สสปน.ประกาศแผนปี 56 มุ่งสู่ดิจิตอลไมซ์ เร่งดึงงานจากต่างประเทศคู่กับการปั้นแบรนด์ให้คนไทยรู้จักองค์กรผ่านกลยุทธ์360 องศา ชูภาพลักษณ์เป็นหน่วยงานสร้างโอกาสให้นักธุรกิจไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านงบประมาณ 870 ล้านบาท เล็งขยายตลาดอาเซียนลดเสี่ยงวิกฤตยูโร ยอมรับผู้จัดงานเอ็กซิบิชัน 60% ผวาการเมืองไทย เผยมั่นใจอยุธยาพร้อมจัดเวิลด์เอ็กซ์โป
วันนี้ (13 ก.ย.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัดแถลงทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ปี 56 นายธงชัย ศรีดามา กรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2556 สสปน.จะดำเนินงานภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรที่ 870 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2555 เล็กน้อย ซึ่งเป็นงบบริหาร 147 ล้านบาท หรือ 17% และงบดำเนินงานตามภารกิจ 723 ล้านบาท หรือ 83% ในที่นี้แบ่งเป็นใช้เพื่อดึงงานเข้าประเทศ (WIN) 318 ล้านบาท หรือ 37%, การส่งเสริมกิจกรรมการตลาด (PROMOTE) 236 ล้านบาท และการพัฒนา (DEVELOP) 169 ล้านบาท หรือ 19%
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 สสปน.จะทำตลาดเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบ พัฒนาสู่ดิจิตอลไมซ์ และสร้างการรับรู้แบรนด์ สสปน.ให้เป็นที่รู้จักของตลาดในประเทศ ชูความเป็นองค์กรที่เน้นผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการ และให้ความสำคัญต่อการดึงงานไมซ์เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งปี 2556 จะมีงานใหญ่อย่างน้อย 3-4 งาน ได้แก่ งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ คาดผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน โดยจะประกาศผลในเดือน ต.ค.นี้ งานเวิลด์ แสตมป์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีจะมีผู้ร่วมราว 10,000 คน รวมถึงงานโปรเฮลท์ ไชน่า คอนเวนชัน จากจีนที่คาดจะมีผู้ร่วมกว่า 10,000 คน
ด้านการประชาสัมพันธ์ เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมไมซ์และบทบาทของ สสปน.ผ่านกลยุทธ์สื่อสาร 360 องศา เปิดตัวบริการ TCEB Call Center 1105 สื่อสารทั้งเชิงรุกและรับในรูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจร่วมงานประชุมและเอ็กซิบิชันต่างๆ ที่จัดในประเทศไทย รวมถึงการแจ้งกำหนดการจัดงานต่างๆให้แก่นักธุรกิจเป้าหมายได้รับทราบจากฐานข้อมูลซึ่งเป็นองค์กรและหน่วยงานต่างๆ กว่า 7,200 ราย รวมถึงจัดตั้งศูนย์ข้อมูลไมซ์ เผย 40 ฐานข้อมูลในพื้นที่เทรดเจาะตลาดในประเทศ
ด้านกลยุทธ์การทำงาน ชู 5 จุดขายแข่งกับต่างประเทศ ได้แก่ ความแตกต่างในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์เชิงรุก, สร้างโอกาสทางธุรกิจและความสำเร็จของผู้จัดงาน, เสนอประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อความสำเร็จ, การมีมาตรฐานจัดงานระดับสากลและบุคลากรไมซ์ที่เป็นมืออาชีพ ส่วนแผนการตลาด ปรับทัพรุกอุตสาหกรรมไมซ์ในและต่างประเทศโดยมีแผนเพิ่มตำแหน่งรองผู้อำนวยการดูแลสายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ, เน้นขยายตลาดระยะใกล้ อย่างอาเซียน+6 และเอเชีย เพื่อรองรับการเปิด AEC ในปี 2558 โดยกลุ่มอินเซนทีฟ นอกจากเน้นอาเซียน+6 และเอเชียแล้ว ยังคงรักษาฐานลูกค้าเก่าอย่างอียูและอเมริกา, อุตสาหกรรมแสดงสินค้า เน้นตลาดอาเซียนเจาะกลุ่ม GMS และ BIMSTEC ด้านตลาดในประเทศมุ่งพัฒนาไมซ์ซิตี้และงานแสดงสินค้า
***ดันองค์กรสู่ดิจิตอลไมซ์****
สสปน.ยังมีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ 3 ปีตั้งแต่ปี 56-58 พัฒนาช่องทางระบบออนไลน์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันบนมือถือคู่ไปกับการพัฒนาเว็บไซต์ และเครื่องมือการตลาดครบวงจร โดยตั้งเป้าหมายผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเอเชีย จากกรีนมีตติ้งสู่ Sustainability Thailand
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 สสปน.ตั้งเป้าหมายผลักดันธุรกิจไมซ์ให้เติบโต 7% จากยอดผู้เดินทางรวม 7.92 แสนคน สร้างรายได้ 63,920 ล้านบาท ใช้จ่ายต่อคนต่อทริปเฉลี่ยคนละ 80,707 บาท เพิ่มจากปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายคือ 7.5 แสนคน รายได้ 6 หมื่นล้านบาท โดยนักเดินทางกลุ่มไมซ์ต่อปีมีสัดส่วน 9.79% ของนักท่องเที่ยวรวม
นายธงชัยกล่าวถึงความคืบหน้าการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ว่า ไทยยังมีสิทธิ์จะลุ้นได้รับคัดเลือก เพราะบริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบพื้นที่จัดงานภายใต้แนวคิดให้ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้ จึงมั่นใจว่าไทยยังมีสิทธิ์ลุ้นได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการงานมหกรรมโลก (บีไออี) ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป ล่าสุดนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งการให้ สสปน.ศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายหลังจัดงานเสร็จ คาด พ.ย.นี้ได้ข้อสรุป แต่คาดว่าไม่เกิน 60,000 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมประเมินว่าจะใช้ 30,000-40,000 ล้านบาท
***ผู้จัดเอ็กซิบิชัน 60% ผวาการเมืองไทย***
นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผู้จัดงานแสดงสินค้าคือความไม่มั่นใจในการเมืองประเทศไทย เพราะจากผลสำรวจจากผู้จัดงาน พบว่า 60% ยังมองว่าประเทศไทยมีความขัดแย้งเรื่องปัญหาทางการเมืองเป็นอันดับแรก เพราะแต่ละงานผู้จัดต้องลงทุนหลายร้อยล้านบาทจึงต้องการความมั่นใจสูงสุด ดังนั้น สสปน.จะเร่งกลยุทธ์ในรูปแบบผนึกเป็นพันธมิตรเสริมความแกร่งเพื่อไปดึงงานจากต่างประเทศเข้ามาจัดในไทย เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น
นางสาววิชญา สุนทรศารทูล รักษาการผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการประชุม สสปน. กล่าวว่า ICCA (International Congress and Convention Association) สำรวจเทรนด์ทั่วโลกพบว่า ขนาดของกลุ่มสัมมนาจะเล็กลงเหลือประมาณ 500 คน และเป็นด้านเฉพาะทางมากขึ้น จากปัจจุบัน 1,000 คน แต่ความถี่ในการเดินทางสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเกิดเทคโนโลยีเสมือนจริง ทำให้การประชุมแบบไม่ต้องพบปะกัน แผนปี 56 จึงเตรียมปรับตัวมุ่งตลาดเศรษฐกิจใหม่และเป็นตลาดระยะเดินทางใกล้ย่านเอเชียและอาเซียน ลดผลกระทบจากการหดตัวของตลาดยุโรปอย่างอิตาลี และสเปน
**ใช้โดเมสติกไมซ์เสริมรายได้***
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ กล่าวว่า ตลาดโดเมสติกไมซ์ ปี 56 คาดว่าจะมีรายได้สะพัดกว่า 12,000 ล้านบาท และ พ.ย.นี้จะมีการประชุม “ไมซ์ ซัมมิต” เพื่อระดมความคิดเห็นภาคเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่การเป็นฮับด้านการจัดประชุมของภูมิภาค ต้อนรับการเปิดศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ในปีหน้า ส่วนภารกิจหลักยังคงเดินหน้าเปิดไมซ์ซิตี้เพิ่ม แผนปีหน้าคือที่หาดใหญ่ และขอนแก่น จากก่อนหน้าประกาศไปแล้วที่ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
วันนี้ (13 ก.ย.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัดแถลงทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ปี 56 นายธงชัย ศรีดามา กรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2556 สสปน.จะดำเนินงานภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรที่ 870 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2555 เล็กน้อย ซึ่งเป็นงบบริหาร 147 ล้านบาท หรือ 17% และงบดำเนินงานตามภารกิจ 723 ล้านบาท หรือ 83% ในที่นี้แบ่งเป็นใช้เพื่อดึงงานเข้าประเทศ (WIN) 318 ล้านบาท หรือ 37%, การส่งเสริมกิจกรรมการตลาด (PROMOTE) 236 ล้านบาท และการพัฒนา (DEVELOP) 169 ล้านบาท หรือ 19%
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 สสปน.จะทำตลาดเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบ พัฒนาสู่ดิจิตอลไมซ์ และสร้างการรับรู้แบรนด์ สสปน.ให้เป็นที่รู้จักของตลาดในประเทศ ชูความเป็นองค์กรที่เน้นผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการ และให้ความสำคัญต่อการดึงงานไมซ์เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งปี 2556 จะมีงานใหญ่อย่างน้อย 3-4 งาน ได้แก่ งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ คาดผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน โดยจะประกาศผลในเดือน ต.ค.นี้ งานเวิลด์ แสตมป์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีจะมีผู้ร่วมราว 10,000 คน รวมถึงงานโปรเฮลท์ ไชน่า คอนเวนชัน จากจีนที่คาดจะมีผู้ร่วมกว่า 10,000 คน
ด้านการประชาสัมพันธ์ เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมไมซ์และบทบาทของ สสปน.ผ่านกลยุทธ์สื่อสาร 360 องศา เปิดตัวบริการ TCEB Call Center 1105 สื่อสารทั้งเชิงรุกและรับในรูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจร่วมงานประชุมและเอ็กซิบิชันต่างๆ ที่จัดในประเทศไทย รวมถึงการแจ้งกำหนดการจัดงานต่างๆให้แก่นักธุรกิจเป้าหมายได้รับทราบจากฐานข้อมูลซึ่งเป็นองค์กรและหน่วยงานต่างๆ กว่า 7,200 ราย รวมถึงจัดตั้งศูนย์ข้อมูลไมซ์ เผย 40 ฐานข้อมูลในพื้นที่เทรดเจาะตลาดในประเทศ
ด้านกลยุทธ์การทำงาน ชู 5 จุดขายแข่งกับต่างประเทศ ได้แก่ ความแตกต่างในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์เชิงรุก, สร้างโอกาสทางธุรกิจและความสำเร็จของผู้จัดงาน, เสนอประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อความสำเร็จ, การมีมาตรฐานจัดงานระดับสากลและบุคลากรไมซ์ที่เป็นมืออาชีพ ส่วนแผนการตลาด ปรับทัพรุกอุตสาหกรรมไมซ์ในและต่างประเทศโดยมีแผนเพิ่มตำแหน่งรองผู้อำนวยการดูแลสายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ, เน้นขยายตลาดระยะใกล้ อย่างอาเซียน+6 และเอเชีย เพื่อรองรับการเปิด AEC ในปี 2558 โดยกลุ่มอินเซนทีฟ นอกจากเน้นอาเซียน+6 และเอเชียแล้ว ยังคงรักษาฐานลูกค้าเก่าอย่างอียูและอเมริกา, อุตสาหกรรมแสดงสินค้า เน้นตลาดอาเซียนเจาะกลุ่ม GMS และ BIMSTEC ด้านตลาดในประเทศมุ่งพัฒนาไมซ์ซิตี้และงานแสดงสินค้า
***ดันองค์กรสู่ดิจิตอลไมซ์****
สสปน.ยังมีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ 3 ปีตั้งแต่ปี 56-58 พัฒนาช่องทางระบบออนไลน์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันบนมือถือคู่ไปกับการพัฒนาเว็บไซต์ และเครื่องมือการตลาดครบวงจร โดยตั้งเป้าหมายผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเอเชีย จากกรีนมีตติ้งสู่ Sustainability Thailand
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 สสปน.ตั้งเป้าหมายผลักดันธุรกิจไมซ์ให้เติบโต 7% จากยอดผู้เดินทางรวม 7.92 แสนคน สร้างรายได้ 63,920 ล้านบาท ใช้จ่ายต่อคนต่อทริปเฉลี่ยคนละ 80,707 บาท เพิ่มจากปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายคือ 7.5 แสนคน รายได้ 6 หมื่นล้านบาท โดยนักเดินทางกลุ่มไมซ์ต่อปีมีสัดส่วน 9.79% ของนักท่องเที่ยวรวม
นายธงชัยกล่าวถึงความคืบหน้าการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ว่า ไทยยังมีสิทธิ์จะลุ้นได้รับคัดเลือก เพราะบริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบพื้นที่จัดงานภายใต้แนวคิดให้ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้ จึงมั่นใจว่าไทยยังมีสิทธิ์ลุ้นได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการงานมหกรรมโลก (บีไออี) ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป ล่าสุดนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งการให้ สสปน.ศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายหลังจัดงานเสร็จ คาด พ.ย.นี้ได้ข้อสรุป แต่คาดว่าไม่เกิน 60,000 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมประเมินว่าจะใช้ 30,000-40,000 ล้านบาท
***ผู้จัดเอ็กซิบิชัน 60% ผวาการเมืองไทย***
นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผู้จัดงานแสดงสินค้าคือความไม่มั่นใจในการเมืองประเทศไทย เพราะจากผลสำรวจจากผู้จัดงาน พบว่า 60% ยังมองว่าประเทศไทยมีความขัดแย้งเรื่องปัญหาทางการเมืองเป็นอันดับแรก เพราะแต่ละงานผู้จัดต้องลงทุนหลายร้อยล้านบาทจึงต้องการความมั่นใจสูงสุด ดังนั้น สสปน.จะเร่งกลยุทธ์ในรูปแบบผนึกเป็นพันธมิตรเสริมความแกร่งเพื่อไปดึงงานจากต่างประเทศเข้ามาจัดในไทย เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น
นางสาววิชญา สุนทรศารทูล รักษาการผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการประชุม สสปน. กล่าวว่า ICCA (International Congress and Convention Association) สำรวจเทรนด์ทั่วโลกพบว่า ขนาดของกลุ่มสัมมนาจะเล็กลงเหลือประมาณ 500 คน และเป็นด้านเฉพาะทางมากขึ้น จากปัจจุบัน 1,000 คน แต่ความถี่ในการเดินทางสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเกิดเทคโนโลยีเสมือนจริง ทำให้การประชุมแบบไม่ต้องพบปะกัน แผนปี 56 จึงเตรียมปรับตัวมุ่งตลาดเศรษฐกิจใหม่และเป็นตลาดระยะเดินทางใกล้ย่านเอเชียและอาเซียน ลดผลกระทบจากการหดตัวของตลาดยุโรปอย่างอิตาลี และสเปน
**ใช้โดเมสติกไมซ์เสริมรายได้***
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ กล่าวว่า ตลาดโดเมสติกไมซ์ ปี 56 คาดว่าจะมีรายได้สะพัดกว่า 12,000 ล้านบาท และ พ.ย.นี้จะมีการประชุม “ไมซ์ ซัมมิต” เพื่อระดมความคิดเห็นภาคเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่การเป็นฮับด้านการจัดประชุมของภูมิภาค ต้อนรับการเปิดศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ในปีหน้า ส่วนภารกิจหลักยังคงเดินหน้าเปิดไมซ์ซิตี้เพิ่ม แผนปีหน้าคือที่หาดใหญ่ และขอนแก่น จากก่อนหน้าประกาศไปแล้วที่ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต