สมาคมป้ายและโฆษณาเดินหน้าจัดระเบียบป้ายรับมือเออีซี มองอนาคตต่างชาติพุ่งเป้าชิงเค้กบิลบอร์ดเพียบ ขณะที่โลเกชันดีลดลง ส่งผลแข่งขันสูง มูลค่าตลาดโตไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัว พร้อมอ้อน กทม.ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจร่วมจัดระเบียบการขึ้นป้าย มั่นใจสิ้นปีบิลบอร์ดยังได้รับการตอบรับอย่างดี แตะ 5,400 ล้านบาท
นายสาคร ตรีธนจิตต์ นายกสมาคมป้ายและโฆษณา เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจป้ายโฆษณากลางแจ้งของไทย ในแง่จำนวนป้ายแล้วถือว่ามีขนาดใหญ่สุดในเอเชีย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 ป้าย ซึ่งในจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีการก่อสร้างอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีใบอนุญาต 70% 2. กลุ่มที่ก่อสร้างไม่ถูกต้อง แต่มีใบอนุญาต 20% และ 3. กลุ่มที่มีการก่อสร้างไม่ถูกต้องและไม่มีใบอนุญาต 10% ซึ่งในจำนวนดังกล่าวนั้นเป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ เพียง 500 กว่าป้ายเท่านั้น หรือคิดเป็นจำนวนราย 200-300 กว่าราย จากผู้ประกอบการทั้งหมด 1,000 กว่าราย
ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ พร้อมเดินหน้าจัดโครงการ Safety สำหรับป้ายโฆษณากลางแจ้ง ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถมั่นใจได้ว่าป้ายดังกล่าวมีคุณภาพและมีความมั่นคงแข็งแรง โดยทางสมาคมฯ จะมีการจัดตรวจสอบโครงการนี้ทุกๆ ปี ทั้งนี้เพื่อต้องการดึงให้ป้ายโฆษณากลางแจ้งมีมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ที่สำคัญต้องการให้กลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วยเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งเพื่อรวมตัวกันรับมือกับเออีซีที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าต่อไป
สำหรับการเปิดเออีซี มองว่าจะส่งผลให้มูลค่าตลาดสื่อป้ายโฆษณากลางแจ้งเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัว โดยมั่นใจว่าจะมีผู้ประกอบการต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมาก ทั้งจากเวียดนาม จีน สิงคโปร์ และฝรั่งเศส โดยแนวทางที่เข้ามาลงทุนนั้นมีหลายรูปแบบ มีทั้งลงทุนเองและเทกโอเวอร์ เป็นต้น ขณะที่จำนวนป้ายในเวลานั้นอาจจะไม่เพิ่มสูงขึ้นและอาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ เนื่องจากหลายๆ ทำเลอาจจะถูกขายต่อไปทำอย่างอื่นแทน ดังนั้นทำเลที่มีอยู่จึงมีมูลค่าสูงขึ้น บวกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้ป้ายโฆษณา จึงเป็นส่วนสำคัญให้มูลค่าตลาดเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัวได้ จากปัจจุบัน 7 เดือนที่ผ่านมามูลค่าตลาดสื่อป้ายโฆษณากลางแจ้งอยู่ที่ประมาณ 2,700 ล้านบาท ถึงสิ้นปีนี้มองว่าจะโตขึ้นได้อีกเท่าตัว หรือปิดที่ 5,400 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าใหญ่ที่ใช้สื่อนี้คือ เรียลเอสเตท
นายสาครกล่าวต่อว่า ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากป้ายโฆษณาในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เกิดจากกลุ่มป้ายที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง ที่สำคัญไม่ได้เป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ แต่กลับสร้างปัญหาให้ธุรกิจป้ายทั้งระบบ ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้มีการปรึกษาหารือกับ กทม.มาโดยตลอดเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ล่าสุดในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาก็ได้ร่วมพูดคุยกับทาง กทม.อีกครั้ง โดย กทม.ได้ให้สมาคมฯ ร่วมคิดหาแนวทางแก้ไข ซึ่งสมาคมฯ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และในขณะนี้เพียงต้องการให้ กทม.ร่วมเป็นเจ้าภาพ และจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมากำกับจัดระเบียบการขึ้นป้ายโฆษณา พร้องวางแนวทางการก่อสร้างป้ายโฆษณาให้มีมาตรฐานเดียวกันต่อไป
นายสาคร ตรีธนจิตต์ นายกสมาคมป้ายและโฆษณา เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจป้ายโฆษณากลางแจ้งของไทย ในแง่จำนวนป้ายแล้วถือว่ามีขนาดใหญ่สุดในเอเชีย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 ป้าย ซึ่งในจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีการก่อสร้างอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีใบอนุญาต 70% 2. กลุ่มที่ก่อสร้างไม่ถูกต้อง แต่มีใบอนุญาต 20% และ 3. กลุ่มที่มีการก่อสร้างไม่ถูกต้องและไม่มีใบอนุญาต 10% ซึ่งในจำนวนดังกล่าวนั้นเป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ เพียง 500 กว่าป้ายเท่านั้น หรือคิดเป็นจำนวนราย 200-300 กว่าราย จากผู้ประกอบการทั้งหมด 1,000 กว่าราย
ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ พร้อมเดินหน้าจัดโครงการ Safety สำหรับป้ายโฆษณากลางแจ้ง ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถมั่นใจได้ว่าป้ายดังกล่าวมีคุณภาพและมีความมั่นคงแข็งแรง โดยทางสมาคมฯ จะมีการจัดตรวจสอบโครงการนี้ทุกๆ ปี ทั้งนี้เพื่อต้องการดึงให้ป้ายโฆษณากลางแจ้งมีมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ที่สำคัญต้องการให้กลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วยเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งเพื่อรวมตัวกันรับมือกับเออีซีที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าต่อไป
สำหรับการเปิดเออีซี มองว่าจะส่งผลให้มูลค่าตลาดสื่อป้ายโฆษณากลางแจ้งเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัว โดยมั่นใจว่าจะมีผู้ประกอบการต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมาก ทั้งจากเวียดนาม จีน สิงคโปร์ และฝรั่งเศส โดยแนวทางที่เข้ามาลงทุนนั้นมีหลายรูปแบบ มีทั้งลงทุนเองและเทกโอเวอร์ เป็นต้น ขณะที่จำนวนป้ายในเวลานั้นอาจจะไม่เพิ่มสูงขึ้นและอาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ เนื่องจากหลายๆ ทำเลอาจจะถูกขายต่อไปทำอย่างอื่นแทน ดังนั้นทำเลที่มีอยู่จึงมีมูลค่าสูงขึ้น บวกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้ป้ายโฆษณา จึงเป็นส่วนสำคัญให้มูลค่าตลาดเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัวได้ จากปัจจุบัน 7 เดือนที่ผ่านมามูลค่าตลาดสื่อป้ายโฆษณากลางแจ้งอยู่ที่ประมาณ 2,700 ล้านบาท ถึงสิ้นปีนี้มองว่าจะโตขึ้นได้อีกเท่าตัว หรือปิดที่ 5,400 ล้านบาท โดยกลุ่มลูกค้าใหญ่ที่ใช้สื่อนี้คือ เรียลเอสเตท
นายสาครกล่าวต่อว่า ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากป้ายโฆษณาในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เกิดจากกลุ่มป้ายที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง ที่สำคัญไม่ได้เป็นสมาชิกของทางสมาคมฯ แต่กลับสร้างปัญหาให้ธุรกิจป้ายทั้งระบบ ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้มีการปรึกษาหารือกับ กทม.มาโดยตลอดเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ล่าสุดในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาก็ได้ร่วมพูดคุยกับทาง กทม.อีกครั้ง โดย กทม.ได้ให้สมาคมฯ ร่วมคิดหาแนวทางแก้ไข ซึ่งสมาคมฯ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และในขณะนี้เพียงต้องการให้ กทม.ร่วมเป็นเจ้าภาพ และจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมากำกับจัดระเบียบการขึ้นป้ายโฆษณา พร้องวางแนวทางการก่อสร้างป้ายโฆษณาให้มีมาตรฐานเดียวกันต่อไป