จากนี้ไปอีก 2 ปี เป็นช่วงเวลาที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะมีการปรับปรุงกันอย่างจริงจัง หลังจากนายประภัสร์ จงสงวน ได้รับสรรหาเป็นผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.คนใหม่ พร้อมประกาศยืนยันความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรแห่งนี้ภายในเวลา 2 ปีเศษที่ทำหน้าที่ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากพนักงานอยู่ไม่น้อย แม้กระทั่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สร.รฟท.) ก็ยังไม่มีเสียงต่อต้านออกมาให้ได้ยิน ว่ากันว่าหลังจากนี้ไปองค์กรที่อยู่ในสภาพย่ำแย่ตกต่ำลงทุกวันแห่งนี้ ถึงเวลาที่จะปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เสียที
นายประภัสร์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.มีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขและโครงการที่ต้องผลักดันให้สำเร็จจำนวนมาก ในขณะที่มีเวลาในตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เพียง 2 ปีกว่าเท่านั้น ดังนั้นเรื่องหลักๆ ที่ต้องผลักดันให้เสร็จภายในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดจะต้องเป็นเรื่องที่เป็นการวางรากฐานที่ดีกับองค์กร โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเร่งโครงการที่อยู่ในแผนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท โดยจะต้องลงนามสัญญาให้ได้ทั้งหมด ภายในเวลา 1 ปี-1.5 ปี ภายในเงื่อนไข กระทรวงการคลังจะต้องสามารถจัดหาเงินลงทุนให้ได้หมดเช่นกัน
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2553 เห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. ระยะเร่งด่วน 5 ปี ระหว่างปี 2553-2557 วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบอาณัติสัญญาณ 1.52 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระ และการจัดหารถจักร และล้อเลื่อน 2.4 หมื่นล้านบาท ร.ฟ.ท.เป็นผู้รับภาระ
ขณะที่เป้าหมายของการลงทุน 1.76 แสนล้านบาท เพื่อให้เส้นทางรถไฟจักร รถโดยสาร รถสินค้า อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการมีความสมบูรณ์ทันสมัยขึ้น ในขณะที่หน้าที่หลักในฐานะผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. คือ ทำอย่างไรให้รถไฟกลับมาเป็นรถไฟที่ตรงต่อเวลา ปลอดภัย สะอาด ส่วนหน้าที่รองคือการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นหลังจากนี้ไป 3 ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรถไฟแน่นอน
โดยระยะเร่งด่วนจะมีการปรับปรุงบริการ เป็นการแก้ปัญหาที่สามารถทำได้เลยไม่ต้องรองบประมาณลงทุน เช่น ปัญหาความล่าช้าของการเดินรถ ได้สั่งการให้นำข้อมูลสถิติของการเดินรถในแต่ละเส้นทางว่า ล่าช้าจากตารางเดินรถเฉลี่ยเท่าไร เพื่อแจ้งให้กับผู้โดยสารได้รับทราบตั้งแต่ตอนมาซื้อตั๋วเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้โดยสารสามารถตัดสินใจได้ว่าอยากที่จะเดินทางไปกับรถไฟหรือไม่ เพราะหากมีความจำเป็นเร่งด่วน แต่กลับไปถึงปลายทางช้ากว่ากำหนด อาจจะทำให้เสียหาย เช่น เดินทางมาจากเชียงใหม่อยากมาต่อเครื่องบินแต่ต้องตกเครื่อง ถ้าไม่เผื่อเวลา
“เรื่องนี้ทำไม่ยาก มีสถิติแต่ละเดือนบอกอยู่แล้วว่า ในแต่ละเส้นทางต้องรอหลีกตรงไหน เบาทางตรงไหน ใช้เวลากันเท่าไร เช่น สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะมีเบาทางประมาณ 20 จุด เอาเวลารวมกับที่ต้องรอหลีก ได้ประมาณ 130 นาที ก็บอกผู้โดยสารให้ทราบไปว่าถ้าจะโดยสารรถไฟขบวนนี้ เวลาที่จะไปถึงปลายทางช้ากว่ากำหนดประมาณ 130 นาที เป็นต้น จากที่ไม่เคยบอกต่อไปนี้ต้องแจ้งทุกครั้ง ทุกสถานีต้องทำเหมือนกัน ผมบอกไปแล้วให้เริ่มทำได้เลย”
นายประภัสร์กล่าวว่า การทำเช่นนี้ไม่กลัวว่าจะทำให้ผู้โดยสารรถไฟลดลง เพราะเชื่อว่าคนที่จะใช้บริการรถไฟรู้อยู่แล้วว่าจะช้า แต่ที่ทำเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดตารางหรือกิจกรรมอื่นๆ ของตัวเองลังจากไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง คนที่ได้ประโยชน์คือผู้โดยสารจะได้จัดกิจกรรมอื่นในเวลาที่สอดคล้องกับความจริง จะนัดใครก็ไม่ต้องคอย
สำหรับรถไฟนั้นต้องยอมรับว่าไม่มีระบบอาณัติสัญญาณควบคุมการเดินรถแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจะวิ่งช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ สภาพทาง ความชำนาญของพนักงานขับรถ ถ้าชำนาญเส้นทางจะขับได้เร็วกว่า แต่ในทุกกรณีต้องมีความปลอดภัย ขบวนใดมาก่อนเวลาถือว่ามีความผิดต้องถูกสอบ เพราะ ขับมาเร็วแน่นอน ซึ่งการขับเร็วบนสภาพทางปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงมากเอาชีวิตประชาชนไปเสี่ยงไม่ได้ ฟังเข้าใจยากแต่จริงๆแล้วนี่คือความปลอดภัย เพราะถ้าระบบอัตโนมัติถ้าขับเร็วระบบจะตัดอัตโนมัติ แต่เมื่อไม่มีระบบนั้นก็ต้องควบคุมที่ความเร็วใครมาเร็วมีปัญหา เหมือนรถบรรทุก รถทัวร์ มาเร็วกว่ากำหนดไม่ได้เช่นกัน
ยอมรับหนักใจโครงการไม่เดินเหตุติดปม กก.สิ่งแวดล้อม
ส่วนการเร่งรัดโครงการลงทุน 1.76 แสนล้านบาทนั้น นายประภัสร์กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่จะทำให้โครงการล่าช้า คือการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และเรื่องเวนคืน ซึ่งที่ผ่านมาโครงการรถไฟทางคู่ต้องล่าช้าเพราะใช้เวลาพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมยาวนาน ซึ่งได้เรียนให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ช่วยแก้ไขในระดับนโยบาย แล้วโดยเห็นว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมควรเร่งพิจารณาอย่างละเอียดในครั้งเดียวไม่ใช่ประชุมที่ก็ตั้งข้อสังเกตเรื่องหนึ่งพอประชุมอีกทีก็ต้องอีกเรื่อง วนเวียน ทำให้ไม่จบ
“อย่าเห็นว่าเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ วันนี้เห็นแค่นี้ก็ให้ความเห็นแค่นี้ คราวหน้าประชุมใหม่ก็ตั้งข้อสังเกตใหม่อีก ถ้าเป็นไปได้ควรจะออกระเบียบกรอบเวลาการทำงานของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ เพราะไม่เช่นนั้นการพิจารณาบางโครงการอาจใช้เวลาเป็น 10 ปีก็ได้ คงต้องขอไม่ใช่แค่โครงการของรถไฟแต่หมายถึงทุกโครงการของรัฐที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจรวมของประเทศ เพราะยิ่งล่าช้ามากเท่าไร ภาครัฐก็จะนิ่งเสียหายมากกว่าใคร คือถ้าพิจารณาไม่จบตามกรอบเวลาก็ให้ถือว่าเห็นขอบ ไม่งั้นงานไม่เดิน” นายประภัสร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานรูปแบบใหม่เช่นกัน จากก่อนหน้านี้ อาจจะคุ้นเคยกับการทำงานแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว เพราะวันนี้ถือว่า ร.ฟ.ท.ได้รับโอกาสสำคัญ ที่จะพัฒนาปรับปรุงทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะรัฐบาลในวันนี้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หากไม่เร่งทำแล้วเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองรัฐบาลอื่นเข้ามาใหม่ ไม่มีหลักประกันว่าจะทำแบบนี้ และจากที่ผ่านมารัฐบาลมักมองการลงทุนขนาดใหญ่ โดยจะวางแผนระยะยาว 20-25 ปี ซึ่งไม่ทันเวลา
เมื่อรัฐบาลเปิดช่องอยากให้มีการพัฒนาก็ต้องใช้โอกาสให้เต็มที่ และรถไฟจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศดีขึ้นอีกด้วย เป็นสิ่งที่ผมบอกกับพนักงานรถไฟทุกคน การทำสัญญาโครงการ 1.76 แสนล้านบาทได้หมดภายใน 2 ปี ไม่ได้ทำเพื่อตัวผู้ว่าฯ แต่ทำเพื่อรถไฟ เมื่อทุกโครงการได้เริ่มต้นก็จะต้องเสร็จแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นรถไฟจะกลับมามีบริการที่ดี ตรงเวลา ปลอดภัย สะอาด แต่ถ้าทำไม่ครบทั้งหมด หรือมีรถใหม่แต่รางไม่ดี สภาพทางแย่ ทำความเร็วไม่ได้ ไม่ตรงต่อเวลา ทุกอย่างก็ไม่ต่างจากเดิม
นายประภัสร์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.มีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขและโครงการที่ต้องผลักดันให้สำเร็จจำนวนมาก ในขณะที่มีเวลาในตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เพียง 2 ปีกว่าเท่านั้น ดังนั้นเรื่องหลักๆ ที่ต้องผลักดันให้เสร็จภายในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดจะต้องเป็นเรื่องที่เป็นการวางรากฐานที่ดีกับองค์กร โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเร่งโครงการที่อยู่ในแผนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท โดยจะต้องลงนามสัญญาให้ได้ทั้งหมด ภายในเวลา 1 ปี-1.5 ปี ภายในเงื่อนไข กระทรวงการคลังจะต้องสามารถจัดหาเงินลงทุนให้ได้หมดเช่นกัน
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2553 เห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. ระยะเร่งด่วน 5 ปี ระหว่างปี 2553-2557 วงเงิน 1.76 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบอาณัติสัญญาณ 1.52 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระ และการจัดหารถจักร และล้อเลื่อน 2.4 หมื่นล้านบาท ร.ฟ.ท.เป็นผู้รับภาระ
ขณะที่เป้าหมายของการลงทุน 1.76 แสนล้านบาท เพื่อให้เส้นทางรถไฟจักร รถโดยสาร รถสินค้า อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการมีความสมบูรณ์ทันสมัยขึ้น ในขณะที่หน้าที่หลักในฐานะผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. คือ ทำอย่างไรให้รถไฟกลับมาเป็นรถไฟที่ตรงต่อเวลา ปลอดภัย สะอาด ส่วนหน้าที่รองคือการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นหลังจากนี้ไป 3 ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรถไฟแน่นอน
โดยระยะเร่งด่วนจะมีการปรับปรุงบริการ เป็นการแก้ปัญหาที่สามารถทำได้เลยไม่ต้องรองบประมาณลงทุน เช่น ปัญหาความล่าช้าของการเดินรถ ได้สั่งการให้นำข้อมูลสถิติของการเดินรถในแต่ละเส้นทางว่า ล่าช้าจากตารางเดินรถเฉลี่ยเท่าไร เพื่อแจ้งให้กับผู้โดยสารได้รับทราบตั้งแต่ตอนมาซื้อตั๋วเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้โดยสารสามารถตัดสินใจได้ว่าอยากที่จะเดินทางไปกับรถไฟหรือไม่ เพราะหากมีความจำเป็นเร่งด่วน แต่กลับไปถึงปลายทางช้ากว่ากำหนด อาจจะทำให้เสียหาย เช่น เดินทางมาจากเชียงใหม่อยากมาต่อเครื่องบินแต่ต้องตกเครื่อง ถ้าไม่เผื่อเวลา
“เรื่องนี้ทำไม่ยาก มีสถิติแต่ละเดือนบอกอยู่แล้วว่า ในแต่ละเส้นทางต้องรอหลีกตรงไหน เบาทางตรงไหน ใช้เวลากันเท่าไร เช่น สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะมีเบาทางประมาณ 20 จุด เอาเวลารวมกับที่ต้องรอหลีก ได้ประมาณ 130 นาที ก็บอกผู้โดยสารให้ทราบไปว่าถ้าจะโดยสารรถไฟขบวนนี้ เวลาที่จะไปถึงปลายทางช้ากว่ากำหนดประมาณ 130 นาที เป็นต้น จากที่ไม่เคยบอกต่อไปนี้ต้องแจ้งทุกครั้ง ทุกสถานีต้องทำเหมือนกัน ผมบอกไปแล้วให้เริ่มทำได้เลย”
นายประภัสร์กล่าวว่า การทำเช่นนี้ไม่กลัวว่าจะทำให้ผู้โดยสารรถไฟลดลง เพราะเชื่อว่าคนที่จะใช้บริการรถไฟรู้อยู่แล้วว่าจะช้า แต่ที่ทำเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดตารางหรือกิจกรรมอื่นๆ ของตัวเองลังจากไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง คนที่ได้ประโยชน์คือผู้โดยสารจะได้จัดกิจกรรมอื่นในเวลาที่สอดคล้องกับความจริง จะนัดใครก็ไม่ต้องคอย
สำหรับรถไฟนั้นต้องยอมรับว่าไม่มีระบบอาณัติสัญญาณควบคุมการเดินรถแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจะวิ่งช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ สภาพทาง ความชำนาญของพนักงานขับรถ ถ้าชำนาญเส้นทางจะขับได้เร็วกว่า แต่ในทุกกรณีต้องมีความปลอดภัย ขบวนใดมาก่อนเวลาถือว่ามีความผิดต้องถูกสอบ เพราะ ขับมาเร็วแน่นอน ซึ่งการขับเร็วบนสภาพทางปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงมากเอาชีวิตประชาชนไปเสี่ยงไม่ได้ ฟังเข้าใจยากแต่จริงๆแล้วนี่คือความปลอดภัย เพราะถ้าระบบอัตโนมัติถ้าขับเร็วระบบจะตัดอัตโนมัติ แต่เมื่อไม่มีระบบนั้นก็ต้องควบคุมที่ความเร็วใครมาเร็วมีปัญหา เหมือนรถบรรทุก รถทัวร์ มาเร็วกว่ากำหนดไม่ได้เช่นกัน
ยอมรับหนักใจโครงการไม่เดินเหตุติดปม กก.สิ่งแวดล้อม
ส่วนการเร่งรัดโครงการลงทุน 1.76 แสนล้านบาทนั้น นายประภัสร์กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่จะทำให้โครงการล่าช้า คือการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม และเรื่องเวนคืน ซึ่งที่ผ่านมาโครงการรถไฟทางคู่ต้องล่าช้าเพราะใช้เวลาพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมยาวนาน ซึ่งได้เรียนให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ช่วยแก้ไขในระดับนโยบาย แล้วโดยเห็นว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมควรเร่งพิจารณาอย่างละเอียดในครั้งเดียวไม่ใช่ประชุมที่ก็ตั้งข้อสังเกตเรื่องหนึ่งพอประชุมอีกทีก็ต้องอีกเรื่อง วนเวียน ทำให้ไม่จบ
“อย่าเห็นว่าเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ วันนี้เห็นแค่นี้ก็ให้ความเห็นแค่นี้ คราวหน้าประชุมใหม่ก็ตั้งข้อสังเกตใหม่อีก ถ้าเป็นไปได้ควรจะออกระเบียบกรอบเวลาการทำงานของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ เพราะไม่เช่นนั้นการพิจารณาบางโครงการอาจใช้เวลาเป็น 10 ปีก็ได้ คงต้องขอไม่ใช่แค่โครงการของรถไฟแต่หมายถึงทุกโครงการของรัฐที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจรวมของประเทศ เพราะยิ่งล่าช้ามากเท่าไร ภาครัฐก็จะนิ่งเสียหายมากกว่าใคร คือถ้าพิจารณาไม่จบตามกรอบเวลาก็ให้ถือว่าเห็นขอบ ไม่งั้นงานไม่เดิน” นายประภัสร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานรูปแบบใหม่เช่นกัน จากก่อนหน้านี้ อาจจะคุ้นเคยกับการทำงานแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว เพราะวันนี้ถือว่า ร.ฟ.ท.ได้รับโอกาสสำคัญ ที่จะพัฒนาปรับปรุงทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะรัฐบาลในวันนี้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หากไม่เร่งทำแล้วเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองรัฐบาลอื่นเข้ามาใหม่ ไม่มีหลักประกันว่าจะทำแบบนี้ และจากที่ผ่านมารัฐบาลมักมองการลงทุนขนาดใหญ่ โดยจะวางแผนระยะยาว 20-25 ปี ซึ่งไม่ทันเวลา
เมื่อรัฐบาลเปิดช่องอยากให้มีการพัฒนาก็ต้องใช้โอกาสให้เต็มที่ และรถไฟจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศดีขึ้นอีกด้วย เป็นสิ่งที่ผมบอกกับพนักงานรถไฟทุกคน การทำสัญญาโครงการ 1.76 แสนล้านบาทได้หมดภายใน 2 ปี ไม่ได้ทำเพื่อตัวผู้ว่าฯ แต่ทำเพื่อรถไฟ เมื่อทุกโครงการได้เริ่มต้นก็จะต้องเสร็จแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นรถไฟจะกลับมามีบริการที่ดี ตรงเวลา ปลอดภัย สะอาด แต่ถ้าทำไม่ครบทั้งหมด หรือมีรถใหม่แต่รางไม่ดี สภาพทางแย่ ทำความเร็วไม่ได้ ไม่ตรงต่อเวลา ทุกอย่างก็ไม่ต่างจากเดิม