สทน.ชี้คนไทยเที่ยวไทยเดือนตุลาคมส่อแววลดลง 10% เหตุหลัก “กลัวน้ำท่วม-พายุแกมี-รถคันแรก” อัดรัฐบาลยังไม่มีมาตรการกระตุ้นชัดเจน
นายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลของตลาดคนไทยเที่ยวเมืองไทยพบว่า ในช่วงเดือนตุลาคมคาดว่าจะมีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางลดลง 10% จากปีที่แล้ว โดยสัดส่วนแบ่งเป็นผู้ที่เดินทางเที่ยวเอง 80% และผ่านบริษัททัวร์ 20% เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องปัญหาน้ำท่วมในช่วงนี้ ปัญหาวิกฤตจากยุโรป ผลกระทบจากโครงการรถคันแรก รวมทั้งกลัวพายุแกมีที่จะพัดเข้าไทยช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ จึงไม่กล้าที่จะออกเดินทางไปท่องเที่ยวที่อื่น
“โดยเฉพาะประเด็นโครงการรถคันแรกนั้นกระทบต่อตลาดในกลุ่มคนที่เกษียณอายุที่ได้นำเงินเก็บจากเดิมที่วางแผนไปท่องเที่ยวก็นำมาซื้อรถแทน ซึ่งนโยบายตรงนี้ทำให้แย่งส่วนแบ่งตลาดไปและมองว่าจะกระทบยาวไปถึงไตรมาสแรกของปี 2556”
แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง จากโครงการรถคันแรกที่จะส่งผลให้มีรถใหม่ออกมาประมาณ 3-4 แสนคันนั้น ก็คงจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการเดินทางท่องเที่ยวได้บ้าง เพราะจะทำให้ผู้บริโภคมีรถเป็นส่วนตัวสามารถเดินทางท่องเที่ยวเองได้อย่างสะดวกในระยะสั้นๆ เช่น หัวหิน ระยอง และพัทยา เป็นต้น ซึ่งหลังจากนี้จะพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นตลาดการบริโภคของประชาชน และเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อพบปะกับผู้ขายโดยตรง
ขณะที่นโยบายการตั้งเป้าหมายรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของรัฐบาลไว้ที่ 2 ล้านล้านบาท เรามองว่า ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้งบประมาณไม่มาก ส่วนรัฐบาลเองก็ไม่ได้ออกนโยบายที่จูงใจให้คนท่องเที่ยวอย่างชัดเจนเลย แตกต่างกับกระทรวงอื่นๆ ที่มีนโยบายออกมามากมาย เช่น รถยนต์คันแรก และบ้านหลังแรก
ส่วนนโยบาย หรือมาตรการกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวเดิม คือ ประชาชนสามารถนำใบเสร็จค่าห้องพักในโรงแรม และค่าเครื่องบินในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยมาหักลดหย่อนภาษีภาษีบุคคลธรรมดาได้ วงเงินไม่เกิน 15,000 บาทต่อรายต่อปี ก็ไม่มีการขยายเวลาออกไปอีกทั้งๆ ที่ได้ผลดี อีกทั้งภาครัฐบาลควรออกนโยบายให้เงินกลุ่มเกษียณจำนวน 5-8 พันบาทมาใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีประมาณ 5-6 หมื่นคน”
ในปีนี้ได้มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขคนไทยเที่ยวในประเทศปีนี้ว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5% หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางประมาณ 105-107 ล้านคนครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ 4 แสนล้านบาท
นายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลของตลาดคนไทยเที่ยวเมืองไทยพบว่า ในช่วงเดือนตุลาคมคาดว่าจะมีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางลดลง 10% จากปีที่แล้ว โดยสัดส่วนแบ่งเป็นผู้ที่เดินทางเที่ยวเอง 80% และผ่านบริษัททัวร์ 20% เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องปัญหาน้ำท่วมในช่วงนี้ ปัญหาวิกฤตจากยุโรป ผลกระทบจากโครงการรถคันแรก รวมทั้งกลัวพายุแกมีที่จะพัดเข้าไทยช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ จึงไม่กล้าที่จะออกเดินทางไปท่องเที่ยวที่อื่น
“โดยเฉพาะประเด็นโครงการรถคันแรกนั้นกระทบต่อตลาดในกลุ่มคนที่เกษียณอายุที่ได้นำเงินเก็บจากเดิมที่วางแผนไปท่องเที่ยวก็นำมาซื้อรถแทน ซึ่งนโยบายตรงนี้ทำให้แย่งส่วนแบ่งตลาดไปและมองว่าจะกระทบยาวไปถึงไตรมาสแรกของปี 2556”
แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง จากโครงการรถคันแรกที่จะส่งผลให้มีรถใหม่ออกมาประมาณ 3-4 แสนคันนั้น ก็คงจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการเดินทางท่องเที่ยวได้บ้าง เพราะจะทำให้ผู้บริโภคมีรถเป็นส่วนตัวสามารถเดินทางท่องเที่ยวเองได้อย่างสะดวกในระยะสั้นๆ เช่น หัวหิน ระยอง และพัทยา เป็นต้น ซึ่งหลังจากนี้จะพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นตลาดการบริโภคของประชาชน และเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อพบปะกับผู้ขายโดยตรง
ขณะที่นโยบายการตั้งเป้าหมายรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของรัฐบาลไว้ที่ 2 ล้านล้านบาท เรามองว่า ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้งบประมาณไม่มาก ส่วนรัฐบาลเองก็ไม่ได้ออกนโยบายที่จูงใจให้คนท่องเที่ยวอย่างชัดเจนเลย แตกต่างกับกระทรวงอื่นๆ ที่มีนโยบายออกมามากมาย เช่น รถยนต์คันแรก และบ้านหลังแรก
ส่วนนโยบาย หรือมาตรการกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวเดิม คือ ประชาชนสามารถนำใบเสร็จค่าห้องพักในโรงแรม และค่าเครื่องบินในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยมาหักลดหย่อนภาษีภาษีบุคคลธรรมดาได้ วงเงินไม่เกิน 15,000 บาทต่อรายต่อปี ก็ไม่มีการขยายเวลาออกไปอีกทั้งๆ ที่ได้ผลดี อีกทั้งภาครัฐบาลควรออกนโยบายให้เงินกลุ่มเกษียณจำนวน 5-8 พันบาทมาใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งสัดส่วนของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีประมาณ 5-6 หมื่นคน”
ในปีนี้ได้มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขคนไทยเที่ยวในประเทศปีนี้ว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5% หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางประมาณ 105-107 ล้านคนครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ 4 แสนล้านบาท