“บุญทรง” เคาะ 5 แนวทางระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ 1 แสนตัน ทั้งทำปาล์มขวด ผลิตไบโอดีเซล ใช้ผลิตไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรม และส่งออก พร้อมกำหนดเงื่อนไขรับซื้อน้ำมันปาล์ม 5 หมื่นตันล็อตหลัง โดยให้เน้นซื้อจากเกษตรกรรายย่อย
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาดว่า ได้พิจารณาแนวทางการระบายน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อมาจากโรงสกัดปริมาณรวม 1 แสนตัน เพื่อแทรกแซงราคาผลปาล์มในตลาด โดยมี 5 แนวทางในการระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อมา
โดยแนวทางที่ 1 ทำน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปริมาณ 1 หมื่นตัน ทำภายใต้แบรนด์ของโรงกลั่นและนำมาจำหน่ายภายในโครงการธงฟ้าและร้านถูกใจในราคาที่ต่ำกว่าขวดละ 42 บาท 2. ผลิตไบโอดีเซล บี 100 ปริมาณ 5 หมื่นตัน 3. นำไปใช้แทนน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้า 1 หมื่นตัน 4. นำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องจักรการเกษตร เรือประมง 1 หมื่นตัน และ 5. ผลักดันการส่งออกอีกปริมาณ 1 หมื่นตัน โดยการส่งออกจะรอประเมินสถานการณ์ราคาตลาดอีกครั้งหนึ่งเพราะขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่า
ทั้งนี้ ยังได้กำหนดให้โรงสกัดรับซื้อผลปาล์มดิบจากเกษตรกรรายย่อยที่มีกรรรสิทธิ์ของตนเองไม่เกิน 50 ไร่/คน หรือปริมาณ 150 ตัน/คน และจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น เพราะต้องการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงเกษตรกรรายย่อยตัวจริง
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาดว่า ได้พิจารณาแนวทางการระบายน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อมาจากโรงสกัดปริมาณรวม 1 แสนตัน เพื่อแทรกแซงราคาผลปาล์มในตลาด โดยมี 5 แนวทางในการระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อมา
โดยแนวทางที่ 1 ทำน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปริมาณ 1 หมื่นตัน ทำภายใต้แบรนด์ของโรงกลั่นและนำมาจำหน่ายภายในโครงการธงฟ้าและร้านถูกใจในราคาที่ต่ำกว่าขวดละ 42 บาท 2. ผลิตไบโอดีเซล บี 100 ปริมาณ 5 หมื่นตัน 3. นำไปใช้แทนน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้า 1 หมื่นตัน 4. นำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องจักรการเกษตร เรือประมง 1 หมื่นตัน และ 5. ผลักดันการส่งออกอีกปริมาณ 1 หมื่นตัน โดยการส่งออกจะรอประเมินสถานการณ์ราคาตลาดอีกครั้งหนึ่งเพราะขณะนี้ค่าเงินบาทแข็งค่า
ทั้งนี้ ยังได้กำหนดให้โรงสกัดรับซื้อผลปาล์มดิบจากเกษตรกรรายย่อยที่มีกรรรสิทธิ์ของตนเองไม่เกิน 50 ไร่/คน หรือปริมาณ 150 ตัน/คน และจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น เพราะต้องการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงเกษตรกรรายย่อยตัวจริง