“นิวัฒน์ธำรง” สั่งทุกหน่วยงานรัฐและเอกชน จัดทำแผนโครงการที่จะเสนอขอนายกรัฐมนตรี อย่างละเอียด เสนอในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรีศุกร์นี้ ส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์ เล็งตั้งคณะทำงานศึกษาการลงทุน บี้กรมการท่องเที่ยวช่วยคัดกรองแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการการลงทุนขนาดใหญ่ นำร่อง 5 โครงการ
วานนี้ (2 ก.ค.) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ด้านท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ประชุม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปจัดระเบียบประเด็นที่จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อนำกลับมาเสนอใหม่ในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี 6 ก.ค. 55 จากที่เคยเสนอไปแล้วเมื่อการประชุมวันที่ 17 มิ.ย. 55 ที่เมืองพัทยา
โดยให้จัดทำข้อเสนอมาอย่างละเอียด มีวิธีการทำงาน กรอบระยะเวลา และเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะการที่นายกรัฐมนตรีมานั่งเป็นประธาน มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมจะทำให้เกิดผลดีมากขึ้น ส่วนตัวเองจะใช้ประสบการณ์ทางการตลาดมาช่วยเสริม
ในส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการตลาด ก็ต้องกำหนดให้ชัดถึงแผนงานการบุกตลาดว่าจะมีวิธีการใดบ้าง ส่วนงานของกรมการท่องเที่ยว ซึ่งเสนอโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ 100 อันดับแรก ก็ต้องไปกำหนดระดับความสำคัญเร่งด่วน 5 อันดับแรก ไม่ใช่เสนอมาทั้ง 100 แหล่งท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลคงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะดำเนินการทีเดียวพร้อมกัน
ส่วนงานของกระทรวงคมนาคม จะต้องเน้นเรื่องการพัฒนาลอจิสติกส์ ขณะที่การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) เห็นควรให้ตั้งคณะทำงานทำการศึกษาในระยะ 1-3 เดือนจากนี้ไป เพื่อสรุปให้ได้ว่าควรเป็นโครงการในลักษณะไหนจึงเหมาะสม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่รัฐบาลวางเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 แบ่งเป็นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.45 ล้านล้านบาท เพิ่ม 87% จากปี 2554 ซึ่งใช้เป็นปีฐาน และนักท่องเที่ยวไทย 550,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 38% โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักในปี 2558 ในด้านของจำนวนนำโดยรัสเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และตะวันออกกลาง ขณะที่รายได้หลักจะมาจากนักท่องเที่ยวออสเตรเลีย มาเลเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ กรมการท่องเที่ยวได้เสนอแนวทางศึกษาเพื่อเตรียมการลงทุนโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในอนาคต โดยโครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้ เช่น 1. การพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ (เอนเตอร์เทนเมนต์พาราไดซ์) 2. การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเพื่อการท่องเที่ยว (ครีเอทีฟโอทอปซิตี)
3. การสร้างเวิลด์คลาสธีมปาร์ก ในประเทศไทย 4. การส่งเสริมเชื่อมโยงเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางพัทยา-หัวหิน-เกาะนางยวน-เกาะเต่า-เกาะพะงัน-เกาะสมุย 5. การพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นศูนย์บริการท่องเที่ยวทางน้ำ และแหล่งชอปปิ้ง
ส่วนกรมทางหลวงชนบทเสนอก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 118 กม.วงเงิน 1,403 ล้านบาท และก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย พื้นที่ภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องภาคใต้ตอนบน จ.สมุทรสงคราม-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ –ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 683 กม. วงเงิน 7,000 ล้านบาท เป็นต้น
วานนี้ (2 ก.ค.) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ด้านท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานที่ประชุม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปจัดระเบียบประเด็นที่จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อนำกลับมาเสนอใหม่ในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี 6 ก.ค. 55 จากที่เคยเสนอไปแล้วเมื่อการประชุมวันที่ 17 มิ.ย. 55 ที่เมืองพัทยา
โดยให้จัดทำข้อเสนอมาอย่างละเอียด มีวิธีการทำงาน กรอบระยะเวลา และเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะการที่นายกรัฐมนตรีมานั่งเป็นประธาน มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมจะทำให้เกิดผลดีมากขึ้น ส่วนตัวเองจะใช้ประสบการณ์ทางการตลาดมาช่วยเสริม
ในส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการตลาด ก็ต้องกำหนดให้ชัดถึงแผนงานการบุกตลาดว่าจะมีวิธีการใดบ้าง ส่วนงานของกรมการท่องเที่ยว ซึ่งเสนอโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ 100 อันดับแรก ก็ต้องไปกำหนดระดับความสำคัญเร่งด่วน 5 อันดับแรก ไม่ใช่เสนอมาทั้ง 100 แหล่งท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลคงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะดำเนินการทีเดียวพร้อมกัน
ส่วนงานของกระทรวงคมนาคม จะต้องเน้นเรื่องการพัฒนาลอจิสติกส์ ขณะที่การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) เห็นควรให้ตั้งคณะทำงานทำการศึกษาในระยะ 1-3 เดือนจากนี้ไป เพื่อสรุปให้ได้ว่าควรเป็นโครงการในลักษณะไหนจึงเหมาะสม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่รัฐบาลวางเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 แบ่งเป็นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.45 ล้านล้านบาท เพิ่ม 87% จากปี 2554 ซึ่งใช้เป็นปีฐาน และนักท่องเที่ยวไทย 550,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 38% โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักในปี 2558 ในด้านของจำนวนนำโดยรัสเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และตะวันออกกลาง ขณะที่รายได้หลักจะมาจากนักท่องเที่ยวออสเตรเลีย มาเลเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ กรมการท่องเที่ยวได้เสนอแนวทางศึกษาเพื่อเตรียมการลงทุนโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในอนาคต โดยโครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้ เช่น 1. การพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ (เอนเตอร์เทนเมนต์พาราไดซ์) 2. การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเพื่อการท่องเที่ยว (ครีเอทีฟโอทอปซิตี)
3. การสร้างเวิลด์คลาสธีมปาร์ก ในประเทศไทย 4. การส่งเสริมเชื่อมโยงเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางพัทยา-หัวหิน-เกาะนางยวน-เกาะเต่า-เกาะพะงัน-เกาะสมุย 5. การพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นศูนย์บริการท่องเที่ยวทางน้ำ และแหล่งชอปปิ้ง
ส่วนกรมทางหลวงชนบทเสนอก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 118 กม.วงเงิน 1,403 ล้านบาท และก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย พื้นที่ภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องภาคใต้ตอนบน จ.สมุทรสงคราม-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ –ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 683 กม. วงเงิน 7,000 ล้านบาท เป็นต้น