที่เป็น 4 ช่องเอชดี, 10 ช่องวาไรตี้เอสดี, 5 ช่องข่าว และ 5 ช่องเด็กและครอบครัวนั้น
เมื่อมองถึงผู้เล่นหลักที่ต้องการเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวีในครั้งนี้ ถือเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับจำนวนช่องที่ปรับใหม่ จากปัจจุบันรายชื่อผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวี ประเภทช่องเด็ก/ครอบครัวมีอยู่ 6-7 ราย เช่น โรสมีเดียฯ, ช่อง 9 อสมท, แกรมมี่ เป็นต้น ดังนั้นจึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรือส่งผลเสียต่อแผนการประมูลช่องดิจิตอลในครั้งนี้แต่อย่างใด ในทางกลับกันยังคงเชื่อว่าราคาในการประมูลช่องดิจิตอลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการลงทุน รวมถึงความชัดเจนเกี่ยวกับค่าโครงข่ายด้วย
ในส่วนของเวิร์คพอยท์ได้มีการเตรียมการรับมือที่จะเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวีมาโดยตลอด ล่าสุดมีความสนใจเข้าร่วมประมูล 2 ช่อง คือ ช่องวาไรตี้ และช่องเด็ก/ครอบครัว โดยช่องวาไรตี้นั้น ต้องดูที่ราคาประมูลก่อนว่าจะทำในรูปแบบเอชดี หรือเอสดี ทั้งนี้ในช่องวาไรตี้จะเป็นการนำช่องเวิร์คพอยท์ทีวีที่ออกอากาศทางจานพีเอสไอในช่อง 7 มาทำ โดยเป็นการเข้าร่วมประมูลเอง ส่วนช่องเด็ก/ครอบครัว จะเป็นการนำเอาช่อง 6 ที่เป็นร่วมทุนกับทางพีเอสไอ ในนามบริษัท ฟรีไซซ์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เข้าร่วมประมูล ซึ่งปัจจุบันช่องดังกล่าวได้เริ่มทดลองออกอากาศทางช่อง6 ของจานพีเอสไอแล้วกว่า 10 วัน
ด้านนายสุรการ ศิริโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการลงทุน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า สำหรับงบการลงทุนดิจิตอลทีวีในครั้งนี้ ต้องรอดูราคาในการประมูลก่อนจึงจะสามารถบอกตัวเลขที่ชัดเจนได้ แต่เชื่อว่า หากตัวเลขการลงทุนที่ประมาณ 500 ล้านบาทกับช่องดิจิตอลทีวี 1 ช่อง ก็น่าจะคุ้มทุนได้ใน 3 ปี
ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ มีความพร้อมทางด้านกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่แล้ว 300-400 ล้านบาท อีกทั้งยังมีความพร้อมทางด้านสถานที่ บุคลากร สตูดิโอ ประสบการณ์และคอนเทนต์เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ซึ่งหากเม็ดเงินในครั้งนี้ไม่เพียงพอก็จะมีการเจรจากับทางสถาบันการเงินต่อไป และหากไม่สามารถประมูลได้ ก็จะโฟกัสทั้ง 2 ช่อง ในแพลตฟอร์มแซตเทิลไลต์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางบริษัทฯ เตรียมเม็ดเงินกว่า 100 ล้านบาทสำหรับขยายเพิ่มสตูดิโอใหม่อีก 8 สตูดิโอ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 สตูดิโอ บนพื้นที่เดิมของบริษัทที่ต้องใช้อีก 3 ไร่ รวมแล้วขณะนี้เวิร์คพอยท์มีพื้นที่รวมกว่า 25 ไร่ ซึ่งหากสามารถได้ช่องดิจิตอลทีวีจริงจะต้องมีการขยายสตูดิโออีก รวมถึงทรัพยากรบุคคลด้วย จากปัจจุบันบริษัทมีจำนวนพนักงานรวมทั้งสิ้นกว่า 500 คน และกว่า 60% เป็นครีเอทีฟ
นายปัญญากล่าวต่อว่า เม็ดเงินโฆษณาบนดิจิตอลทีวีน่าจะมีราคาที่อยู่ตรงกลางระหว่างฟรีทีวีและแซตเทิลไลต์ทีวี ในส่วนของเวิร์คพอยท์เชื่อว่าการแข่งขันของดิจิตอลทีวีจะเป็นการสร้างตลาดใหม่ นำคอนเทนต์ใหม่มาสู้กัน ดังนั้นจึงไม่มีการนำรายการจากฟรีทีวีที่ทำอยู่ลงมาในแพลตฟอร์มนี้แน่นอน จากปัจจุบันเวิร์คพอยท์มีรายการทางฟรีทีวีอยู่กว่า 17 รายการ และรับจ้างผลิตอีก 3 รายการ และสิ้นปี 2555 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวมราว 1,650 ล้านบาท ประกอบด้วย รายการทางฟรีทีวี 1,500 ล้านบาท และช่องเวิร์คพอยท์ทีวีทางแพลตฟอร์มจานพีเอสไออีก 150 ล้านบาท โดยในปีนี้มองว่าเฉพาะช่องเวิร์คพอยท์ทีวีน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปัจจุบันมีเรตติ้งช่องอยู่ในอันดับ 1 ของจานพีเอสไอ
นายปัญญา นิรันดร์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามข้อมูลล่าสุดที่ทาง กสทช.ประกาศโควตาช่องดิจิตอลทีวีออกมาใหม่เป็น 3 ช่องเด็ก/ครอบครัว, 7 ช่องเอชดี, 7 ช่องวาไรตี้เอชดี, 7 ช่องข่าว จากเดิมที่เป็น 4 ช่องเอชดี, 10 ช่องวาไรตี้เอสดี, 5 ช่องข่าว และ 5 ช่องเด็กและครอบครัวนั้น
เมื่อมองถึงผู้เล่นหลักที่ต้องการเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวีในครั้งนี้ ถือเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับจำนวนช่องที่ปรับใหม่ จากปัจจุบันรายชื่อผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวี ประเภทช่องเด็ก/ครอบครัวมีอยู่ 6-7 ราย เช่น โรสมีเดียฯ, ช่อง 9 อสมท, แกรมมี่ เป็นต้น ดังนั้นจึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรือส่งผลเสียต่อแผนการประมูลช่องดิจิตอลในครั้งนี้แต่อย่างใด ในทางกลับกันยังคงเชื่อว่าราคาในการประมูลช่องดิจิตอลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการลงทุน รวมถึงความชัดเจนเกี่ยวกับค่าโครงข่ายด้วย
ในส่วนของเวิร์คพอยท์ได้มีการเตรียมการรับมือที่จะเข้าร่วมประมูลช่องดิจิตอลทีวีมาโดยตลอด ล่าสุดมีความสนใจเข้าร่วมประมูล 2 ช่อง คือ ช่องวาไรตี้ และช่องเด็ก/ครอบครัว โดยช่องวาไรตี้นั้น ต้องดูที่ราคาประมูลก่อนว่าจะทำในรูปแบบเอชดี หรือเอสดี ทั้งนี้ในช่องวาไรตี้จะเป็นการนำช่องเวิร์คพอยท์ทีวีที่ออกอากาศทางจานพีเอสไอในช่อง 7 มาทำ โดยเป็นการเข้าร่วมประมูลเอง ส่วนช่องเด็ก/ครอบครัว จะเป็นการนำเอาช่อง 6 ที่เป็นร่วมทุนกับทางพีเอสไอ ในนามบริษัท ฟรีไซซ์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เข้าร่วมประมูล ซึ่งปัจจุบันช่องดังกล่าวได้เริ่มทดลองออกอากาศทางช่อง6 ของจานพีเอสไอแล้วกว่า 10 วัน
ด้านนายสุรการ ศิริโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการลงทุน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า สำหรับงบการลงทุนดิจิตอลทีวีในครั้งนี้ ต้องรอดูราคาในการประมูลก่อนจึงจะสามารถบอกตัวเลขที่ชัดเจนได้ แต่เชื่อว่า หากตัวเลขการลงทุนที่ประมาณ 500 ล้านบาทกับช่องดิจิตอลทีวี 1 ช่อง ก็น่าจะคุ้มทุนได้ใน 3 ปี
ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ มีความพร้อมทางด้านกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่แล้ว 300-400 ล้านบาท อีกทั้งยังมีความพร้อมทางด้านสถานที่ บุคลากร สตูดิโอ ประสบการณ์และคอนเทนต์เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ซึ่งหากเม็ดเงินในครั้งนี้ไม่เพียงพอก็จะมีการเจรจากับทางสถาบันการเงินต่อไป และหากไม่สามารถประมูลได้ ก็จะโฟกัสทั้ง 2 ช่อง ในแพลตฟอร์มแซตเทิลไลต์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางบริษัทฯ เตรียมเม็ดเงินกว่า 100 ล้านบาทสำหรับขยายเพิ่มสตูดิโอใหม่อีก 8 สตูดิโอ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 สตูดิโอ บนพื้นที่เดิมของบริษัทที่ต้องใช้อีก 3 ไร่ รวมแล้วขณะนี้เวิร์คพอยท์มีพื้นที่รวมกว่า 25 ไร่ ซึ่งหากสามารถได้ช่องดิจิตอลทีวีจริงจะต้องมีการขยายสตูดิโออีก รวมถึงทรัพยากรบุคคลด้วย จากปัจจุบันบริษัทมีจำนวนพนักงานรวมทั้งสิ้นกว่า 500 คน และกว่า 60% เป็นครีเอทีฟ
นายปัญญากล่าวต่อว่า เม็ดเงินโฆษณาบนดิจิตอลทีวีน่าจะมีราคาที่อยู่ตรงกลางระหว่างฟรีทีวีและแซตเทิลไลต์ทีวี ในส่วนของเวิร์คพอยท์เชื่อว่าการแข่งขันของดิจิตอลทีวีจะเป็นการสร้างตลาดใหม่ นำคอนเทนต์ใหม่มาสู้กัน ดังนั้นจึงไม่มีการนำรายการจากฟรีทีวีที่ทำอยู่ลงมาในแพลตฟอร์มนี้แน่นอน จากปัจจุบันเวิร์คพอยท์มีรายการทางฟรีทีวีอยู่กว่า 17 รายการ และรับจ้างผลิตอีก 3 รายการ และสิ้นปี 2555 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวมราว 1,650 ล้านบาท ประกอบด้วย รายการทางฟรีทีวี 1,500 ล้านบาท และช่องเวิร์คพอยท์ทีวีทางแพลตฟอร์มจานพีเอสไออีก 150 ล้านบาท โดยในปีนี้มองว่าเฉพาะช่องเวิร์คพอยท์ทีวีน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปัจจุบันมีเรตติ้งช่องอยู่ในอันดับ 1 ของจานพีเอสไอ