โพลชี้แค่ 22 วันบาทแข็งค่าขึ้น 3% ผู้ประกอบการ 42.5% กระอัก กระทบการทำธุรกิจ แนะรัฐเข้าดูแลก่อนส่งออกกระทบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับค่าเงินบาทแข็งค่า โดยสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศ 400 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-22 ม.ค. 2556 ว่า ตั้งแต่วันที่ 1-22 ม.ค. 2556 ค่าเงินบาทแข็งค่าแล้ว 3% โดยแข็งค่ากว่าเงินในสกุลอื่นในเอเชีย และเงินสกุลสำคัญในโลก ทั้งค่าเงินเยน เงินยูโร ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ซึ่งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นถึง 3% ผู้ตอบมากถึง 42.5% ระบุส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตนเองมาก ส่วนอีก 39.1% ระบุกระทบปานกลาง อีก 18.3% ระบุกระทบน้อย มีเพียง 0.1% ที่ระบุไม่กระทบ
สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งมากที่สุด คือกลุ่มส่งออก รองลงมาคือกลุ่มส่งออก-นำเข้า, กลุ่มส่งออก-ขายสินค้าในประเทศ, กลุ่มนำเข้า-ส่งออก และขายในประเทศ ขณะที่กลุ่มนำเข้าจะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามด้วยกลุ่มนำเข้า-ขายในประเทศ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบระบุว่า ยอดส่งออกสินค้าจะลดลง 8.7% ส่วนยอดนำเข้าจะเพิ่มขึ้น 10.2% ต้นทุนการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 15.4% ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 11.8% ยอดรับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 2.1% สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 5.6%
ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 29.00-29.50 บาท/เหรียญสหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลกระทบในด้านต่างๆ จะรุนแรงมากขึ้น โดยยอดการส่งออกสินค้าจะลดลง 14.7% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 9.8% ต้นทุนการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 20.4% ต้นทุนผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 14.3% ยอดรับคำสั่งซื้อลดลง 2.7% และสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 4.8%
“ผู้ประกอบการเห็นว่าเงินบาทที่เหมาะสมต่อการทำธุรกิจควรอยู่ที่ 31 บาท/เหรียญสหรัฐ ระดับที่ไม่ส่งผลต่อการส่งออกอยู่ที่ 30.2 บาท/เหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราที่ยังรับได้อยู่ที่ 29.40 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่จะแบกรับได้นานเพียง 1 เดือนครึ่งเท่านั้น ซึ่งรัฐต้องเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป และไม่ให้แข็งกว่าคู่แข่ง หากประคองได้การส่งออกปีนี้ก็ไม่น่าสะดุด โดยศูนย์ฯ มองว่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ 6-8%” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับค่าเงินบาทแข็งค่า โดยสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศ 400 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-22 ม.ค. 2556 ว่า ตั้งแต่วันที่ 1-22 ม.ค. 2556 ค่าเงินบาทแข็งค่าแล้ว 3% โดยแข็งค่ากว่าเงินในสกุลอื่นในเอเชีย และเงินสกุลสำคัญในโลก ทั้งค่าเงินเยน เงินยูโร ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ซึ่งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นถึง 3% ผู้ตอบมากถึง 42.5% ระบุส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตนเองมาก ส่วนอีก 39.1% ระบุกระทบปานกลาง อีก 18.3% ระบุกระทบน้อย มีเพียง 0.1% ที่ระบุไม่กระทบ
สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งมากที่สุด คือกลุ่มส่งออก รองลงมาคือกลุ่มส่งออก-นำเข้า, กลุ่มส่งออก-ขายสินค้าในประเทศ, กลุ่มนำเข้า-ส่งออก และขายในประเทศ ขณะที่กลุ่มนำเข้าจะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามด้วยกลุ่มนำเข้า-ขายในประเทศ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบระบุว่า ยอดส่งออกสินค้าจะลดลง 8.7% ส่วนยอดนำเข้าจะเพิ่มขึ้น 10.2% ต้นทุนการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 15.4% ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 11.8% ยอดรับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 2.1% สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 5.6%
ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 29.00-29.50 บาท/เหรียญสหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลกระทบในด้านต่างๆ จะรุนแรงมากขึ้น โดยยอดการส่งออกสินค้าจะลดลง 14.7% ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 9.8% ต้นทุนการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 20.4% ต้นทุนผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 14.3% ยอดรับคำสั่งซื้อลดลง 2.7% และสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 4.8%
“ผู้ประกอบการเห็นว่าเงินบาทที่เหมาะสมต่อการทำธุรกิจควรอยู่ที่ 31 บาท/เหรียญสหรัฐ ระดับที่ไม่ส่งผลต่อการส่งออกอยู่ที่ 30.2 บาท/เหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราที่ยังรับได้อยู่ที่ 29.40 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่จะแบกรับได้นานเพียง 1 เดือนครึ่งเท่านั้น ซึ่งรัฐต้องเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป และไม่ให้แข็งกว่าคู่แข่ง หากประคองได้การส่งออกปีนี้ก็ไม่น่าสะดุด โดยศูนย์ฯ มองว่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ 6-8%” นายธนวรรธน์กล่าว