มีตำราเกี่ยวกับการจัดการเรื่องเงินๆทองๆมากมายที่เตือนถึง “มหันตภัย” ของไอ้เจ้าบรรดาบัตรพลาสติก และพลานุภาพของมันที่เหมือน “อสรพิษร้าย” ที่จะฉกกัดคุณได้ตลอดเวลาแบบไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว แต่คำถามก็คือ ทำไมคนส่วนใหญ่จึงยังคงมีความเชื่อว่า “บัตรเครดิต” เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์
แน่นอน...ผมเองก็ไม่มีปฏิเสธว่า บัตรเครดิตอาจจะมีประโยชน์ “หากใช้เป็น” แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักวิธีใช้บัตรเครดิตให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง!!
หากมองเฉพาะข้อดีของบัตรเครดิต แน่นอน มันย่อมเป็นเรื่องดีที่มีคนมาให้เครดิตแก่คุณ ในการจ่ายเงินไปให้ก่อน และค่อยมาชำระคืนในภายหลัง (เฉลี่ย 30 วัน) ซึ่งหากคุณสามารถจ่ายเงินตามยอดที่คุณใช้ไปในแต่ละรอบ“คุณก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย”เลยสักบาท
ยิ่งไปกว่านั้น สิทธิประโยชน์บางอย่าง เช่นการสะสมแต้มเพื่อแลกของ หรือ การสะสมไมล์ ก็ดูจะเป็น “มนต์เสน่ห์” ที่ทำให้หลายคนลุ่มหลง
แต่เชื่อหรือไม่ ผลจากการครอบครองเป็นเจ้าของบัตรพลาสติกเหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคในยุคนี้มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นถึงราว 20%
แต่ในทางกลับกัน ทฤษฎี 80-20 ยังคงทำงานอย่างซื่อสัตย์ มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ผู้ใช้บัตรพลาสติกส่วนใหญ่กว่า 80% ไม่สามารถชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ ส่วนใหญ่จ่ายได้เพียงยอดขั้นต่ำ และไอ้เจ้าสิทธิประโยชน์หลายๆอย่างที่ระบุไว้ก็ถูกใช้เพียงประมาณ 20%
ข่าวร้ายไปกว่านั้น จากสถิติของกรมบังคับคดี ผู้ที่ถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สินกว่า 70% มาจาก ปัญหาหนี้สินจากไอ้เจ้าบัตรพลาสติกประเภทนี้
ตรงกันข้ามกับ บรรดาสถาบันการเงิน ไม่มีสินเชื่อประเภทใดที่ทำเงินได้อย่างง่ายดาย เท่ากับสินเชื่อเพื่อบริโภค เพราะสามารถทำเงินทั้งสองทาง คือ ทุกครั้งที่คุณ“รูดปรื๊ดๆ” สถาบันการเงินที่ออกบัตรฯให้คุณจะได้เงินทันทีประมาณ 3% จากบรรดาร้านค้าที่รับ“รูดบัตร” และยังมีโอกาสที่จะเก็บกินจากดอกเบี้ยที่แสนหฤโหด จากยอดค้างชำระในแต่ละเดือนจากคุณๆทั้งหลายได้อีกทางหนึ่ง
เพราะเหตุนี้จึงไม่ต้องประหลาดใจว่า ทำไมบรรดาสถาบันการเงินส่วนใหญ่จึงทุ่มเทงบโฆษณา งบการตลาด และงบส่งเสริมการขายกันเป็นเม็ดเงินมหาศาลเพื่อกวาดต้อนให้คุณเป็นสมาชิกที่แสนดี
เคยสังเกตไหมครับว่าทุกวันนี้ วันหนึ่งๆคุณอาจจะๆต้องรับโทรศัพท์ หรือ SMS จากใครก็ไม่รู้ มากระตุกให้คุณหวั่นไหว“ใจสั่น” ไปกับข้อเสนอที่แสนเย้ายวนของบรรดาบัตรเครดิต บัตรเงินสด บัตรเงินผ่อน บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้า ไม่เว้นแม้กระทั่งบัตรสมาชิกของโรงแรมหรูๆ หรือ สปาชั้นเยี่ยม ที่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายในการหาสมาชิกหน้าใหม่ที่อยาก“ดูดี”เหมือนคุณ
ที่สำคัญการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ได้ครอบครองไอ้เจ้าบัตรพลาสติกเหล่านี้ มันก็ดูแสนจะง่ายดายจนน่าตกใจ จนบางครั้งผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมธนาคารแห่งประเทศไทย จึงไม่กำหนดให้บรรดาสถาบันการเงินเหล่านี้ออกคำเตือนตอนท้ายโฆษณาเหมือน “เครื่องดื่มบำรุงกำลัง”
คำเตือน “ห้ามพกบัตรเครดิตเกิน 2 ใบ เพราะอาจเป็นอันตรายกับ สุขภาพทางการเงิน”
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า หากมันเลวร้ายขนาดนี้ เราควรจะ“หัก”บัตรฯทิ้ง เลิกใช้เสียเลยดีไหม
ใจเย็นๆครับ หากคุณไม่มีอาการกรีดร้องในใจเวลาเกิดอารมณ์ “ฉันต้องการเดี๋ยวนี้” และมีวินัยในการใช้จ่าย การใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป เพียงแต่ควรจะมีไม่เกิน 1-2 ใบเท่านั้น
ขณะเดียวกันคุณต้องมั่นใจว่าจะชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนทุกครั้ง หรือถ้าห่วงใจตัวเองก็อาจต้องทำเรื่องกับธนาคารฯให้ตัดยอดค้างชำระแบบอัตโนมัติทุกเดือนจากบัญชีออมทรัพย์ของคุณ
ในเวลาเดียวกัน ควรทำเรื่องให้ตัดยอดค่าใช้จ่ายประจำเดือนในบางรายการผ่านบัตรเครดิต เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ค่าน้ำมัน หรือ ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่คุณไปจับจ่ายใช้สอยในซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อช่วยในการสะสมแต้ม และยังเท่ากับเป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายรวมกันไว้ในที่เดียวกัน
ในบางกรณีที่มันจำเป็นต้องใช้บัตรฯเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายบางรายการจริงๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน อาหารมื้อค่ำกับลูกค้า หรือ แฟนคนล่าสุดในโรงแรมหรูๆ (ในบางครั้ง) อย่าลืมบันทึกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้ด้วยเพื่อเตือนความจำ และกระตุ้นให้รู้ว่า เรากำลังมีหนี้ที่รอสะสางอยู่ข้างหน้า
ข้อห้ามเด็ดขาดที่ไม่พึงกระทำโดยเด็ดขาด คือ การกดเงินสด เพราะหากคุณเผลอใจ เท่ากับคุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียม3% ทันที ไม่รวมดอกเบี้ยอันแสนหฤโหดที่จะไล่หลังตามมาชนิดหายใจรดต้นคอเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ผมตัดสินใจหันหลังให้กับบัตรเครดิต บำเพ็ญตนเป็น มนุษย์เงินสดมากว่า 5 ปี ถึงต้องพกเงินสดในกระเป๋ามากขึ้นหน่อยแต่ก็ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร ปล่อยให้คุณภรรยาที่แสนดีที่มีวินัยเรื่องการเงินเป็นรับผิดชอบเรื่องนี้ไป สบายตัวสบายใจกว่ากันเยอะ
สุดท้ายผมมีเคล็ดไม่ลับจะบอกกับคุณว่า 80% ของ 400 อภิมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของโลก ที่จัดอันดับโดยนิตยาสารฟอร์บส์ เปิดเผยเคล็บลับของตัวเองเอาไว้ตรงกันว่า หนทางที่ดีที่สุดสู่ความมั่งคั่งคือ การดำรงชีวิตโดยปราศจากหนี้ทั้งปวง!!!
แน่นอน...ผมเองก็ไม่มีปฏิเสธว่า บัตรเครดิตอาจจะมีประโยชน์ “หากใช้เป็น” แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักวิธีใช้บัตรเครดิตให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง!!
หากมองเฉพาะข้อดีของบัตรเครดิต แน่นอน มันย่อมเป็นเรื่องดีที่มีคนมาให้เครดิตแก่คุณ ในการจ่ายเงินไปให้ก่อน และค่อยมาชำระคืนในภายหลัง (เฉลี่ย 30 วัน) ซึ่งหากคุณสามารถจ่ายเงินตามยอดที่คุณใช้ไปในแต่ละรอบ“คุณก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย”เลยสักบาท
ยิ่งไปกว่านั้น สิทธิประโยชน์บางอย่าง เช่นการสะสมแต้มเพื่อแลกของ หรือ การสะสมไมล์ ก็ดูจะเป็น “มนต์เสน่ห์” ที่ทำให้หลายคนลุ่มหลง
แต่เชื่อหรือไม่ ผลจากการครอบครองเป็นเจ้าของบัตรพลาสติกเหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคในยุคนี้มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นถึงราว 20%
แต่ในทางกลับกัน ทฤษฎี 80-20 ยังคงทำงานอย่างซื่อสัตย์ มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ผู้ใช้บัตรพลาสติกส่วนใหญ่กว่า 80% ไม่สามารถชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ ส่วนใหญ่จ่ายได้เพียงยอดขั้นต่ำ และไอ้เจ้าสิทธิประโยชน์หลายๆอย่างที่ระบุไว้ก็ถูกใช้เพียงประมาณ 20%
ข่าวร้ายไปกว่านั้น จากสถิติของกรมบังคับคดี ผู้ที่ถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สินกว่า 70% มาจาก ปัญหาหนี้สินจากไอ้เจ้าบัตรพลาสติกประเภทนี้
ตรงกันข้ามกับ บรรดาสถาบันการเงิน ไม่มีสินเชื่อประเภทใดที่ทำเงินได้อย่างง่ายดาย เท่ากับสินเชื่อเพื่อบริโภค เพราะสามารถทำเงินทั้งสองทาง คือ ทุกครั้งที่คุณ“รูดปรื๊ดๆ” สถาบันการเงินที่ออกบัตรฯให้คุณจะได้เงินทันทีประมาณ 3% จากบรรดาร้านค้าที่รับ“รูดบัตร” และยังมีโอกาสที่จะเก็บกินจากดอกเบี้ยที่แสนหฤโหด จากยอดค้างชำระในแต่ละเดือนจากคุณๆทั้งหลายได้อีกทางหนึ่ง
เพราะเหตุนี้จึงไม่ต้องประหลาดใจว่า ทำไมบรรดาสถาบันการเงินส่วนใหญ่จึงทุ่มเทงบโฆษณา งบการตลาด และงบส่งเสริมการขายกันเป็นเม็ดเงินมหาศาลเพื่อกวาดต้อนให้คุณเป็นสมาชิกที่แสนดี
เคยสังเกตไหมครับว่าทุกวันนี้ วันหนึ่งๆคุณอาจจะๆต้องรับโทรศัพท์ หรือ SMS จากใครก็ไม่รู้ มากระตุกให้คุณหวั่นไหว“ใจสั่น” ไปกับข้อเสนอที่แสนเย้ายวนของบรรดาบัตรเครดิต บัตรเงินสด บัตรเงินผ่อน บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้า ไม่เว้นแม้กระทั่งบัตรสมาชิกของโรงแรมหรูๆ หรือ สปาชั้นเยี่ยม ที่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายในการหาสมาชิกหน้าใหม่ที่อยาก“ดูดี”เหมือนคุณ
ที่สำคัญการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ได้ครอบครองไอ้เจ้าบัตรพลาสติกเหล่านี้ มันก็ดูแสนจะง่ายดายจนน่าตกใจ จนบางครั้งผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมธนาคารแห่งประเทศไทย จึงไม่กำหนดให้บรรดาสถาบันการเงินเหล่านี้ออกคำเตือนตอนท้ายโฆษณาเหมือน “เครื่องดื่มบำรุงกำลัง”
คำเตือน “ห้ามพกบัตรเครดิตเกิน 2 ใบ เพราะอาจเป็นอันตรายกับ สุขภาพทางการเงิน”
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า หากมันเลวร้ายขนาดนี้ เราควรจะ“หัก”บัตรฯทิ้ง เลิกใช้เสียเลยดีไหม
ใจเย็นๆครับ หากคุณไม่มีอาการกรีดร้องในใจเวลาเกิดอารมณ์ “ฉันต้องการเดี๋ยวนี้” และมีวินัยในการใช้จ่าย การใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป เพียงแต่ควรจะมีไม่เกิน 1-2 ใบเท่านั้น
ขณะเดียวกันคุณต้องมั่นใจว่าจะชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนทุกครั้ง หรือถ้าห่วงใจตัวเองก็อาจต้องทำเรื่องกับธนาคารฯให้ตัดยอดค้างชำระแบบอัตโนมัติทุกเดือนจากบัญชีออมทรัพย์ของคุณ
ในเวลาเดียวกัน ควรทำเรื่องให้ตัดยอดค่าใช้จ่ายประจำเดือนในบางรายการผ่านบัตรเครดิต เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ค่าน้ำมัน หรือ ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่คุณไปจับจ่ายใช้สอยในซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อช่วยในการสะสมแต้ม และยังเท่ากับเป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายรวมกันไว้ในที่เดียวกัน
ในบางกรณีที่มันจำเป็นต้องใช้บัตรฯเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายบางรายการจริงๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน อาหารมื้อค่ำกับลูกค้า หรือ แฟนคนล่าสุดในโรงแรมหรูๆ (ในบางครั้ง) อย่าลืมบันทึกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้ด้วยเพื่อเตือนความจำ และกระตุ้นให้รู้ว่า เรากำลังมีหนี้ที่รอสะสางอยู่ข้างหน้า
ข้อห้ามเด็ดขาดที่ไม่พึงกระทำโดยเด็ดขาด คือ การกดเงินสด เพราะหากคุณเผลอใจ เท่ากับคุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียม3% ทันที ไม่รวมดอกเบี้ยอันแสนหฤโหดที่จะไล่หลังตามมาชนิดหายใจรดต้นคอเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ผมตัดสินใจหันหลังให้กับบัตรเครดิต บำเพ็ญตนเป็น มนุษย์เงินสดมากว่า 5 ปี ถึงต้องพกเงินสดในกระเป๋ามากขึ้นหน่อยแต่ก็ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร ปล่อยให้คุณภรรยาที่แสนดีที่มีวินัยเรื่องการเงินเป็นรับผิดชอบเรื่องนี้ไป สบายตัวสบายใจกว่ากันเยอะ
สุดท้ายผมมีเคล็ดไม่ลับจะบอกกับคุณว่า 80% ของ 400 อภิมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของโลก ที่จัดอันดับโดยนิตยาสารฟอร์บส์ เปิดเผยเคล็บลับของตัวเองเอาไว้ตรงกันว่า หนทางที่ดีที่สุดสู่ความมั่งคั่งคือ การดำรงชีวิตโดยปราศจากหนี้ทั้งปวง!!!