เคาะปริมาณอ้อยคาดการณ์เพื่อจัดสรรเข้าหีบฤดูกาลผลิตปี 55/56 แล้วที่ 94.64 ล้านตันไปไม่ถึงฝันที่วางเป้า 100 ล้านตันเหตุจากภัยแล้ง เผย 4 โรงงานใหม่จะถูกจัดสรรให้ต่อเมื่อได้รับ รง.4 ก่อนซึ่งสามารถจัดสรรกลางฤดูหีบก็ได้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการอ้อย (กอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กอ.ได้เห็นชอบการคาดการณ์ปริมาณอ้อยทั่วประเทศเพื่อจัดสรรให้ 47 โรงงานน้ำตาลเข้าหีบในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 ที่ระดับ 94.64 ล้านตันอ้อย จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 9.33 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10.14 ตันต่อไร่ ซึ่งการผลิตที่ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับฤดูกาลผลิตปีที่ผ่านมา ซึ่งทำไว้ระดับ 97.98 ล้านตันเนื่องจากชาวไร่อ้อยประสบภาวะฝนแล้งในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูกค่อนข้างมาก ดังนั้นเป้าหมายที่ต้องการเห็นระดับ 100 ล้านตันจึงเป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้ กอ.ยังได้เห็นชอบต้นทุนการผลิตอ้อยรวมกับค่าขนส่งอยู่ที่ระดับ 1,196.31 บาทต่อตัน (ค่าขนส่งอยู่ที่ 143.61 บาทต่อตัน) โดยต้นทุนของปีที่ผ่านมา ไม่รวมค่าขนส่งเฉลี่ยอยู่ระดับ 950 บาทต่อตัน ซึ่งในฤดูกาลผลิตปีนี้สูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากขาดแคลนแรงงานส่งผลให้ค่าแรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาปุ๋ย และราคาน้ำมัน มีราคาแพงจากปีก่อนทำให้ต้นทุนรวมปรับตัวเพิ่ม
“หลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ก็จะไปจัดทำบัญชีเพื่อจัดสรรอ้อยเข้าหีบโดยยึดกำลังการผลิตของโรงงานแต่ละแห่งย้อนหลัง 3 ปี โดยเบื้องต้นยังจัดสรรให้เฉพาะ 47 โรงงานเท่านั้นขณะที่โรงงานจะเปิดหีบใหม่จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนตามระเบียบที่กำหนดหลังจากนั้นก็จะสามารถมาจัดสรรอ้อยได้ซึ่งในช่วงฤดูหีบก็สามารถจัดสรรได้ไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันคณะกรรมการบริหาร หรือ กบ. ก็จะต้องไปคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นต่อไป” รายงานข่าวระบุ
รายงานข่าวจากคณะกรรมการอ้อย (กอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กอ.ได้เห็นชอบการคาดการณ์ปริมาณอ้อยทั่วประเทศเพื่อจัดสรรให้ 47 โรงงานน้ำตาลเข้าหีบในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 ที่ระดับ 94.64 ล้านตันอ้อย จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 9.33 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10.14 ตันต่อไร่ ซึ่งการผลิตที่ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับฤดูกาลผลิตปีที่ผ่านมา ซึ่งทำไว้ระดับ 97.98 ล้านตันเนื่องจากชาวไร่อ้อยประสบภาวะฝนแล้งในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูกค่อนข้างมาก ดังนั้นเป้าหมายที่ต้องการเห็นระดับ 100 ล้านตันจึงเป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้ กอ.ยังได้เห็นชอบต้นทุนการผลิตอ้อยรวมกับค่าขนส่งอยู่ที่ระดับ 1,196.31 บาทต่อตัน (ค่าขนส่งอยู่ที่ 143.61 บาทต่อตัน) โดยต้นทุนของปีที่ผ่านมา ไม่รวมค่าขนส่งเฉลี่ยอยู่ระดับ 950 บาทต่อตัน ซึ่งในฤดูกาลผลิตปีนี้สูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากขาดแคลนแรงงานส่งผลให้ค่าแรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาปุ๋ย และราคาน้ำมัน มีราคาแพงจากปีก่อนทำให้ต้นทุนรวมปรับตัวเพิ่ม
“หลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ก็จะไปจัดทำบัญชีเพื่อจัดสรรอ้อยเข้าหีบโดยยึดกำลังการผลิตของโรงงานแต่ละแห่งย้อนหลัง 3 ปี โดยเบื้องต้นยังจัดสรรให้เฉพาะ 47 โรงงานเท่านั้นขณะที่โรงงานจะเปิดหีบใหม่จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนตามระเบียบที่กำหนดหลังจากนั้นก็จะสามารถมาจัดสรรอ้อยได้ซึ่งในช่วงฤดูหีบก็สามารถจัดสรรได้ไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันคณะกรรมการบริหาร หรือ กบ. ก็จะต้องไปคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นต่อไป” รายงานข่าวระบุ