ASTVผู้จัดการรายวัน - รวมพลคนหนังสือทุกภาคส่วนเร่งหารือสร้างทางออกครั้งที่ 1 หวังอุดปัญหาเพิ่มต้นทุนค่าจัดเก็บ 1% ที่สายส่งรายใหญ่ขอขึ้นราคา ชี้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มส่งผลกระทบทั้งระบบหนังสือ มองทั้งปีตลาดหนังสือมูลค่า 21,000 ล้านบาทอาจไม่โต
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทาง 2 สายส่งรายใหญ่วงการสิ่งพิมพ์ คือ นายอินทร์ กับซีเอ็ดได้ประกาศขอเก็บค่าธรรมเนียมการขนส่ง 1% จากราคาปกหนังสือ เนื่องจากปัญหาต้นทุนค่าแรง 300 บาทที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยอมรับว่าเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งของแต่ละสำนักพิมพ์
จากเดิมที่ต้องแบกรับต้นทุนค่าแรงเพิ่มอยู่แล้วเช่นกัน ซึ่งการขอเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งนี้ มองว่าน่าจะหาทางออก หรือมีทางเลือกอื่นๆ ได้ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบธุรกิจหนังสือจะต้องมีการหารือร่วมกัน
“การขอเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1% นั้น หากมีการใช้จริงมองว่าไม่เป็นธรรมต่อสำนักพิมพ์ เพราะต้องแบกรับต้นทุนเพิ่ม ทั้งที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าหนังสือนั้นจะขายได้หรือไม่ อีกทั้งแต่ละสำนักพิมพ์มีการผลิตหนังสือออกมาแตกต่างกันไป หากต้องเพิ่มค่าธรรมเนียมจริง
เบื้องต้นอยากให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มในอัตราที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของกลุ่มหนังสือ แต่ทั้งนี้เชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่ดีสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้”
ล่าสุดในวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้มีการเชิญทุกฝ่ายที่อยู่ในระบบธุรกิจหนังสือเข้ามาร่วมพูดคุยและปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันกับปัญหาที่เกิดขึ้น รวมแล้วมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 20 ราย มาจากสมาคมฯ, ร้านค้าช่องทางจำหน่าย, สำนักพิมพ์ รวมถึงตัวแทนสายส่งจากทั้ง 2 รายใหญ่
ซึ่งการหารือครั้งนี้ได้มีการรวบรวมแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาทิตย์หน้าจะมีการหารือกันเป็นครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้นมองว่ามีอยู่หลายแนวทาง เช่น หากต้องปรับค่าธรรมเนียมการจัดส่งเพิ่มขึ้น 1% อันเนื่องจากค่าแรงเพิ่มนั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดในส่วนอื่นแทน อย่างการคืนหนังสือให้มีจำนวนน้อยลง หรือควรวางแผนการจัดซื้อและผลิตหนังสือร่วมกันทั้งจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ที่สำคัญ ควรมีการปรับปรุงทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีต่อธุรกิจหนังสือต่อไป
นายวรพันธ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของสำนักพิมพ์นั้น หลังจากที่นโยบายปรับค่าแรงขึ้นเป็น 300 บาทที่ผ่านมาส่งผลให้ต้องมีการแบกรับต้นทุนเพิ่มเฉลี่ยที่ 5% อยู่แล้ว และหากต้องแบกรับต้นทุนจากการจัดเก็บอีก 1% ถือเป็นต้นทุนที่ต้องแบกรับหนักเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลต่อธุรกิจหนังสือให้มีความสามารถทำกำไรได้ลดลงไปอีก
ในขณะที่แต่ละสำนักพิมพ์ยังไม่มีแนวคิดปรับราคาหนังสือเพิ่มแต่อย่างใด
ที่ผ่านมาแต่ละสำนักพิมพ์ต่างก็ได้มีการปรับตัวรับต้นทุนที่เพิ่มอยู่แล้ว โดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ แทน และจากปัญหาที่เพิ่มขึ้นมาครั้งนี้มองว่าจะส่งผลให้ภาพรวมตลาดหนังสือปีนี้จะเห็นจำนวนหนังสือที่ผลิตออกมาลดลง แต่จะเน้นงานที่มีคุณภาพมากขึ้นแทน หรือทั้งปีนี้มองว่าภาพรวมตลาดหนังสือ 21,000 ล้านบาทอาจจะทรงตัว
จากปกติตลาดหนังสือจะเติบโตตามค่าจีดีพีของประเทศ ซึ่งปีนี้มองว่าจะโต 5% โดยไตรมาสแรกตลาดหนังสือเติบโตได้ดี แต่มาไตรมาสสองชะลอตัวลง และเมื่อมีปัญหาปรับเพิ่มค่าจัดเก็บหนังสือเข้ามาอีกแบบนี้ ทั้งปีตลาดหนังสือจึงน่าจะทรงตัวเท่าปีก่อน
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทาง 2 สายส่งรายใหญ่วงการสิ่งพิมพ์ คือ นายอินทร์ กับซีเอ็ดได้ประกาศขอเก็บค่าธรรมเนียมการขนส่ง 1% จากราคาปกหนังสือ เนื่องจากปัญหาต้นทุนค่าแรง 300 บาทที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยอมรับว่าเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งของแต่ละสำนักพิมพ์
จากเดิมที่ต้องแบกรับต้นทุนค่าแรงเพิ่มอยู่แล้วเช่นกัน ซึ่งการขอเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งนี้ มองว่าน่าจะหาทางออก หรือมีทางเลือกอื่นๆ ได้ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบธุรกิจหนังสือจะต้องมีการหารือร่วมกัน
“การขอเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1% นั้น หากมีการใช้จริงมองว่าไม่เป็นธรรมต่อสำนักพิมพ์ เพราะต้องแบกรับต้นทุนเพิ่ม ทั้งที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าหนังสือนั้นจะขายได้หรือไม่ อีกทั้งแต่ละสำนักพิมพ์มีการผลิตหนังสือออกมาแตกต่างกันไป หากต้องเพิ่มค่าธรรมเนียมจริง
เบื้องต้นอยากให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มในอัตราที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของกลุ่มหนังสือ แต่ทั้งนี้เชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่ดีสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้”
ล่าสุดในวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้มีการเชิญทุกฝ่ายที่อยู่ในระบบธุรกิจหนังสือเข้ามาร่วมพูดคุยและปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันกับปัญหาที่เกิดขึ้น รวมแล้วมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 20 ราย มาจากสมาคมฯ, ร้านค้าช่องทางจำหน่าย, สำนักพิมพ์ รวมถึงตัวแทนสายส่งจากทั้ง 2 รายใหญ่
ซึ่งการหารือครั้งนี้ได้มีการรวบรวมแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาทิตย์หน้าจะมีการหารือกันเป็นครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้นมองว่ามีอยู่หลายแนวทาง เช่น หากต้องปรับค่าธรรมเนียมการจัดส่งเพิ่มขึ้น 1% อันเนื่องจากค่าแรงเพิ่มนั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดในส่วนอื่นแทน อย่างการคืนหนังสือให้มีจำนวนน้อยลง หรือควรวางแผนการจัดซื้อและผลิตหนังสือร่วมกันทั้งจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ที่สำคัญ ควรมีการปรับปรุงทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีต่อธุรกิจหนังสือต่อไป
นายวรพันธ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของสำนักพิมพ์นั้น หลังจากที่นโยบายปรับค่าแรงขึ้นเป็น 300 บาทที่ผ่านมาส่งผลให้ต้องมีการแบกรับต้นทุนเพิ่มเฉลี่ยที่ 5% อยู่แล้ว และหากต้องแบกรับต้นทุนจากการจัดเก็บอีก 1% ถือเป็นต้นทุนที่ต้องแบกรับหนักเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลต่อธุรกิจหนังสือให้มีความสามารถทำกำไรได้ลดลงไปอีก
ในขณะที่แต่ละสำนักพิมพ์ยังไม่มีแนวคิดปรับราคาหนังสือเพิ่มแต่อย่างใด
ที่ผ่านมาแต่ละสำนักพิมพ์ต่างก็ได้มีการปรับตัวรับต้นทุนที่เพิ่มอยู่แล้ว โดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ แทน และจากปัญหาที่เพิ่มขึ้นมาครั้งนี้มองว่าจะส่งผลให้ภาพรวมตลาดหนังสือปีนี้จะเห็นจำนวนหนังสือที่ผลิตออกมาลดลง แต่จะเน้นงานที่มีคุณภาพมากขึ้นแทน หรือทั้งปีนี้มองว่าภาพรวมตลาดหนังสือ 21,000 ล้านบาทอาจจะทรงตัว
จากปกติตลาดหนังสือจะเติบโตตามค่าจีดีพีของประเทศ ซึ่งปีนี้มองว่าจะโต 5% โดยไตรมาสแรกตลาดหนังสือเติบโตได้ดี แต่มาไตรมาสสองชะลอตัวลง และเมื่อมีปัญหาปรับเพิ่มค่าจัดเก็บหนังสือเข้ามาอีกแบบนี้ ทั้งปีตลาดหนังสือจึงน่าจะทรงตัวเท่าปีก่อน