ประธานฝ่ายนโยบาย สทท.ฉะหน่วยงานรัฐแก้ปัญหาโรงแรมเถื่อนไม่คืบ ร้องเรียนกว่า 2 ปีทำได้แค่ขึ้นรายชื่อโรงแรมถูกกฎหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ แต่ผู้ทำผิดกลับไม่มีบทลงโทษ ระบุต้องแก้กฎหมาย พร้อมลงดาบผู้กระทำผิด ส่วนการฟื้นโครงการอีลิทการ์ด เบื้องต้นเห็นด้วยแต่แผนธุรกิจต้องชัดเจน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบายสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ปัญหาผู้ประกอบการห้องพักรายวันที่ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาของกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลยังทำการแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด คือไม่มีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง มีเพียงการนำรายชื่อโรงแรมที่ทำถูกกฎหมายขึ้นเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรับทราบ ทั้งที่การกระทำของผู้ประกอบการที่เปิดให้เช่าห้องรายวันโดยไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจโรงแรมถือเป็นการจงใจกระทำผิดตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายและได้รับบทลงโทษ
“ที่ผ่านมา สทท.ได้นำเสนอปัญหานี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมานานกว่า 2 ปีแล้ว แต่ทุกอย่างไม่มีความคืบหน้า ผู้กระทำผิดก็ยังสามารถประกอบธุรกิจห้องพักรายวันได้โดยไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเองก็ต้องปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ส่วนหนึ่งยอมรับว่าผู้ประกอบการบางรายอาจไม่ตั้งใจทำผิด แต่ติดที่เงื่อนไขหรือข้อกำหนดของกฎหมายทำให้ไม่สามารถนำธุรกิจเข้าจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจได้ เช่น การนำอาคารเก่ามาดัดแปลงเป็นโรงแรม ซึ่งตามข้อกฎหมายจริงๆ แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะอาคารที่จะเป็นโรงแรมต้องเขียนระบุตั้งแต่ตอนขออนุญาตก่อสร้าง
นายกงกฤชกล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะนำโครงการ ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด กลับมาดำเนินการอีกครั้งว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ การกลับมารัฐ หรือผู้ดูแลรับผิดชอบต้องกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินธุรกิจให้ชัดเจน สอดคล้องกับลูกค้าเป้าหมาย วางแผนการกำหนดแผนงานบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการกลับมาครั้งนี้จะต่างจากการเปิดตัวโครงการครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง รัฐบาลมีความจำเป็นต้องสร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ครั้งนี้ต้องมองให้การบริหารโครงการเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ลูกค้าเป้าหมายต้องชัดเจน คือ เน้นนักธุรกิจ นักลงทุนและเศรษฐี เพื่อให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้น การให้บริการแก่ผู้ถือบัตรอีลิทจะต้องเน้นสร้างความประทับใจ
สำหรับผู้ที่จะเข้ามาบริหารทีพีซีจะต้องมีความเป็นมืออาชีพในด้านการทำธุรกิจและการบริหารจัดการ จะใช้วิธีบริหารแบบรัฐไม่ได้ ส่วนเงื่อนไขการถือครองบัตรที่มีกำหนดอายุบัตรไม่ตกทอดถึงทายาท และลดจำนวนครั้งของสิทธิประโยชน์ที่ไม่จำเป็น ในราคาเสนอขายที่ 3 ล้านบาทต่อใบเป็นเงื่อนไขที่มาถูกทางแล้ว หากในทางปฏิบัติทำได้จริง เชื่อว่าธุรกิจนี้จะเดินหน้าต่อไปได้
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบายสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ปัญหาผู้ประกอบการห้องพักรายวันที่ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาของกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลยังทำการแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด คือไม่มีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง มีเพียงการนำรายชื่อโรงแรมที่ทำถูกกฎหมายขึ้นเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการรับทราบ ทั้งที่การกระทำของผู้ประกอบการที่เปิดให้เช่าห้องรายวันโดยไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจโรงแรมถือเป็นการจงใจกระทำผิดตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายและได้รับบทลงโทษ
“ที่ผ่านมา สทท.ได้นำเสนอปัญหานี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมานานกว่า 2 ปีแล้ว แต่ทุกอย่างไม่มีความคืบหน้า ผู้กระทำผิดก็ยังสามารถประกอบธุรกิจห้องพักรายวันได้โดยไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเองก็ต้องปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ส่วนหนึ่งยอมรับว่าผู้ประกอบการบางรายอาจไม่ตั้งใจทำผิด แต่ติดที่เงื่อนไขหรือข้อกำหนดของกฎหมายทำให้ไม่สามารถนำธุรกิจเข้าจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจได้ เช่น การนำอาคารเก่ามาดัดแปลงเป็นโรงแรม ซึ่งตามข้อกฎหมายจริงๆ แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะอาคารที่จะเป็นโรงแรมต้องเขียนระบุตั้งแต่ตอนขออนุญาตก่อสร้าง
นายกงกฤชกล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะนำโครงการ ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด กลับมาดำเนินการอีกครั้งว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ การกลับมารัฐ หรือผู้ดูแลรับผิดชอบต้องกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินธุรกิจให้ชัดเจน สอดคล้องกับลูกค้าเป้าหมาย วางแผนการกำหนดแผนงานบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการกลับมาครั้งนี้จะต่างจากการเปิดตัวโครงการครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง รัฐบาลมีความจำเป็นต้องสร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ครั้งนี้ต้องมองให้การบริหารโครงการเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ลูกค้าเป้าหมายต้องชัดเจน คือ เน้นนักธุรกิจ นักลงทุนและเศรษฐี เพื่อให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้น การให้บริการแก่ผู้ถือบัตรอีลิทจะต้องเน้นสร้างความประทับใจ
สำหรับผู้ที่จะเข้ามาบริหารทีพีซีจะต้องมีความเป็นมืออาชีพในด้านการทำธุรกิจและการบริหารจัดการ จะใช้วิธีบริหารแบบรัฐไม่ได้ ส่วนเงื่อนไขการถือครองบัตรที่มีกำหนดอายุบัตรไม่ตกทอดถึงทายาท และลดจำนวนครั้งของสิทธิประโยชน์ที่ไม่จำเป็น ในราคาเสนอขายที่ 3 ล้านบาทต่อใบเป็นเงื่อนไขที่มาถูกทางแล้ว หากในทางปฏิบัติทำได้จริง เชื่อว่าธุรกิจนี้จะเดินหน้าต่อไปได้