xs
xsm
sm
md
lg

"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ข้างล่างนี้ นี่คือบทความการออกรบที่ซูนวูว่าไว้ ซึ่งผมคัดลอกจากต้นฉบับมาเต็มๆ การอ่านข้อความข้างล่างนี้จะได้อรรถรสมาก ถ้าเราจิตนาการคำว่า "กองทัพ และ กำลัง" เป็น "ความรู้ในการลงทุน การบริหารเงินของเรา" // คำว่าข้าศึก คือ "ตลาด" // คำว่าราชันย์ เป็น "ความโลภ และ ความกลัว"

หลักยุทธวิธีที่ซูนวูว่าไว้ มีอยู่ว่า
หากเรามีกำลัง ๑๐ เท่าของข้าศึกจงเข้าล้อมเอา
ถ้า ๕ เท่าของศัตรูก็จงบุกตี
ถ้าเพียงเท่าเดียวก็แยกเป็นสองกองเข้าชิงชัย
ถ้าหากกำลังทัดเทียมกันจงพยายามเข้ารบพุ่ง
น้อยกว่าจงตั้งรับไว้
ถ้าด้อยกว่าจงหาทางหลีกเลี่ยงไว้ก่อน

  ฉะนั้น ความขัดแข็งถือดีของกำลังอันน้อยย่อมตกเป็นลูกไก่ของกองทัพอันมีกำลังมหาศาลนั่นเอง อันขุนพลก็เสมือนหนึ่งหลักชัยของประเทศถ้าหลักชัยนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วน ประเทศก็เข้มแข็งหากมีคุณสมบัติขาดตกบกพร่อง ประเทศก็อ่อนแอ
เพราะฉะนั้นราชันย์มักทำความเสียหายให้แก่การทหารด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ไม่เข้าพระทัยว่ากองทัพเคลื่อนกำลังรุกไปไม่ได้ แต่รับสั่งให้รุกหรือกองทัพจะถอยไม่ได้ แต่รับสั่งให้ถอยเช่นนี้เรียกว่ากีดขวางการปฏิบัติทางทหารไม่เข้าพระทัยในกิจการทหาร ก็ทรงเข้าเกี่ยวข้องด้วยจะทำให้แม่ทัพนายกองงุนงง (ไม่ทราบทางปฏิบัติ)ไม่เข้าพระทัยในหลักการปรับตัวกับเหตุการณ์โดยยุทธนัยก็ทรงรับภารกิจอันนั้น จะทำให้แม่ทัพนายกองสงสัยแคลงใจ เมื่อเหล่าทหารงุนงงสงสัยภัยอันเกิดจากจากเจ้าครองนครก็จะพลันถึงนี้แหละเรียกว่า ก่อความระส่ำระสายให้บังเกิดแก่กองทัพตนเองและอำนวยชัยชนะแก่ข้าศึก เพราะฉะนั้น วิธีหยั่งรู้ชัยชนะมีอยู่ ๕ ประการ คือรู้ว่าควรรบไม่ควรรบเพียงใด ผู้นั้นชนะรู้หลักการใช้ทหารมากน้อยเพียงใดผู้นั้นชนะ
ฝ่ายนำและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาร่วมจิตสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันผู้นั้นชนะ เตรียมพร้อมเสมอเพื่อคอยโอกาสหละหลวมของศัตรูผู้นั้นชนะ ขุนพลมีสมรรถภาพและราชันย์ไม่สอดแทรกก้าวก่าย(ปล่อยให้ปฏิบัติการได้โดยเสรี)ผู้นั้นชนะ หลัก ๕ ประการนี้ คือวิธีหยั่งรู้ซึ่งความมีชัยเพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าหากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใดถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลยก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล
กำลังโหลดความคิดเห็น