ที่ผ่านมาตลอดเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต เมื่อคุณเริ่มต้นในการจัดการปัญหาเรื่องเงินๆทองๆในชีวิตของคุณจนเริ่มหลุดพ้นจากภูเขาของหนี้สินในอดีต สามารถกลับเข้าที่เข้าทางได้ สิ่งที่ผมแนะนำไว้ก็คือ การมุ่งหน้าต่อไปเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และไปสู่เป้าหมายการมีอิสรภาพทางการเงินในบั้นปลายของชีวิต
ในการลงทุนเพื่อสร้างความั่งคั่งให้กับตัวเอง หลังจากเริ่มมีเม็ดเงินเพียงพอที่จะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น โดยการมองหาทางเลือกในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
ทั้งสินทรัพย์ประเภทที่จับต้องได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ อัญมณี ภาพเขียน นาฬิกา รถโบราณ หรือแม้แต่ พระเครื่อง หรือ สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีตั้งแต่ เงินฝากประจำ สลากออมสิน พันธบัตร หุ้น กองทุนรวม เงินตราต่างประเทศ ไปจนถึงตราสารอนุพันธ์
อย่างไรก็ตามบนโลกแห่งการลงทุน ซึ่งมีเรื่องของผลตอบแทน และความเสี่ยง เป็นของคู่กัน ทำให้เกิดทฤษฎีการกระจายความเสี่ยง โดยการจัดสรรสัดส่วนการลงทุน หรือ Asset Allocation ซึ่งเรามักจะมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ภายใต้ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน
นอกเหนือไปจากสินทรัพย์ทางการเงินที่เราได้ให้แนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาตัดสินใจเลือกลงทุนไปแล้ว สินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และ มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆว่า สมควรจะลงทุนหรือไม่ก็คือ “ทองคำ”
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด จนสามารถทะยานขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 1,268 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ เมื่อกลางปี 2553 ที่ผ่านมา
หลังจากนั้นราคาก็แกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆมาโดยตลอด ภายใต้การคาดการณ์ว่าในอนาคตอันไม่ไกล ราคาทองคำน่าจะมีสิทธิ์วิ่งขึ้นไปได้ถึงระดับ 1,300 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาในเมืองไทยก็น่าจะขึ้นไปถึงระดับบาทละ 20,000 บาท
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา หรือเพื่อกระจายความเสี่ยงในการถือครองตราสารอื่นๆ โดยเฉพาะหุ้น การลงทุนในทองคำคือตัวเลือกชั้นดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมของคุณ เนื่องจากมีโอกาสในการได้กำไรจากส่วนต่างของราคาพอสมควร เมื่อมองภาพในระยะกลางและระยะยาว
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่แสนจะธรรมดาก็คือ เพราะปัจจุบัน และอนาคต ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างความต้องการของทองคำที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนที่มีการเก็งกำไร
ไม่น่าเชื่อนะครับภายในเวลาเพียง 5 ปี ราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นมาจากระดับ 475 เหรียญ ขึ้นมาสูงถึงระดับ 1,228 -1,230 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า เห็นได้จากกราฟที่ไต่ขึ้นมาโดยตลอด
เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำยังมีแนวโน้มเป็น “ขาขึ้น” ก็เนื่องมาจาก ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจโลก ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงินและการคลังของบรรดาประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ทำให้ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงมีความสำคัญที่ธนาคารชาติของทุกประเทศต้องเก็บรักษาเพิ่มขึ้นไว้ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เมื่อเทียบกับ เงินเหรียญ หรือ พันธบัตรของสหรัฐฯ ที่ถูกด้อยค่าลง และถูกลดน้ำหนักลงเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน บรรดากองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ และบริษัทประกันขนาดใหญ่ของโลก ก็เริ่มหันมาให้น้ำหนักกับการลงทุนในทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธรรมชาติของทองคำที่เป็น Safe-haven สำหรับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีความผันผวนในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าโภคภัณฑ์ตัวอื่น รวมถึงสินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ เช่น ตลาดหุ้น
ที่สำคัญอีกอย่าง ทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงที่ดี เมื่อดูจากความสัมพันธ์ของราคาทองคำเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ จะเห็นว่าบ่อยครั้งราคามีทิศทางที่สวนทางกัน เช่น ราคาหุ้น และ ค่าเงินดอลล่าร์
ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากการที่เศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียในหลายๆประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น ก็ทำให้มีความต้องการทองคำไปใช้เป็นเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจีน อินเดีย และ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
เมื่อได้เห็นภาพอย่างนี้แล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ทองคำ คือ สินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ เราควรจะลงทุนสะสมเอาไว้ในพอร์ตการลงทุนเพื่อความมั่งคั่ง โดยอาจจะซื้อไว้ในรูปของทองแท่ง มากกว่าซื้อเป็น ทองรูปพรรณ เพราะไม่ต้องเสียค่ากำเหน็จ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นอกจากนี้ ยังอาจจะซื้อในลักษณะของ หน่วยลงทุน ในกองทุนรวม ที่มีการออกแบบมาช่วยให้ผู้ที่อยากลงทุนในทองคำได้รับความสะดวก และไม่จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินที่ละมากๆ สามารถที่จะซื้อเฉลี่ยสะสมไปได้เรื่อยๆ ผ่านบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งกองทุนนี้จะนำเงินไปลงทุนซื้อขายทองคำในตลาดต่างประเทศ
สำหรับสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในทองคำนั้น ก็น่าจะสามารถวิ่งขึ้นลงได้ตั้งแต่ระดับ 5-8 % ของพอร์ตการลงทุนของแต่ละคน
ส่วนการลงทุนในตลาดตารสารอนุพันธ์ Gold Future นั้น ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการเปิดให้ซื้อขายล่วงหน้าได้ ทั้งขนาดสัญญา 50 บาท และ 10 บาท แต่เนื่องจาก การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินสูง ต้องใช้เวลาติดตามความเคลื่อนไหวตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค และที่สำคัญคือ ต้องมีขนาดของ “หัวใจ” ใหญ่พอสมควร จึงอาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่หัดขับสักเท่าไรนัก
คงเป็นอย่างที่โบราณเขาว่าไว้ “มีเงินเขานับเป็นน้อง มีทองเขานับเป็นพี่” แต่ผมว่าถ้าจะให้ดีที่สุด ก็มีมันไว้ทั้งเงินทั้งทองนั่นแหละครับ
ในการลงทุนเพื่อสร้างความั่งคั่งให้กับตัวเอง หลังจากเริ่มมีเม็ดเงินเพียงพอที่จะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น โดยการมองหาทางเลือกในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
ทั้งสินทรัพย์ประเภทที่จับต้องได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ อัญมณี ภาพเขียน นาฬิกา รถโบราณ หรือแม้แต่ พระเครื่อง หรือ สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีตั้งแต่ เงินฝากประจำ สลากออมสิน พันธบัตร หุ้น กองทุนรวม เงินตราต่างประเทศ ไปจนถึงตราสารอนุพันธ์
อย่างไรก็ตามบนโลกแห่งการลงทุน ซึ่งมีเรื่องของผลตอบแทน และความเสี่ยง เป็นของคู่กัน ทำให้เกิดทฤษฎีการกระจายความเสี่ยง โดยการจัดสรรสัดส่วนการลงทุน หรือ Asset Allocation ซึ่งเรามักจะมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ภายใต้ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน
นอกเหนือไปจากสินทรัพย์ทางการเงินที่เราได้ให้แนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาตัดสินใจเลือกลงทุนไปแล้ว สินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และ มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆว่า สมควรจะลงทุนหรือไม่ก็คือ “ทองคำ”
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด จนสามารถทะยานขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 1,268 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ เมื่อกลางปี 2553 ที่ผ่านมา
หลังจากนั้นราคาก็แกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆมาโดยตลอด ภายใต้การคาดการณ์ว่าในอนาคตอันไม่ไกล ราคาทองคำน่าจะมีสิทธิ์วิ่งขึ้นไปได้ถึงระดับ 1,300 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาในเมืองไทยก็น่าจะขึ้นไปถึงระดับบาทละ 20,000 บาท
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา หรือเพื่อกระจายความเสี่ยงในการถือครองตราสารอื่นๆ โดยเฉพาะหุ้น การลงทุนในทองคำคือตัวเลือกชั้นดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมของคุณ เนื่องจากมีโอกาสในการได้กำไรจากส่วนต่างของราคาพอสมควร เมื่อมองภาพในระยะกลางและระยะยาว
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบที่แสนจะธรรมดาก็คือ เพราะปัจจุบัน และอนาคต ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างความต้องการของทองคำที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนที่มีการเก็งกำไร
ไม่น่าเชื่อนะครับภายในเวลาเพียง 5 ปี ราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นมาจากระดับ 475 เหรียญ ขึ้นมาสูงถึงระดับ 1,228 -1,230 เหรียญ ต่อ ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 เท่า เห็นได้จากกราฟที่ไต่ขึ้นมาโดยตลอด
เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำยังมีแนวโน้มเป็น “ขาขึ้น” ก็เนื่องมาจาก ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจโลก ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงินและการคลังของบรรดาประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ทำให้ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงมีความสำคัญที่ธนาคารชาติของทุกประเทศต้องเก็บรักษาเพิ่มขึ้นไว้ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เมื่อเทียบกับ เงินเหรียญ หรือ พันธบัตรของสหรัฐฯ ที่ถูกด้อยค่าลง และถูกลดน้ำหนักลงเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน บรรดากองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ และบริษัทประกันขนาดใหญ่ของโลก ก็เริ่มหันมาให้น้ำหนักกับการลงทุนในทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากธรรมชาติของทองคำที่เป็น Safe-haven สำหรับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีความผันผวนในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าโภคภัณฑ์ตัวอื่น รวมถึงสินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ เช่น ตลาดหุ้น
ที่สำคัญอีกอย่าง ทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงที่ดี เมื่อดูจากความสัมพันธ์ของราคาทองคำเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ จะเห็นว่าบ่อยครั้งราคามีทิศทางที่สวนทางกัน เช่น ราคาหุ้น และ ค่าเงินดอลล่าร์
ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากการที่เศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียในหลายๆประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น ก็ทำให้มีความต้องการทองคำไปใช้เป็นเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจีน อินเดีย และ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
เมื่อได้เห็นภาพอย่างนี้แล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ทองคำ คือ สินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ เราควรจะลงทุนสะสมเอาไว้ในพอร์ตการลงทุนเพื่อความมั่งคั่ง โดยอาจจะซื้อไว้ในรูปของทองแท่ง มากกว่าซื้อเป็น ทองรูปพรรณ เพราะไม่ต้องเสียค่ากำเหน็จ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นอกจากนี้ ยังอาจจะซื้อในลักษณะของ หน่วยลงทุน ในกองทุนรวม ที่มีการออกแบบมาช่วยให้ผู้ที่อยากลงทุนในทองคำได้รับความสะดวก และไม่จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินที่ละมากๆ สามารถที่จะซื้อเฉลี่ยสะสมไปได้เรื่อยๆ ผ่านบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งกองทุนนี้จะนำเงินไปลงทุนซื้อขายทองคำในตลาดต่างประเทศ
สำหรับสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในทองคำนั้น ก็น่าจะสามารถวิ่งขึ้นลงได้ตั้งแต่ระดับ 5-8 % ของพอร์ตการลงทุนของแต่ละคน
ส่วนการลงทุนในตลาดตารสารอนุพันธ์ Gold Future นั้น ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการเปิดให้ซื้อขายล่วงหน้าได้ ทั้งขนาดสัญญา 50 บาท และ 10 บาท แต่เนื่องจาก การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินสูง ต้องใช้เวลาติดตามความเคลื่อนไหวตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค และที่สำคัญคือ ต้องมีขนาดของ “หัวใจ” ใหญ่พอสมควร จึงอาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่หัดขับสักเท่าไรนัก
คงเป็นอย่างที่โบราณเขาว่าไว้ “มีเงินเขานับเป็นน้อง มีทองเขานับเป็นพี่” แต่ผมว่าถ้าจะให้ดีที่สุด ก็มีมันไว้ทั้งเงินทั้งทองนั่นแหละครับ