ถึงแม้ว่าวิถีชีวิตของผู้คนยุคใหม่ มักจะมีครอบครัวช้า สำหรับบางคู่อาจจะไม่มีแผนที่จะมีเจ้าตัวน้อยเอาไว้เชยชม แต่หลายๆคู่เมื่อมีครอบครัวแล้ว ก็อยากมีลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจ
เพราะอย่างนี้ชนชั้นกลางในยุคสมัยนี้ เมื่อมีลูกก็มักจะแปลงสภาพลูกของตัวเองให้กลายร่างเป็น “เทวดาตัวน้อย” ในบ้าน เป็นเสมือน “แก้วตาดวงใจ” ของทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ถึงขนาดที่บางคู่ต้องมีการเตรียมการวางแผนชีวิตไว้ให้ลูกเสร็จสรรพ ตั้งแต่เขายังไม่ได้ลืมตาดูโลกกันเลยทีเดียว
การเตรียมการเกี่ยวกับเรื่องกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับลูกๆของพวกคุณหลายคนๆจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ
มันเป็นความจริงทีแสนเจ็บปวดที่บรรดาคุณพ่อคุณแม่จะต้องลงทุนไปกับการศึกษาของลูกๆตั้งแต่เด็กจนจบได้ปริญญาด้วยเม็ดเงินมหาศาล และบางครั้งยังอาจจะต้องสงเสียต่อถึงขั้นปริญญาโท หรือ เอก เพียงเพราะเราอยู่บนพื้นฐานค่านิยมผิดๆ ที่เชื่อว่าประกาศนียบัตร หรือ ปริญญา คือใบเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ และการสร้างความมั่งคั่งในชีวิตของพวกเขา
ทั้งๆที่ลึกๆแล้ว เราก็ตระหนักดีว่า ปริญญาบัตรไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จอย่างแท้จริง พวกเราต่างรู้จักกับคนที่ล้มเหลวในชีวิต หางานทำไม่ได้ จนต้องพึ่งพาพ่อแม่ไปทั้งชีวิต ทั้งๆที่มีดีกรีพ่วงท้ายมากมาก ในขณะที่บางคนประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งๆที่ไม่ได้ปริญญาบัตรใดๆ
ถึงแม้ไม่มีใครปฏิเสธว่า คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมักจะทำงานได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่ไม่จบปริญญาพอสมควร แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามศึกษาและสอบถามปูมหลังของผู้คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ผลลัพธ์ที่ออกมา ยังคงเป็นไปตามกฏ 80-20 คือมีเพียง 20% ที่ยอมรับว่าความสำเร็จที่พวกเขามีในวันนี้มาจากการศึกษาในชั้นเรียน ในขณะที่อีก 80% เชื่อว่าความสำเร็จที่พวกเขาได้รับมาจาก ทัศนคติการมองชีวิต ความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์ และประสบการณ์นอกห้องเรียนมากกว่า
ขณะเดียวกันในสังคมระบบอุปถัมภ์แบบไทยๆ ผู้ปกครองอีกจำนวนหนี่งก็ยังคงความเชื่อที่ว่า การส่งเสียให้เทวดาตัวน้อยๆของคุณได้มีโอกาสเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง อาจจะมีส่วนช่วยในการสร้าง สายสัมพันธ์(Connection) ในอนาคต ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่เคยคิดไหมครับว่า หากต้นทุนแห่งการสร้างสายสัมพันธ์นั้น ต้องแลกมาด้วยหนี้ก้อนโต ก็คงเป็นสิ่งที่ไม่น่าพิศมัยเท่าไร
ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับว่า การศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด แต่ผมไม่อยากให้คุณคาดหวังกับปริญญาบัตรมากจนเกินไปนัก โดยเฉพาะในระบบการศึกษาแบบท่องจำ และเต็มไปด้วยการสอบวัดผลที่ไร้สาระของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีผู้ใหญ่บางคนเคยปรารภกับผมว่า มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่บรรดาผู้ปกครองต้องหมดเงินทองลงทุนไปกับการศึกษาของลูกตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนจบปริญญาตรีเป็นเม็ดเงินมหาศาล เพียงเพื่อให้พวกเขาจบมาทำงานโดยได้เงินเดือนเพียงหมื่นบาทต้นๆ
แต่ไม่ว่าผมจะพร่ำเตือนคุณอย่างไร ก็คงมีไม่กี่คนที่จะตระหนักและยอมรับความจริงในเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นการวิ่งเต้น ยอมจ่ายค่าบำรุง หรือบริจาคเงินทอง กันมากมายเพื่อส่งลูกเข้าเรียนในสถานการศึกษาชั้นนำกันต่อไป
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีผู้ปกครองอีกจำนวนหนึ่งที่อาจะหมดหวังกับระบบการศึกษาไทย หันไปส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศแทนจนกลายเป็นแฟชั่น ซึ่งยิ่งมีต้นทุนในการลงทุนที่หนักหนาสาหัสมากขึ้นไปอีก
มีใครเคยฉุกคิดไหมครับว่า การดิ้นรนด้วยความยากลำบาก เพียงเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่เยี่ยมที่สุดในสายตาของคุณทั้งนั้น มันตอบโจทย์สำหรับลูกของคุณ หรือ จริงๆแล้ว เพียงคุณต้องการให้ครอบครัวของคุณ ”ดูดี” ในสายตาคนอื่น
ทำไมไม่ลองเปลี่ยนทัศนคติ หันมาให้ความสำคัญกับหล่อหลอมให้ลูกๆของคุณเข้าใจถึงความสำคัญ ในการจัดการเรื่องเงินๆทองๆเสียตั้งแต่เล็กๆ แทนที่จะ“เลี้ยงลูกด้วยเงิน” ประเคนในสิ่งต่างๆให้กับลูกๆของคุณ เพียงเพื่อชดเชยสิ่งที่ตัวเองไม่เคยได้รับในอดีต จนบางคนประคบประหงมเสียจนพวกเขาไม่มีภูมิต้านทานด้านการเงินเอาเสียเลย
มาถึงตรงนี้ไม่ใช่ผมไม่เห็นความสำคัญกับเรื่องของการศึกษานะครับ เพียงแต่ต้องการจะกระตุกให้พวกเราอย่าตกเป็น ”เหยื่อ” ของอดีตที่มันตามมาหลอกหลอนพวกเรา จนทำให้ในอนาคตเราจะมีแต่คนรุ่นใหม่ที่ขาดแรงต้านทานต่อความยากลำบาก และหันไปไขว่คว้าหา“เส้นทางลัด” ที่จะประสบความสำเร็จแบบฉาบฉวย
หากคุณสามารถเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้สำเร็จ ต้นทุนของการให้การศึกษาของลูกๆของคุณมันก็จะอยู่ในระดับที่คุณสามารถจัดการได้ไม่ยากนัก
เริ่มต้นจากการวางแผนประมาณการค่าใช้จ่ายในของเทวดาตัวน้อยๆของคุณเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี ซึ่งตามปกติแล้วมันจะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามระดับการศึกษาของพวกเขา
ปัญหาก็คือ อะไรจะสำคัญกว่ากัน ระหว่างการสร้าง “กองทุนเพื่อวัยเกษียณ” “กองทุนเพื่อความมั่งคั่ง” และ “กองทุนเพื่อการศึกษา”
คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่า ลูกสำคัญที่สุดในชีวิต แต่สำหรับผมอยากแนะนำให้คุณรักษา กองทุนเพื่อวัยเกษียณของคุณเอาไว้ก่อน และหันมาปรับแผนชะลอการสร้าง “กองทุนเพื่อความั่งคั่ง” เอาไว้สักระยะหนึ่งในช่วงที่เทวดาตัวน้อยๆของคุณยังอยู่ในวัยซุกซน ไม่มีค่าใช้จ่ายในชีวิต หรือค่าเทอมหนักหนาสาหัสมากนัก
ลองเปลี่ยนมานำเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นหลังจากลงทุนในการสร้างกองทุนวัยเกษียณ แบ่งออกเป็นสองกอง กองหนึ่งลงทุนตามแผนเดิม คือการสร้าง “กองทุนเพื่อความมั่งคั่ง” แต่แบ่งเม็ดเงินอีกครึ่งหนึ่ง ไปลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกๆเดือนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund) ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่เน้นการเจริญเติบโต (Growth Stock) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงพอสมควร และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และทะยอยขายออกมาเมื่อครอบอายุ 5 ปีปฏิทิน (3 ปีเศษๆ) เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกน้อยของคุณ ไปจนพวกเขาเรียนจบระดับมัธยมปลาย หรือ High School
สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งต้องใช้เงินมากขึ้นตามวัยเจริญพันธุ์ของพวกเขา ผมเสนอให้ใช้กลยุทธ์ 3 ประสาน เพื่อไม่ทำให้คุณต้องแบกภาระทางการเงินจนมากเกินไป
ไม่มีใครปฏิเสธว่า ทุกวันนี้ต้นทุนในการศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นสูงจนน่าตกใจ และอาจทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากต้องนอนก่ายหน้าผาก คิดหาทุกวิถีทางที่จะส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบ
ในกรณีที่คุณเริ่มคิดเรื่องนี้ช้าไปหน่อย หรือมีเงิน“กองทุนเพื่อการศึกษา” ที่เตรียมไว้ไม่มากพอ แทนที่จะดิ้นรนไปเป็นหนี้เป็นสิน คุณอาจจำเป็นต้องนั่งคุยกับลูกของคุณให้เขาเข้าใจสถานการณ์การเงินที่แท้จริงของคุณ
บรรดาผู้ปกครองยุคใหม่ควรใช้ความใกล้ชิด ในการทำให้ลูกๆของคุณเข้าใจถึงทางเลือกในการศึกษาที่มีอย่างหลากหลายในปัจจุบัน
ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรอกครับ หากคุณและลูกๆจะร่วมกันในการวางแผนเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ช่วยกันลองค้นหาทุนการศึกษาจากหลากหลายองค์กร เพราะมันอาจช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของคุณไปได้พอสมควร
บางทีอาจจะถึงเวลาสำหรับคนในยุคของพวกเราที่จะต้องเริ่มปลูกฝังค่านิยมใหม่ๆให้กับลูกๆ ให้พวกเขาได้เข้าใจว่า การศึกษาในระดัมมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งจำเป็นก็จริง แต่มันก็เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จในชีวิตเท่านั้น
ในเวลาเดียวกัน แทนที่จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก หรือเข้าแคมป์ช่วงปิดเทอม ที่มีแต่รายจ่าย คุณอาจจะต้องหว่านล้อมให้เขาคิดถึงการสร้างรายได้ เพื่ออนาคตของตัวเองไปพร้อมๆกับคุณ
จะดีแค่ไหน หากเขาจะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของตัวเอง เพียงแค่คุณกระตุ้นให้เขารู้จักใช้เวลาว่าง ในการทำงานพิเศษในช่วงปิดเทอม เพื่อเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน เพราะการทำงานจะสอนให้เขารู้จักถึงความขยัน อดทน การทำงานร่วมกับผู้อื่น ขณะเดียวกันก็จะทำให้เขาสัมผัสโลกแห่งความเป็นจริงที่แตกต่างจากห้องเรียน
ที่สำคัญมันจะทำให้เขาเห็นคุณค่าของเงินอย่างแท้จริง และรู้จักการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตของเขาเองมากขึ้น
จากประสบการณ์ของผม การฝึกงานในช่วงปิดเทอม คือช่วงเวลาที่แสนมีค่าที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ในการกำหนดเส้นทางชีวิตในเวลาต่อมา ในขณะที่มีเด็กฝึกงานจำนวนไม่น้อยที่ผมรับเข้ามาฝึกงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สามารถเปลี่ยนสภาพมาเป็นพนักงานประจำได้ หากเขาสามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร
หากคุณทดลองตามคำแนะนำของผม คุณก็น่าจะสามารถส่งเทวดาตัวน้อยๆของคุณให้เรียนจนจบปริญญาตรีได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาให้เป็นปัญหาในอนาคต แถมยังทำให้เขาโตขึ้นมาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน ที่จะช่วยสร้างชาติในอนาคตอีกด้วย
เพราะอย่างนี้ชนชั้นกลางในยุคสมัยนี้ เมื่อมีลูกก็มักจะแปลงสภาพลูกของตัวเองให้กลายร่างเป็น “เทวดาตัวน้อย” ในบ้าน เป็นเสมือน “แก้วตาดวงใจ” ของทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ถึงขนาดที่บางคู่ต้องมีการเตรียมการวางแผนชีวิตไว้ให้ลูกเสร็จสรรพ ตั้งแต่เขายังไม่ได้ลืมตาดูโลกกันเลยทีเดียว
การเตรียมการเกี่ยวกับเรื่องกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับลูกๆของพวกคุณหลายคนๆจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ
มันเป็นความจริงทีแสนเจ็บปวดที่บรรดาคุณพ่อคุณแม่จะต้องลงทุนไปกับการศึกษาของลูกๆตั้งแต่เด็กจนจบได้ปริญญาด้วยเม็ดเงินมหาศาล และบางครั้งยังอาจจะต้องสงเสียต่อถึงขั้นปริญญาโท หรือ เอก เพียงเพราะเราอยู่บนพื้นฐานค่านิยมผิดๆ ที่เชื่อว่าประกาศนียบัตร หรือ ปริญญา คือใบเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ และการสร้างความมั่งคั่งในชีวิตของพวกเขา
ทั้งๆที่ลึกๆแล้ว เราก็ตระหนักดีว่า ปริญญาบัตรไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จอย่างแท้จริง พวกเราต่างรู้จักกับคนที่ล้มเหลวในชีวิต หางานทำไม่ได้ จนต้องพึ่งพาพ่อแม่ไปทั้งชีวิต ทั้งๆที่มีดีกรีพ่วงท้ายมากมาก ในขณะที่บางคนประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งๆที่ไม่ได้ปริญญาบัตรใดๆ
ถึงแม้ไม่มีใครปฏิเสธว่า คนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมักจะทำงานได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่ไม่จบปริญญาพอสมควร แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามศึกษาและสอบถามปูมหลังของผู้คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ผลลัพธ์ที่ออกมา ยังคงเป็นไปตามกฏ 80-20 คือมีเพียง 20% ที่ยอมรับว่าความสำเร็จที่พวกเขามีในวันนี้มาจากการศึกษาในชั้นเรียน ในขณะที่อีก 80% เชื่อว่าความสำเร็จที่พวกเขาได้รับมาจาก ทัศนคติการมองชีวิต ความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์ และประสบการณ์นอกห้องเรียนมากกว่า
ขณะเดียวกันในสังคมระบบอุปถัมภ์แบบไทยๆ ผู้ปกครองอีกจำนวนหนี่งก็ยังคงความเชื่อที่ว่า การส่งเสียให้เทวดาตัวน้อยๆของคุณได้มีโอกาสเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง อาจจะมีส่วนช่วยในการสร้าง สายสัมพันธ์(Connection) ในอนาคต ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่เคยคิดไหมครับว่า หากต้นทุนแห่งการสร้างสายสัมพันธ์นั้น ต้องแลกมาด้วยหนี้ก้อนโต ก็คงเป็นสิ่งที่ไม่น่าพิศมัยเท่าไร
ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับว่า การศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด แต่ผมไม่อยากให้คุณคาดหวังกับปริญญาบัตรมากจนเกินไปนัก โดยเฉพาะในระบบการศึกษาแบบท่องจำ และเต็มไปด้วยการสอบวัดผลที่ไร้สาระของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีผู้ใหญ่บางคนเคยปรารภกับผมว่า มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่บรรดาผู้ปกครองต้องหมดเงินทองลงทุนไปกับการศึกษาของลูกตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนจบปริญญาตรีเป็นเม็ดเงินมหาศาล เพียงเพื่อให้พวกเขาจบมาทำงานโดยได้เงินเดือนเพียงหมื่นบาทต้นๆ
แต่ไม่ว่าผมจะพร่ำเตือนคุณอย่างไร ก็คงมีไม่กี่คนที่จะตระหนักและยอมรับความจริงในเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นการวิ่งเต้น ยอมจ่ายค่าบำรุง หรือบริจาคเงินทอง กันมากมายเพื่อส่งลูกเข้าเรียนในสถานการศึกษาชั้นนำกันต่อไป
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น มีผู้ปกครองอีกจำนวนหนึ่งที่อาจะหมดหวังกับระบบการศึกษาไทย หันไปส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศแทนจนกลายเป็นแฟชั่น ซึ่งยิ่งมีต้นทุนในการลงทุนที่หนักหนาสาหัสมากขึ้นไปอีก
มีใครเคยฉุกคิดไหมครับว่า การดิ้นรนด้วยความยากลำบาก เพียงเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่เยี่ยมที่สุดในสายตาของคุณทั้งนั้น มันตอบโจทย์สำหรับลูกของคุณ หรือ จริงๆแล้ว เพียงคุณต้องการให้ครอบครัวของคุณ ”ดูดี” ในสายตาคนอื่น
ทำไมไม่ลองเปลี่ยนทัศนคติ หันมาให้ความสำคัญกับหล่อหลอมให้ลูกๆของคุณเข้าใจถึงความสำคัญ ในการจัดการเรื่องเงินๆทองๆเสียตั้งแต่เล็กๆ แทนที่จะ“เลี้ยงลูกด้วยเงิน” ประเคนในสิ่งต่างๆให้กับลูกๆของคุณ เพียงเพื่อชดเชยสิ่งที่ตัวเองไม่เคยได้รับในอดีต จนบางคนประคบประหงมเสียจนพวกเขาไม่มีภูมิต้านทานด้านการเงินเอาเสียเลย
มาถึงตรงนี้ไม่ใช่ผมไม่เห็นความสำคัญกับเรื่องของการศึกษานะครับ เพียงแต่ต้องการจะกระตุกให้พวกเราอย่าตกเป็น ”เหยื่อ” ของอดีตที่มันตามมาหลอกหลอนพวกเรา จนทำให้ในอนาคตเราจะมีแต่คนรุ่นใหม่ที่ขาดแรงต้านทานต่อความยากลำบาก และหันไปไขว่คว้าหา“เส้นทางลัด” ที่จะประสบความสำเร็จแบบฉาบฉวย
หากคุณสามารถเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้สำเร็จ ต้นทุนของการให้การศึกษาของลูกๆของคุณมันก็จะอยู่ในระดับที่คุณสามารถจัดการได้ไม่ยากนัก
เริ่มต้นจากการวางแผนประมาณการค่าใช้จ่ายในของเทวดาตัวน้อยๆของคุณเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี ซึ่งตามปกติแล้วมันจะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามระดับการศึกษาของพวกเขา
ปัญหาก็คือ อะไรจะสำคัญกว่ากัน ระหว่างการสร้าง “กองทุนเพื่อวัยเกษียณ” “กองทุนเพื่อความมั่งคั่ง” และ “กองทุนเพื่อการศึกษา”
คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่า ลูกสำคัญที่สุดในชีวิต แต่สำหรับผมอยากแนะนำให้คุณรักษา กองทุนเพื่อวัยเกษียณของคุณเอาไว้ก่อน และหันมาปรับแผนชะลอการสร้าง “กองทุนเพื่อความั่งคั่ง” เอาไว้สักระยะหนึ่งในช่วงที่เทวดาตัวน้อยๆของคุณยังอยู่ในวัยซุกซน ไม่มีค่าใช้จ่ายในชีวิต หรือค่าเทอมหนักหนาสาหัสมากนัก
ลองเปลี่ยนมานำเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นหลังจากลงทุนในการสร้างกองทุนวัยเกษียณ แบ่งออกเป็นสองกอง กองหนึ่งลงทุนตามแผนเดิม คือการสร้าง “กองทุนเพื่อความมั่งคั่ง” แต่แบ่งเม็ดเงินอีกครึ่งหนึ่ง ไปลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกๆเดือนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund) ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่เน้นการเจริญเติบโต (Growth Stock) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงพอสมควร และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และทะยอยขายออกมาเมื่อครอบอายุ 5 ปีปฏิทิน (3 ปีเศษๆ) เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียนของลูกน้อยของคุณ ไปจนพวกเขาเรียนจบระดับมัธยมปลาย หรือ High School
สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งต้องใช้เงินมากขึ้นตามวัยเจริญพันธุ์ของพวกเขา ผมเสนอให้ใช้กลยุทธ์ 3 ประสาน เพื่อไม่ทำให้คุณต้องแบกภาระทางการเงินจนมากเกินไป
ไม่มีใครปฏิเสธว่า ทุกวันนี้ต้นทุนในการศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นสูงจนน่าตกใจ และอาจทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากต้องนอนก่ายหน้าผาก คิดหาทุกวิถีทางที่จะส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบ
ในกรณีที่คุณเริ่มคิดเรื่องนี้ช้าไปหน่อย หรือมีเงิน“กองทุนเพื่อการศึกษา” ที่เตรียมไว้ไม่มากพอ แทนที่จะดิ้นรนไปเป็นหนี้เป็นสิน คุณอาจจำเป็นต้องนั่งคุยกับลูกของคุณให้เขาเข้าใจสถานการณ์การเงินที่แท้จริงของคุณ
บรรดาผู้ปกครองยุคใหม่ควรใช้ความใกล้ชิด ในการทำให้ลูกๆของคุณเข้าใจถึงทางเลือกในการศึกษาที่มีอย่างหลากหลายในปัจจุบัน
ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรอกครับ หากคุณและลูกๆจะร่วมกันในการวางแผนเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ช่วยกันลองค้นหาทุนการศึกษาจากหลากหลายองค์กร เพราะมันอาจช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของคุณไปได้พอสมควร
บางทีอาจจะถึงเวลาสำหรับคนในยุคของพวกเราที่จะต้องเริ่มปลูกฝังค่านิยมใหม่ๆให้กับลูกๆ ให้พวกเขาได้เข้าใจว่า การศึกษาในระดัมมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งจำเป็นก็จริง แต่มันก็เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จในชีวิตเท่านั้น
ในเวลาเดียวกัน แทนที่จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก หรือเข้าแคมป์ช่วงปิดเทอม ที่มีแต่รายจ่าย คุณอาจจะต้องหว่านล้อมให้เขาคิดถึงการสร้างรายได้ เพื่ออนาคตของตัวเองไปพร้อมๆกับคุณ
จะดีแค่ไหน หากเขาจะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของตัวเอง เพียงแค่คุณกระตุ้นให้เขารู้จักใช้เวลาว่าง ในการทำงานพิเศษในช่วงปิดเทอม เพื่อเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน เพราะการทำงานจะสอนให้เขารู้จักถึงความขยัน อดทน การทำงานร่วมกับผู้อื่น ขณะเดียวกันก็จะทำให้เขาสัมผัสโลกแห่งความเป็นจริงที่แตกต่างจากห้องเรียน
ที่สำคัญมันจะทำให้เขาเห็นคุณค่าของเงินอย่างแท้จริง และรู้จักการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคตของเขาเองมากขึ้น
จากประสบการณ์ของผม การฝึกงานในช่วงปิดเทอม คือช่วงเวลาที่แสนมีค่าที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ในการกำหนดเส้นทางชีวิตในเวลาต่อมา ในขณะที่มีเด็กฝึกงานจำนวนไม่น้อยที่ผมรับเข้ามาฝึกงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สามารถเปลี่ยนสภาพมาเป็นพนักงานประจำได้ หากเขาสามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร
หากคุณทดลองตามคำแนะนำของผม คุณก็น่าจะสามารถส่งเทวดาตัวน้อยๆของคุณให้เรียนจนจบปริญญาตรีได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาให้เป็นปัญหาในอนาคต แถมยังทำให้เขาโตขึ้นมาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน ที่จะช่วยสร้างชาติในอนาคตอีกด้วย