ดัชมิลล์ทุ่ม 300 ล้านบาทระเบิดศึกนมสดพาสเจอไรซ์ ส่ง “ตูน บอดี้สแลม” ขึ้นแท่นพรีเซ็นเตอร์ ไล่บี้ เมจิ เจ้าตลาด หวังยกระดับมาตรฐานสินค้ารับมือเออีซี มั่นใจส่งรายได้รวมปีนี้โต 2 หลัก ขยับส่วนแบ่งตลาดได้อีก 2 จุด จากปีก่อนมีแชร์รวมที่ 23%
นางสาวสุพัชรมณี ศรีวลี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมแบรนด์ดัชมิลล์ เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทยังพร้อมเดินหน้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการเปิดตัวสู่ตลาดไปแล้ว 3 รายการ คือ ดีน่า บริ๊งค์, ดัชมิลล์ เชอร์รี-มัลเบอร์รี, ดีมอลต์ทริปเปิลทรีพลัส และล่าสุดได้เปิดตัวนมสดพาสเจอไรซ์ ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด มาตรฐาน GMP 100%
โดยในส่วนของ ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ได้ทุ่มงบการตลาดกว่า 300 ล้านบาท สำหรับการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการดึง ตูน บอดี้สแลม เข้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เนื่องจากตรงกับคาแรกเตอร์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยกระดับมาตรฐานขึ้นไปอีกครั้ง โดยตูนถือเป็นตัวแทนกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่มาตรฐานและสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าให้กับตนเองเช่นเดียวกัน มั่นใจว่าจะช่วยดันรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอไรซ์โตขึ้นอีก 30% หรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดกลุ่มนมสดพาสเจอไรซ์มูลค่า 6,500 ล้านบาท เป็น 25% ให้ได้ จากปีก่อนมีแชร์ที่ 21% เท่ากับโฟร์โมสต์ ขณะที่ผู้นำตลาดคือ เมจิ มีแชร์กว่า 52%
นางสุพัชรมณีกล่าวต่อว่า ภาพรวมตลาดลิควิดมิลค์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท หรือโตไม่ต่ำกว่า 8-9% จากปีก่อนมีมูลค่าที่ 45,000 ล้านบาท ดัชมิลล์เองมองว่าปีนี้จะมีส่วนแบ่งในตลาดรวมเพิ่มได้อีก 1-2 จุด จากปีก่อนมีส่วนแบ่งที่ 23% และเมื่อรวมกับคัพโยเกิร์ตแล้ว ดัชมิลล์มีแชร์ในตลาดรวมเป็น 26%
ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของตลาดนมมาจากปีนี้จะมีการแข่งขันในเรื่องนวัตกรรมมากขึ้น ส่วนในเรื่องของราคาคาดว่าจะยังคงถูกตรึงราคาไว้อยู่ จากล่าสุดตลาดนมมีการปรับราคาน้ำนมดิบไปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันราคาน้ำนมดิบอยู่ที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม ดัชมิลล์ได้เตรียมความพร้อมสู่ตลาดเออีซีไว้บ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พัฒนาบุคลากร รวมถึงลงทุนในส่วนของการผลิตรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อว่าหลังเปิดเออีซีตลาดนมจะมีการแข่งขันสูงขึ้น มีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาในไทยสูง และแบรนด์ไทยจะบุกตลาดเออีซีเช่นกัน
ส่วนในแง่ของราคานั้น มองว่าธรรมชาติของกลไกด้านราคาจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันราคาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมของไทยถูกควบคุมราคาโดยภาครัฐ
นางสาวสุพัชรมณี ศรีวลี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมแบรนด์ดัชมิลล์ เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทยังพร้อมเดินหน้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการเปิดตัวสู่ตลาดไปแล้ว 3 รายการ คือ ดีน่า บริ๊งค์, ดัชมิลล์ เชอร์รี-มัลเบอร์รี, ดีมอลต์ทริปเปิลทรีพลัส และล่าสุดได้เปิดตัวนมสดพาสเจอไรซ์ ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด มาตรฐาน GMP 100%
โดยในส่วนของ ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ได้ทุ่มงบการตลาดกว่า 300 ล้านบาท สำหรับการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการดึง ตูน บอดี้สแลม เข้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เนื่องจากตรงกับคาแรกเตอร์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยกระดับมาตรฐานขึ้นไปอีกครั้ง โดยตูนถือเป็นตัวแทนกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่มาตรฐานและสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าให้กับตนเองเช่นเดียวกัน มั่นใจว่าจะช่วยดันรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอไรซ์โตขึ้นอีก 30% หรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดกลุ่มนมสดพาสเจอไรซ์มูลค่า 6,500 ล้านบาท เป็น 25% ให้ได้ จากปีก่อนมีแชร์ที่ 21% เท่ากับโฟร์โมสต์ ขณะที่ผู้นำตลาดคือ เมจิ มีแชร์กว่า 52%
นางสุพัชรมณีกล่าวต่อว่า ภาพรวมตลาดลิควิดมิลค์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท หรือโตไม่ต่ำกว่า 8-9% จากปีก่อนมีมูลค่าที่ 45,000 ล้านบาท ดัชมิลล์เองมองว่าปีนี้จะมีส่วนแบ่งในตลาดรวมเพิ่มได้อีก 1-2 จุด จากปีก่อนมีส่วนแบ่งที่ 23% และเมื่อรวมกับคัพโยเกิร์ตแล้ว ดัชมิลล์มีแชร์ในตลาดรวมเป็น 26%
ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของตลาดนมมาจากปีนี้จะมีการแข่งขันในเรื่องนวัตกรรมมากขึ้น ส่วนในเรื่องของราคาคาดว่าจะยังคงถูกตรึงราคาไว้อยู่ จากล่าสุดตลาดนมมีการปรับราคาน้ำนมดิบไปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันราคาน้ำนมดิบอยู่ที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม ดัชมิลล์ได้เตรียมความพร้อมสู่ตลาดเออีซีไว้บ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พัฒนาบุคลากร รวมถึงลงทุนในส่วนของการผลิตรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเชื่อว่าหลังเปิดเออีซีตลาดนมจะมีการแข่งขันสูงขึ้น มีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาในไทยสูง และแบรนด์ไทยจะบุกตลาดเออีซีเช่นกัน
ส่วนในแง่ของราคานั้น มองว่าธรรมชาติของกลไกด้านราคาจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันราคาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมของไทยถูกควบคุมราคาโดยภาครัฐ