ไทยเตรียมเอาเยี่ยงฟิลิปปินส์ ฝึกบุคลากรให้เก่งรับศึกอาเซียน ติงให้คิดทั้งสองฝ่ายเพิ่มค่าแรงงานให้เหมาะสม-คนไทยอย่าเกี่ยงงาน ระบุในการประชุม Tourism Human Resource Congress รัฐบาลฟิลิปปินส์คุย นโยบายประเทศมุ่งพัฒนาศักยภาพแรงงานมองข้ามช็อตฝึกภาษาที่สาม เหตุเพราะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศมหาศาล
นางจันทรา อุไรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สถาบันฯ อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานเสนอต่อนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึงผลการเข้าร่วมประชุม 2nd Tourism Human Resource Congress “Building Tourism Human Capital for Global Competitiveness 2012” ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี
โดยประเด็นสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ฟิลิปปินส์ ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมได้นำเสนอนโยบายด้านแรงงานของประเทศฟิลิปปินส์ว่า รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร เพราะถือว่าแรงงานเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของฟิลิปปินส์ไม่แพ้การส่งออกสินค้าประเภทอื่น โดยต่อปีแรงงานชาวฟิลิปปินส์ที่ออกไปทำงานต่างประเทศได้ส่งรายได้กลับมายังประเทศคิดเป็น
จีดีพีลำดับต้นๆ ของประเทศ
“ฟิลิปปินส์มีประชากรกว่า 89 ล้านคน มากเป็นอันดับสองในอาเซียน และลักษณะภูมิศาสตร์ประเทศยังเป็นหมู่เกาะ ทำให้รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ จึงมีอัตราคนว่างงานสูง รัฐบาลเขาจึงใช้จุดแข็งในด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ทุกคนจะพูดและฟังได้เป็นอย่างดี ออกมาโปรโมตด้านการส่งออกแรงงานในทุกสาขาอาชีพ ทั้งกลุ่มแม่บ้าน ไปจนถึงพยาบาล และ แพทย์”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ได้มองเพียงการส่งออกแรงงานไปยังประเทศในแถบอาเซียนหรือเอเชียเท่านั้น ยังมองไปถึงอีกหลายตลาดในยุโรปและในแปซิฟิก จึงได้ให้ความสำคัญต่อการอบรมบุคลากรให้รู้และชำนาญมากกว่าภาษาอังกฤษ แต่จะก้าวไปถึงความชำนาญในภาษาที่ 3 อย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาสเปน เป็นต้น ซึ่งตลาดที่ใช้ภาษาเหล่านี้
ยังต้องการแรงงานอีกจำนวนมาก
นางจันทรากล่าวว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการตั้งรับด้านการเปิดเสรีแรงงานของประเทศไทยที่จะเริ่มมีขึ้นในปี 2558 ตามข้อตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้านแรงงานเสรี หรือ MRA ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
การตั้งรับของประเทศไทยต้องทำ 2 อย่างควบคู่กันไป กล่าวคือ การวางมาตรฐานการรับแรงงานต่างชาติที่ต้องการจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยจะต้องมีข้อกำหนดว่าแรงงานนั้นๆ ต้อง พูด ฟัง สื่อสารภาษาไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบุคลากรด้านการแพทย์และพยาบาล รวมถึงต้องผ่านเกณฑมาตรฐานการให้บริการ เพราะเชื่อว่าหากเป็นงานด้านบริการประเทศไทยมีจุดแข็งที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ แน่นอน ขณะเดียวกัน ในส่วนของแรงงานไทยก็ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน โดยจะต้องไม่เกี่ยวงงาน ไม่เลือกงาน ส่วนผู้ประกอบการก็ต้องให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับคุณภาพของแรงงานที่ได้รับ
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่ารายได้ของค่าจ้างแรงงานไทยไม่จูงใจให้คนไทยอยากทำงานในประเทศแต่จะออกไปแสวงหางานในต่างประเทสเพื่อรายได้ที่มากกว่า แม้จะไปเป็นเพียงพนักงานเสิร์ฟอาหารก็ตาม ประกอบกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ไม่ชอบทำงานแบบประจำ แต่ชอบทำงานเป็นฟีแลนซ์ รับเป็นงานๆ ไป ดังนั้น โดยส่วนตัวจึงอยากเห็นการพัฒนาแรงงานภายหลังเปิดเสรีเออีซีโดยปรับไปในรูปของการบูรณาการแรงงาน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งแรงงานที่ขาดแคลนของไทยในวันนี้คือระดับล่าง อย่างแม่บ้าน พนักงานทำความสะอาด และแรงงานระดับสูง คือระดับผู้จัดการ ซึ่งผู้ประกอบการควรตั้งค่าแรงให้จูงใจมากขึ้น ส่วนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็จะหารือเพิ่มขีดคุณภาพแรงงานไทย
นางจันทรา อุไรรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สถาบันฯ อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานเสนอต่อนายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึงผลการเข้าร่วมประชุม 2nd Tourism Human Resource Congress “Building Tourism Human Capital for Global Competitiveness 2012” ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี
โดยประเด็นสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ฟิลิปปินส์ ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมได้นำเสนอนโยบายด้านแรงงานของประเทศฟิลิปปินส์ว่า รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร เพราะถือว่าแรงงานเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของฟิลิปปินส์ไม่แพ้การส่งออกสินค้าประเภทอื่น โดยต่อปีแรงงานชาวฟิลิปปินส์ที่ออกไปทำงานต่างประเทศได้ส่งรายได้กลับมายังประเทศคิดเป็น
จีดีพีลำดับต้นๆ ของประเทศ
“ฟิลิปปินส์มีประชากรกว่า 89 ล้านคน มากเป็นอันดับสองในอาเซียน และลักษณะภูมิศาสตร์ประเทศยังเป็นหมู่เกาะ ทำให้รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ จึงมีอัตราคนว่างงานสูง รัฐบาลเขาจึงใช้จุดแข็งในด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ทุกคนจะพูดและฟังได้เป็นอย่างดี ออกมาโปรโมตด้านการส่งออกแรงงานในทุกสาขาอาชีพ ทั้งกลุ่มแม่บ้าน ไปจนถึงพยาบาล และ แพทย์”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ได้มองเพียงการส่งออกแรงงานไปยังประเทศในแถบอาเซียนหรือเอเชียเท่านั้น ยังมองไปถึงอีกหลายตลาดในยุโรปและในแปซิฟิก จึงได้ให้ความสำคัญต่อการอบรมบุคลากรให้รู้และชำนาญมากกว่าภาษาอังกฤษ แต่จะก้าวไปถึงความชำนาญในภาษาที่ 3 อย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาสเปน เป็นต้น ซึ่งตลาดที่ใช้ภาษาเหล่านี้
ยังต้องการแรงงานอีกจำนวนมาก
นางจันทรากล่าวว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการตั้งรับด้านการเปิดเสรีแรงงานของประเทศไทยที่จะเริ่มมีขึ้นในปี 2558 ตามข้อตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้านแรงงานเสรี หรือ MRA ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
การตั้งรับของประเทศไทยต้องทำ 2 อย่างควบคู่กันไป กล่าวคือ การวางมาตรฐานการรับแรงงานต่างชาติที่ต้องการจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยจะต้องมีข้อกำหนดว่าแรงงานนั้นๆ ต้อง พูด ฟัง สื่อสารภาษาไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบุคลากรด้านการแพทย์และพยาบาล รวมถึงต้องผ่านเกณฑมาตรฐานการให้บริการ เพราะเชื่อว่าหากเป็นงานด้านบริการประเทศไทยมีจุดแข็งที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ แน่นอน ขณะเดียวกัน ในส่วนของแรงงานไทยก็ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน โดยจะต้องไม่เกี่ยวงงาน ไม่เลือกงาน ส่วนผู้ประกอบการก็ต้องให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับคุณภาพของแรงงานที่ได้รับ
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่ารายได้ของค่าจ้างแรงงานไทยไม่จูงใจให้คนไทยอยากทำงานในประเทศแต่จะออกไปแสวงหางานในต่างประเทสเพื่อรายได้ที่มากกว่า แม้จะไปเป็นเพียงพนักงานเสิร์ฟอาหารก็ตาม ประกอบกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ไม่ชอบทำงานแบบประจำ แต่ชอบทำงานเป็นฟีแลนซ์ รับเป็นงานๆ ไป ดังนั้น โดยส่วนตัวจึงอยากเห็นการพัฒนาแรงงานภายหลังเปิดเสรีเออีซีโดยปรับไปในรูปของการบูรณาการแรงงาน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งแรงงานที่ขาดแคลนของไทยในวันนี้คือระดับล่าง อย่างแม่บ้าน พนักงานทำความสะอาด และแรงงานระดับสูง คือระดับผู้จัดการ ซึ่งผู้ประกอบการควรตั้งค่าแรงให้จูงใจมากขึ้น ส่วนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็จะหารือเพิ่มขีดคุณภาพแรงงานไทย