สยาม พารากอน ชี้เออีซีเปิดปี 58 อุตฯ สิ่งทอ อัญมณี 3-4 แสนล้านบาท โตพรวด 50% แบรนด์เนมระดับโลกตบเท้าลุยเอเชีย เร่งบูมภาพลักษณ์ไทยศูนย์กลางแฟชั่นเอเชีย อัดงบ 60ล้านบาทสูงสุดรอบหลายปี ผุดงาน”กูตูร์ แฟชั่น วีคส์” หวังผลักดันและยกระดับวงการแฟชั่นเอเชียให้ก้าวสู่เวทีระดับโลก
นายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า จากการที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นใน 2558 ทำให้ต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์และฐานของประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งแฟชั่นของเอเชีย เนื่องจากคาดว่าหลังจากเออีซีเปิดจะผลักดันให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและอัญมณีมูลค่า 3-4 แสนล้านบาท เติบโต 50% จากปกติการเติบโตของอุตฯ
โดยเฉลี่ย 20% ดังนั้นได้ทุ่มงบ 60 ล้านบาท สูงสุดในรอบหลายปีสำหรับการจัดงานแฟชั่น วีคส์ ภายใต้งาน ”สยามพารากอน อินเตอร์เนชั่นแนล กูตูร์ แฟชั่น วีค 2012”
ทั้งนี้ได้ใช้งบถึง 20 ล้านบาทในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง และอีก 40 ล้านบาทเป็นการจัดงาน ซึ่งภายในงานจะมีดีไซเนอร์ระดับโลก ได้แก่ คริสตอฟ จอสส์ หนึ่งใน 12 กูตูร์ริเย่ร์ของสมาพันธ์ห้องเสื้อชั้นสูงแห่งฝรั่งเศส ลี ซาง บอง จากเกาหลี เฟรเดอริค ลี จากสิงค์โปร์ และยูมิ คัตซุระ จากญี่ปุ่น
ร่วมกับดีไซน์เนอร์ชั้นนำของไทย คือ ชำนัญ ภักดีสุข ,นคร สัมพันธารักษ์ และ ศิริชัย ทหรานนท์ โดยงานจะเริ่มระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน นี้ ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
“การจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนล กูตูร์ แฟชั่น วีค 2012 ถือว่าเป็นงานแฟชั่นระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชีย นับว่าเป็นก้าวสำคัญของดีไซเนอร์ไทยและวงการแฟชั่นไทย ในการแสดงศักยภาพและเอกลักษณ์อันโดดเด่น และยังเป็นจุดเริ่มต้นสู่การเปิดประตูของเออีซี เพื่อผลักดันและยกระดับวงการแฟชั่นเอเชียให้ก้าวสู่เวทีระดับโลก ซึ่งถือว่าเป็นการยกระดับแบรนด์ไทย”
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและอัญมณี สำหรับประเทศไทย เพราะว่ามีความได้เปรียบด้านราคาสินค้าที่ถูกกว่า 50% เมื่อเทียบงานระดับกูตูร์ ขณะที่งานก็มีคุณภาพและการออกแบบที่ไม่เป็นรองใคร แม้ว่าขณะนี้ด้านศูนย์กลางแห่งแฟชั่นจะเป็นรองฮ่องกงและสิงคโปร์ก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่าอุตฯสิ่งทอในภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นตลาดที่มีการเติบโต จากการที่มีแบรนด์เนมต่างๆ สนใจเข้ามาทำตลาดมากขึ้น หลังจากที่ยุโรปและอเมริกาประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่จีนภาวะเศรษฐกิจเริ่มทรงตัว
สำหรับตลาดกลุ่มสินค้าแฟชั่นระดับกูตูร์หรือดีไซน์เนอร์ชั้นสูงในประเทศไทย มีฐานลูกค้าเป็นหลัก 100 ราย ส่วนระดับโอต กูตูร์ มีฐานลูกค้าเป็นหลัก 10 รายเท่านั้น เนื่องจากเป็นกลุ่มเสื้อผ้าที่มีราคาสูงหลักแสน-ล้านบาทขึ้นไป
โดยกลุ่มเป้าหมายมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสูง อย่างไรก็ตามปัจจุบันสยามพารากอน มีสินค้าแบรนด์เนมกว่า 1,000 แบรนด์ โดยเป็น แบรนด์ของไทย 70% และอีก 30% เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ ทั้งนี้จากการจัดงานดังกล่าวคาดว่าจะมีคนร่วมงาน 2,400 คน
นายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า จากการที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นใน 2558 ทำให้ต้องเร่งสร้างภาพลักษณ์และฐานของประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งแฟชั่นของเอเชีย เนื่องจากคาดว่าหลังจากเออีซีเปิดจะผลักดันให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและอัญมณีมูลค่า 3-4 แสนล้านบาท เติบโต 50% จากปกติการเติบโตของอุตฯ
โดยเฉลี่ย 20% ดังนั้นได้ทุ่มงบ 60 ล้านบาท สูงสุดในรอบหลายปีสำหรับการจัดงานแฟชั่น วีคส์ ภายใต้งาน ”สยามพารากอน อินเตอร์เนชั่นแนล กูตูร์ แฟชั่น วีค 2012”
ทั้งนี้ได้ใช้งบถึง 20 ล้านบาทในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง และอีก 40 ล้านบาทเป็นการจัดงาน ซึ่งภายในงานจะมีดีไซเนอร์ระดับโลก ได้แก่ คริสตอฟ จอสส์ หนึ่งใน 12 กูตูร์ริเย่ร์ของสมาพันธ์ห้องเสื้อชั้นสูงแห่งฝรั่งเศส ลี ซาง บอง จากเกาหลี เฟรเดอริค ลี จากสิงค์โปร์ และยูมิ คัตซุระ จากญี่ปุ่น
ร่วมกับดีไซน์เนอร์ชั้นนำของไทย คือ ชำนัญ ภักดีสุข ,นคร สัมพันธารักษ์ และ ศิริชัย ทหรานนท์ โดยงานจะเริ่มระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน นี้ ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
“การจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนล กูตูร์ แฟชั่น วีค 2012 ถือว่าเป็นงานแฟชั่นระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชีย นับว่าเป็นก้าวสำคัญของดีไซเนอร์ไทยและวงการแฟชั่นไทย ในการแสดงศักยภาพและเอกลักษณ์อันโดดเด่น และยังเป็นจุดเริ่มต้นสู่การเปิดประตูของเออีซี เพื่อผลักดันและยกระดับวงการแฟชั่นเอเชียให้ก้าวสู่เวทีระดับโลก ซึ่งถือว่าเป็นการยกระดับแบรนด์ไทย”
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและอัญมณี สำหรับประเทศไทย เพราะว่ามีความได้เปรียบด้านราคาสินค้าที่ถูกกว่า 50% เมื่อเทียบงานระดับกูตูร์ ขณะที่งานก็มีคุณภาพและการออกแบบที่ไม่เป็นรองใคร แม้ว่าขณะนี้ด้านศูนย์กลางแห่งแฟชั่นจะเป็นรองฮ่องกงและสิงคโปร์ก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่าอุตฯสิ่งทอในภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นตลาดที่มีการเติบโต จากการที่มีแบรนด์เนมต่างๆ สนใจเข้ามาทำตลาดมากขึ้น หลังจากที่ยุโรปและอเมริกาประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่จีนภาวะเศรษฐกิจเริ่มทรงตัว
สำหรับตลาดกลุ่มสินค้าแฟชั่นระดับกูตูร์หรือดีไซน์เนอร์ชั้นสูงในประเทศไทย มีฐานลูกค้าเป็นหลัก 100 ราย ส่วนระดับโอต กูตูร์ มีฐานลูกค้าเป็นหลัก 10 รายเท่านั้น เนื่องจากเป็นกลุ่มเสื้อผ้าที่มีราคาสูงหลักแสน-ล้านบาทขึ้นไป
โดยกลุ่มเป้าหมายมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสูง อย่างไรก็ตามปัจจุบันสยามพารากอน มีสินค้าแบรนด์เนมกว่า 1,000 แบรนด์ โดยเป็น แบรนด์ของไทย 70% และอีก 30% เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ ทั้งนี้จากการจัดงานดังกล่าวคาดว่าจะมีคนร่วมงาน 2,400 คน