กทม.ทบทวนมาตรการควบคุมป้ายโฆษณาทั่วกรุง เร่งสำรวจพร้อมรื้อถอนป้ายผิดกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมตั้งคณะกรรมการควบคุมป้ายโฆษณาโดยเฉพาะ
วันนี้ (14 ส.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า หลังจากเกิดเหตุป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ บริเวณถนนพระราม 2 ซอย 40 เขตจอมทอง ล้มทับบริษัท ปภัสธร จำกัด เมื่อวันที่ 12 ส.ค.2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายจรรยา สุวรรณบุตร อายุ 50 ปี ตนเองพร้อมผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ และได้สั่งการให้ดำเนินการรื้อถอนป้ายดังกล่าว รวมถึงรื้อแผ่นป้ายไวนิลและสังกะสีของป้ายโฆษณาที่อยู่ด้านข้างออก เพื่อลดแรงต้านลมเป็นการชั่วคราว ซึ่งสำนักงานเขตจอมทองได้ประสานสำนักการโยธา และวิศวกรของบริษัท ผู้ขออนุญาตก่อสร้างป้ายเข้ารื้อถอนดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (14 ส.ค.)
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน กทม.ได้มีมาตรการควบคุม ดูแลกรณีความมั่นคง แข็งแรงของป้ายโฆษณามาโดยตลอด โดยในช่วงก่อนเข้าฤดูร้อน หรือฤดูฝน ก็จะกำชับสำนักงานเขตดูแลเป็นพิเศษ โดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ได้มี ว 8 กำชับสำนักงานเขตให้ตรวจสอบและแจ้งความเอาผิดเจ้าของป้ายที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจากการสำรวจพบมีป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย จำนวน 142 ป้าย จากป้ายโฆษณาทั้งหมด 945 ป้าย แบ่งเป็นป้ายบนดิน 92 ป้าย และป้ายบนอาคาร 50 ป้าย โดยให้เร่งรัดการรื้อถอนโดยเฉพาะในจุดที่มีความเสี่ยง ส่วนกรณีป้ายที่ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายให้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของป้าย โดยสำนักงานเขตจะต้องเข้มงวดตามกฎหมายที่กำหนด ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กทม.มีข้อบัญญัติการควบคุมป้ายโฆษณา รวมทั้งป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าอาคาร ให้มีระยะห่าง 50 เมตรจากเขตทางพิเศษ ทางรถไฟ ถนนสายสำคัญหลายสาย รวมทั้งพื้นที่ภายในรัศมี 200 เมตร โดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กับพื้นที่ภายในระยะ 50 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายบางอย่างตามที่กำหนดไว้ในประกาศ
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวต่อว่า และในวันนี้ที่ประชุมคณะผู้บริหารได้มีมติกำหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยจะมี ว 8 ให้สำนักงานเขตดำเนินการ ตรวจสอบป้ายโฆษณาในพื้นที่เขตทั้งหมด โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง เช่น เขตชุมชนเป็นลำดับแรก ให้สำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าของป้ายผิดกฎหมาย รวมถึงให้เร่งรื้อถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมายที่สามารถดำเนินการรื้อถอนได้โดยเร็ว เนื่องจากบางป้ายยังอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี พร้อมทั้งให้สำนักงบประมาณ กทม.จัดสรรงบประมาณในการรื้อถอนด้วย นอกจากนี้ กทม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับ ดูแล ควบคุมการดำเนินงานในเรื่องของป้ายโฆษณาโดยเฉพาะด้วย
ด้าน นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผู้อำนวยการเขตจอมทอง กล่าวว่า ป้ายดังกล่าวได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่จะต้องมีการตรวจสอบรับรองโดยวิศวกร โดยยื่นขอใบ ร.1 กับสำนักการโยธา กทม.ทุกปี ซึ่งในปี 2555 ยังอยู่ระหว่างการยื่นเอกสาร โดยขณะนี้ทางสำนักงานเขตได้แจ้งความดำเนินคดีทางอาญากับเจ้าของป้าย กรณีที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไว้ที่ สน.บางมด และได้ประสานการช่วยเหลือผู้เสียชีวิต กับบริษัทประกันภัยเพื่อจ่ายเงินชดเชย จำนวน 65,000 บาท แก่ญาติผู้เสียชีวิต รวมถึงสำนักงานเขตจะออกหนังสือรับรองกรณีการเสียชีวิต เพื่อยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ 10,000 บาท จาก กทม.และขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามหลักเกณฑ์ต่อไป
วันนี้ (14 ส.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า หลังจากเกิดเหตุป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ บริเวณถนนพระราม 2 ซอย 40 เขตจอมทอง ล้มทับบริษัท ปภัสธร จำกัด เมื่อวันที่ 12 ส.ค.2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายจรรยา สุวรรณบุตร อายุ 50 ปี ตนเองพร้อมผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ และได้สั่งการให้ดำเนินการรื้อถอนป้ายดังกล่าว รวมถึงรื้อแผ่นป้ายไวนิลและสังกะสีของป้ายโฆษณาที่อยู่ด้านข้างออก เพื่อลดแรงต้านลมเป็นการชั่วคราว ซึ่งสำนักงานเขตจอมทองได้ประสานสำนักการโยธา และวิศวกรของบริษัท ผู้ขออนุญาตก่อสร้างป้ายเข้ารื้อถอนดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (14 ส.ค.)
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน กทม.ได้มีมาตรการควบคุม ดูแลกรณีความมั่นคง แข็งแรงของป้ายโฆษณามาโดยตลอด โดยในช่วงก่อนเข้าฤดูร้อน หรือฤดูฝน ก็จะกำชับสำนักงานเขตดูแลเป็นพิเศษ โดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ได้มี ว 8 กำชับสำนักงานเขตให้ตรวจสอบและแจ้งความเอาผิดเจ้าของป้ายที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจากการสำรวจพบมีป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย จำนวน 142 ป้าย จากป้ายโฆษณาทั้งหมด 945 ป้าย แบ่งเป็นป้ายบนดิน 92 ป้าย และป้ายบนอาคาร 50 ป้าย โดยให้เร่งรัดการรื้อถอนโดยเฉพาะในจุดที่มีความเสี่ยง ส่วนกรณีป้ายที่ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายให้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของป้าย โดยสำนักงานเขตจะต้องเข้มงวดตามกฎหมายที่กำหนด ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กทม.มีข้อบัญญัติการควบคุมป้ายโฆษณา รวมทั้งป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าอาคาร ให้มีระยะห่าง 50 เมตรจากเขตทางพิเศษ ทางรถไฟ ถนนสายสำคัญหลายสาย รวมทั้งพื้นที่ภายในรัศมี 200 เมตร โดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กับพื้นที่ภายในระยะ 50 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายบางอย่างตามที่กำหนดไว้ในประกาศ
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวต่อว่า และในวันนี้ที่ประชุมคณะผู้บริหารได้มีมติกำหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยจะมี ว 8 ให้สำนักงานเขตดำเนินการ ตรวจสอบป้ายโฆษณาในพื้นที่เขตทั้งหมด โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง เช่น เขตชุมชนเป็นลำดับแรก ให้สำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าของป้ายผิดกฎหมาย รวมถึงให้เร่งรื้อถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมายที่สามารถดำเนินการรื้อถอนได้โดยเร็ว เนื่องจากบางป้ายยังอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี พร้อมทั้งให้สำนักงบประมาณ กทม.จัดสรรงบประมาณในการรื้อถอนด้วย นอกจากนี้ กทม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับ ดูแล ควบคุมการดำเนินงานในเรื่องของป้ายโฆษณาโดยเฉพาะด้วย
ด้าน นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผู้อำนวยการเขตจอมทอง กล่าวว่า ป้ายดังกล่าวได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่จะต้องมีการตรวจสอบรับรองโดยวิศวกร โดยยื่นขอใบ ร.1 กับสำนักการโยธา กทม.ทุกปี ซึ่งในปี 2555 ยังอยู่ระหว่างการยื่นเอกสาร โดยขณะนี้ทางสำนักงานเขตได้แจ้งความดำเนินคดีทางอาญากับเจ้าของป้าย กรณีที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไว้ที่ สน.บางมด และได้ประสานการช่วยเหลือผู้เสียชีวิต กับบริษัทประกันภัยเพื่อจ่ายเงินชดเชย จำนวน 65,000 บาท แก่ญาติผู้เสียชีวิต รวมถึงสำนักงานเขตจะออกหนังสือรับรองกรณีการเสียชีวิต เพื่อยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ 10,000 บาท จาก กทม.และขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามหลักเกณฑ์ต่อไป