นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจบริการ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เปิดเผยว่า ได้หารือกับ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) และกรรมการในบอร์ดบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมเสนอแนวคิดต่อนายกิตติรัตน์ ถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียนผนวกประเทศจีน เพื่อเดินหน้าปฎิบัติควบคู่ไปกับนโยบายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ได้ 2 ล้านล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 30 ล้านคนภายในปี 2558 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวในระดับประเทศ เป็นยุทธศาตร์ที่เกื้อกูลกัน และทำให้เป้าหมายการสร้างรายได้ตามที่รัฐบาลวางเป้าหมายไว้ สามารถเข้าถึงความจริงได้มากที่สุด
***สร้างแผนยุทธศาสตร์ดันไทยเป็นเกตเวย์***
ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะนี้เป็นรูปต่างคนต่างทำ และทุกประเทศก็มีแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว แต่ยังไม่มียุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค หากไทยสามารถคิดได้และทำก่อน เปลี่ยนคู่แข่งขันในประเทศอาเซียนด้วยกันเป็นพันธมิตร ดึงนักท่องเที่ยวจากต่างภูมิภาค ส่งเสริมการเดินทางภายในภูมิภาค จะทำให้ทุกประเทศเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวที่จะเสนอให้จัดทำนี้จะต้องตอกย้ำประเทศไทยเป็นเกตเวย์ได้โดดเด่นขึ้น
“หากรัฐต้องการรายได้ 2 ล้านล้านบาทจากจำนวนนักท่องเที่ยว 30 ล้านคน ต้องใช้วิธีพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านให้เป็นประโยชน์ เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวอาเซียนซึ่งมีจำนวนรวมกว่า 80 ล้านคน และส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศจีนกว่า 50 ล้านคน รวมแล้วเป็น 130 ล้านคน ถ้าไทยสามารถตั้งตัวเป็นเกตเวย์ เป็นจุดรับและส่งนักท่องเที่ยวในอาเซียนและจีนตอนล่าง ท่องเที่ยวของไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดด”
***ใช้สายการบินโลว์คอสต์เชื่อมอาเซียน-จีน***
รูปแบบ เช่น การวางนโยบายที่เชิญชวนให้มีการเปิดเส้นทางบินและการลงทุนของสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ในประเทศไทย การจัดทำถนนเชื่อมโยงภายในภูมิภาค จัดระบบลอจิสติกส์ประเทศกลุ่มอาเซียนและจีนให้เชื่อมโยงกันโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง แล้วนำไปบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อให้เป็นนโยบายที่ถาวร ไม่ปรับแม้รัฐบาลเปลี่ยน หากการเสนอแนวคิดนี้ผ่านความเห็นชอบของนายกิตติรัตน์และรัฐบาล คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นาน 3 เดือน
***หนุนผุดเมกะโปรเจกต์กลางกรุง***
นายกงกฤชกล่าวอีกว่า ในส่วนของแผนจัดทำโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยส่วนตัวเห็นด้วยและมองว่าโครงการจะเกิดขึ้นและเป็นโครงการที่ดี ทุกส่วนจะต้องบูรณาการการทำงานและคิดร่วมกัน อย่างในพื้นที่กรุงเทพฯ พื้นที่ขนาดใหญ่จะเป็นของหน่วยงานรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งหากวางแผนงานที่ดี รัฐลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค และเปิดให้เอกชนเข้าสัมปทานพัฒนาพื้นที่ มั่นใจว่ากรุงเทพฯ จะมีแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่แน่นอน
ทั้งนี้ ต้องการให้รัฐบาลมองในภาพรวม ขีดเส้นให้เป็นโครงการขนาดใหญ่นับจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือคลองเตย ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมต่อเนื่องมายังพื้นที่โรงงานยาสูบซึ่งเป็นของกระทรวงการคลัง และมีแผนจะย้ายไปตั้งที่ จ.เชียงใหม่อยู่แล้ว ต่อเนื่องมาสวนเบญจสิริ ต่อมายังพื้นที่ย่านมักกะสัน ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และมีแผนจะทำคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่อยู่แล้ว และควรขีดเส้นยาวมาถึงย่านบึงรัชดาฯ ทั้งหมด ที่กล่าวมาหากรวมเข้าด้วยกันจะมีพื้นที่นับพันไร่สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีถนนหรือระบบขนส่งเชื่อมต่อกันให้สะดวกรองรับนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และทุกพื้นที่หากเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยต้องวางแผนการจัดการที่ดี โดยดึงชุมชนมามีส่วนร่วมในการพัฒนา และเมื่อโครงการแล้วเสร็จคนในชุมชนจะมีรายได้เพิ่มจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยว ลดปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเริ่มมุ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องท่องเที่ยวเพราะเห็นแล้วว่า อุตสาหกรรมนี้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ เช่น สร้างรายได้จากเงินตราต่างประเทศ การสร้างงาน และการกระจายรายได้สู่ชนบท โดยที่มีต้นทุนนำเข้าจากต่างประเทศเพียง 5% ของต้นทุนรวม ต่างจากอุตสาหกรรมส่งออกที่มีต้นทุนนำเข้าในสัดส่วนที่สูงมาก
***สร้างแผนยุทธศาสตร์ดันไทยเป็นเกตเวย์***
ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะนี้เป็นรูปต่างคนต่างทำ และทุกประเทศก็มีแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว แต่ยังไม่มียุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค หากไทยสามารถคิดได้และทำก่อน เปลี่ยนคู่แข่งขันในประเทศอาเซียนด้วยกันเป็นพันธมิตร ดึงนักท่องเที่ยวจากต่างภูมิภาค ส่งเสริมการเดินทางภายในภูมิภาค จะทำให้ทุกประเทศเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวที่จะเสนอให้จัดทำนี้จะต้องตอกย้ำประเทศไทยเป็นเกตเวย์ได้โดดเด่นขึ้น
“หากรัฐต้องการรายได้ 2 ล้านล้านบาทจากจำนวนนักท่องเที่ยว 30 ล้านคน ต้องใช้วิธีพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านให้เป็นประโยชน์ เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวอาเซียนซึ่งมีจำนวนรวมกว่า 80 ล้านคน และส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศจีนกว่า 50 ล้านคน รวมแล้วเป็น 130 ล้านคน ถ้าไทยสามารถตั้งตัวเป็นเกตเวย์ เป็นจุดรับและส่งนักท่องเที่ยวในอาเซียนและจีนตอนล่าง ท่องเที่ยวของไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดด”
***ใช้สายการบินโลว์คอสต์เชื่อมอาเซียน-จีน***
รูปแบบ เช่น การวางนโยบายที่เชิญชวนให้มีการเปิดเส้นทางบินและการลงทุนของสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) ในประเทศไทย การจัดทำถนนเชื่อมโยงภายในภูมิภาค จัดระบบลอจิสติกส์ประเทศกลุ่มอาเซียนและจีนให้เชื่อมโยงกันโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง แล้วนำไปบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อให้เป็นนโยบายที่ถาวร ไม่ปรับแม้รัฐบาลเปลี่ยน หากการเสนอแนวคิดนี้ผ่านความเห็นชอบของนายกิตติรัตน์และรัฐบาล คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นาน 3 เดือน
***หนุนผุดเมกะโปรเจกต์กลางกรุง***
นายกงกฤชกล่าวอีกว่า ในส่วนของแผนจัดทำโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยส่วนตัวเห็นด้วยและมองว่าโครงการจะเกิดขึ้นและเป็นโครงการที่ดี ทุกส่วนจะต้องบูรณาการการทำงานและคิดร่วมกัน อย่างในพื้นที่กรุงเทพฯ พื้นที่ขนาดใหญ่จะเป็นของหน่วยงานรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งหากวางแผนงานที่ดี รัฐลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค และเปิดให้เอกชนเข้าสัมปทานพัฒนาพื้นที่ มั่นใจว่ากรุงเทพฯ จะมีแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่แน่นอน
ทั้งนี้ ต้องการให้รัฐบาลมองในภาพรวม ขีดเส้นให้เป็นโครงการขนาดใหญ่นับจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือคลองเตย ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมต่อเนื่องมายังพื้นที่โรงงานยาสูบซึ่งเป็นของกระทรวงการคลัง และมีแผนจะย้ายไปตั้งที่ จ.เชียงใหม่อยู่แล้ว ต่อเนื่องมาสวนเบญจสิริ ต่อมายังพื้นที่ย่านมักกะสัน ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และมีแผนจะทำคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่อยู่แล้ว และควรขีดเส้นยาวมาถึงย่านบึงรัชดาฯ ทั้งหมด ที่กล่าวมาหากรวมเข้าด้วยกันจะมีพื้นที่นับพันไร่สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีถนนหรือระบบขนส่งเชื่อมต่อกันให้สะดวกรองรับนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และทุกพื้นที่หากเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยต้องวางแผนการจัดการที่ดี โดยดึงชุมชนมามีส่วนร่วมในการพัฒนา และเมื่อโครงการแล้วเสร็จคนในชุมชนจะมีรายได้เพิ่มจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยว ลดปัญหาอาชญากรรม
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเริ่มมุ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องท่องเที่ยวเพราะเห็นแล้วว่า อุตสาหกรรมนี้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ เช่น สร้างรายได้จากเงินตราต่างประเทศ การสร้างงาน และการกระจายรายได้สู่ชนบท โดยที่มีต้นทุนนำเข้าจากต่างประเทศเพียง 5% ของต้นทุนรวม ต่างจากอุตสาหกรรมส่งออกที่มีต้นทุนนำเข้าในสัดส่วนที่สูงมาก