ผู้บริโภคได้เฮ “พาณิชย์” ประกาศราคาหมูทั่วประเทศลดลงอีก กก.ละ 4-13 บาท ผู้เลี้ยงแจงเหตุราคาลดเนื่องจากผลผลิตมาก และคนหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้ออกประกาศราคาแนะนำเนื้อหมูประจำวันที่ 26 ก.ค.-1 ส.ค. 2555 ใหม่ โดยราคาปรับลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว กก.ละ 4-13 บาท หลังจากมีปริมาณหมูออกสู่ตลาดสูงกว่าความต้องการบริโภค
โดยราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดง เฉพาะเนื้อแดง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก ให้ขายไม่เกิน กก.ละ 106 บาท ลดจากสัปดาห์ก่อน 114 บาท ภาคตะวันออก ขายไม่เกิน กก.ละ 110 บาท ลดจาก 114 บาท ภาคใต้ ไม่เกิน กก.ละ 111 บาท ลดจากเดิม 124 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 114 บาท ลดจาก 119 บาท และภาคเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 115 บาท ลดจาก 119 บาท ยกเว้นเนื้อสุกรชนิดที่มีคุณภาพพิเศษ เช่น เนื้อสุกรอนามัย เนื้อสุกรไร้สาร ที่มีการรับรองจากหน่วยงานราชการให้สามารถขายเกินราคาได้
ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก กำหนดให้ขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 54 บาท ลดจากเดิม 59 บาท ภาคตะวันออกขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 56 บาท ลดจากเดิม 59 บาท ภาคใต้ขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 57 บาท ลดจากเดิม 65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ต่ำกว่า กก.ละ 59 บาท ลดจาก 63 บาท และภาคเหนือไม่ต่ำกว่า กก.ละ 60 บาท ลดจาก 63 บาท
ส่วนราคาจำหน่ายส่งหมูชำแหละ (หมูซีก) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตกไม่เกิน กก.ละ 65 บาท ลดจาก 71 บาท ภาคตะวันออกไม่เกิน กก.ละ 68 บาท ลดจาก 71 บาท ภาคใต้ไม่เกิน กก.ละ 69 บาท ลดจาก 77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 71 บาท ลดจาก 75 บาท และภาคเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 72 บาท ลดจาก 75 บาท
สำหรับราคาขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก ไม่เกิน กก.ละ 91 บาท ลดจาก 99 บาท ภาคตะวันออก ไม่เกิน กก.ละ 95 บาท ลดจาก 99 บาท ภาคใต้ไม่เกิน กก.ละ 96 บาท ลดจาก 109 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 99บาท ลดจาก 104 บาท และภาคเหนือไม่เกิน กก.ละ 100 บาท ลดจาก 109 บาท
นายกิตติวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูปรับตัวลดลงเนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงมีเงินทุนไม่เพียงพอ หลังจากต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องรีบนำหมูขุนออกมาขายก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์ ประกอบกับในฤดูฝนประชาชนมักบริโภคเนื้อหมูน้อยและหันไปกินเนื้อปลา สัตว์น้ำชนิดอื่นแทน จนทำให้เกิดภาวะเนื้อหมูล้นตลาด ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้เกษตรกรขาดทุนอย่างหนัก เพราะต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มไปถึง กก.ละ 60 บาท แต่กลับขายได้เพียง กก.ละ 52-54 บาทเท่านั้น
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้ออกประกาศราคาแนะนำเนื้อหมูประจำวันที่ 26 ก.ค.-1 ส.ค. 2555 ใหม่ โดยราคาปรับลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว กก.ละ 4-13 บาท หลังจากมีปริมาณหมูออกสู่ตลาดสูงกว่าความต้องการบริโภค
โดยราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดง เฉพาะเนื้อแดง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก ให้ขายไม่เกิน กก.ละ 106 บาท ลดจากสัปดาห์ก่อน 114 บาท ภาคตะวันออก ขายไม่เกิน กก.ละ 110 บาท ลดจาก 114 บาท ภาคใต้ ไม่เกิน กก.ละ 111 บาท ลดจากเดิม 124 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 114 บาท ลดจาก 119 บาท และภาคเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 115 บาท ลดจาก 119 บาท ยกเว้นเนื้อสุกรชนิดที่มีคุณภาพพิเศษ เช่น เนื้อสุกรอนามัย เนื้อสุกรไร้สาร ที่มีการรับรองจากหน่วยงานราชการให้สามารถขายเกินราคาได้
ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก กำหนดให้ขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 54 บาท ลดจากเดิม 59 บาท ภาคตะวันออกขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 56 บาท ลดจากเดิม 59 บาท ภาคใต้ขายไม่ต่ำกว่า กก.ละ 57 บาท ลดจากเดิม 65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ต่ำกว่า กก.ละ 59 บาท ลดจาก 63 บาท และภาคเหนือไม่ต่ำกว่า กก.ละ 60 บาท ลดจาก 63 บาท
ส่วนราคาจำหน่ายส่งหมูชำแหละ (หมูซีก) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตกไม่เกิน กก.ละ 65 บาท ลดจาก 71 บาท ภาคตะวันออกไม่เกิน กก.ละ 68 บาท ลดจาก 71 บาท ภาคใต้ไม่เกิน กก.ละ 69 บาท ลดจาก 77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เกิน กก.ละ 71 บาท ลดจาก 75 บาท และภาคเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 72 บาท ลดจาก 75 บาท
สำหรับราคาขายส่งชิ้นส่วนหมูเนื้อแดง (เนื้อสะโพก เนื้อไหล่) กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันตก ไม่เกิน กก.ละ 91 บาท ลดจาก 99 บาท ภาคตะวันออก ไม่เกิน กก.ละ 95 บาท ลดจาก 99 บาท ภาคใต้ไม่เกิน กก.ละ 96 บาท ลดจาก 109 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เกิน กก.ละ 99บาท ลดจาก 104 บาท และภาคเหนือไม่เกิน กก.ละ 100 บาท ลดจาก 109 บาท
นายกิตติวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูปรับตัวลดลงเนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงมีเงินทุนไม่เพียงพอ หลังจากต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องรีบนำหมูขุนออกมาขายก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์ ประกอบกับในฤดูฝนประชาชนมักบริโภคเนื้อหมูน้อยและหันไปกินเนื้อปลา สัตว์น้ำชนิดอื่นแทน จนทำให้เกิดภาวะเนื้อหมูล้นตลาด ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้เกษตรกรขาดทุนอย่างหนัก เพราะต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มไปถึง กก.ละ 60 บาท แต่กลับขายได้เพียง กก.ละ 52-54 บาทเท่านั้น