พาณิชย์ผนึก 4 บิ๊กเอกชนไทยนัดถกผลักดัน “ครัวไทยสู่โลก” ในพม่า ชิมลางด้วย “ผลไม้” กรมส่งออกควงนักธุรกิจกว่า 160 รายจัดงานแฟร์ในย่างกุ้ง สยายปีกสินค้าไทย
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปขยายการค้า-ลงทุนในพม่าว่า จากการหารือนักธุรกิจไทยและนักลงทุนไทยรายใหญ่ในพม่า กับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อรับฟังสถานการณ์การค้าการลงทุนและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย เครือเจริญโภคภัณฑ์, ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, การบินไทย และบางกอกแอร์เวย์ส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้ามาลงทุนในพม่าตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ถือเป็นบริษัทหัวหอกเพื่อผลักดันนโยบาย “ครัวไทยสู่โลก” จึงใช้วิสัยทัศน์ข้อนี้เป็นฐานการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดพม่า
ทั้งนี้ พม่าได้เปิดการนำเข้าผลไม้สดตั้งแต่กลางปี 54 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกผลไม้ไทยไปพม่าเพิ่มขึ้น ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ได้ขอให้ทางการพม่าสนับสนุนการบริโภคและลดอุปสรรคการนำเข้าผลไม้ของไทย เพื่อเพิ่มปริมาณการนำเข้าผลไม้สดจากไทยที่ขณะนี้กำลังทยอยสู่ตลาดจำนวนมาก เนื่องจากผลไม้ไทยมีจุดเด่นในด้านผลผลิตที่มีความหลากหลาย มีผลผลิตตลอดปี รสชาติเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ในการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วและผลักดันผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดพม่าเพิ่มขึ้น โดยนอกจากประเทศในอาเซียนแล้ว ในเดือนหน้ากระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินทางไปทำตลาดผลไม้ในจีน และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
“กลยุทธ์ของไทยในการทำตลาดผัก ผลไม้ ปีนี้จะส่งเสริมการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้มีการสร้างแบรนด์ผลไม้ของไทย โดยเน้นเรื่องเอกลักษณ์ด้านคุณค่าและสายพันธุ์ที่โดดเด่นของผลไม้ไทย ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถยืดอายุของผลผลิต และเหมาะสมกับตลาดเพื่อการส่งออก และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐควบคุมกำกับดูแลการเพาะปลูกให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด” นายภูมิกล่าว
ในภาพรวมกรมฯ ตั้งเป้าหมายการส่งออก ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 15-20% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,338.86-1,397.05 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณ 1,407,103 ตัน มูลค่า 1,205 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 60.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553
ทั้งนี้ จากการหารือกับเอกชนที่ทำธุรกิจในพม่า พบว่ามี 2 ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการลงทุน ประการแรก ประชากรพม่ามีประมาณ 60 ล้านคน ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือมีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารคล้ายๆ คนไทย และประการที่ 2 คือ พม่าเป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญ การเปิดประเทศของพม่ากำลังเป็นโอกาสของนักลงทุนจากไทย ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพราะแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงรอบนี้จะถูกประเมินว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แต่ก็ยังมีความสุ่มเสี่ยงจากความไม่พร้อมในหลายๆ ด้าน
ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล ผอ.สำนักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึงการพานักธุรกิจและผู้บริหารภาครัฐของไทยเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าไทย “ไทยแลนด์ เทรด เอ็กซิบิชัน 2555” ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 เมษายนที่ผ่านมาว่า มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมแสดงสินค้ารวม 161 ราย โดยมีมูลค่าการซื้อขายภายในงานทันทีไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และคาดว่ามีมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งปีประมาณ 1,100 ล้านบาท นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 2 ในรอบ 6 ปี ที่ทางการพม่าได้อนุญาตให้จัดขึ้น
สำหรับสินค้าที่นำไปจัดแสดง ประกอบด้วย สินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเกษตร เครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ อีกทั้งสินค้าของขวัญของตกแต่งบ้าน และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการพม่าร่วมแสดงสินค้ารวม 14 ราย มีนักธุรกิจสนใจเจรจาการค้าเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในกรุงย่างกุ้ง เช่นเดียวกับไทยจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น แต่สินค้าไทยเป็นที่นิยมมาก เพราะคุณภาพดีและราคาเหมาะสม
นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้ร่วมสัมมนาความร่วมมือทางธุรกิจบริการลอจิสติกส์ระหว่างไทยกับพม่า ในหัวข้อ “โอกาสใหม่ของลอจิสติกส์ไทย-พม่าสู่สากล” และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคธุรกิจลอจิสติกส์ไทย และภาคธุรกิจลอจิสติกส์/ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกสหภาพเมียนมาร์ (Business Matching) โดยมีผู้ประกอบการลอจิสติกส์ไทยเข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 16 บริษัท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายตลาดลอจิสติกส์ไทยไปยังตลาดเศรษฐกิจใหม่ในเชิงรุก โดยพม่าถือเป็นหนึ่งในกลุ่มตลาดเศรษฐกิจใหม่ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชัดเจน และร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลอจิสติกส์ให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในคุณภาพมาตรฐาน
ร.อ.สุวิพันธุ์ กล่าวว่า จากการเดินทางสำรวจและเยี่ยมชมระบบลอจิสติกส์และการขนส่ง ณ ท่าเรือย่างกุ้ง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักในการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปต่างประเทศของพม่า มีสัดส่วนสินค้าที่ให้บริการ 90% ของทั่วประเทศ หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือในเมียนมาร์ คือ Myanmar Port Authority แบ่งออกเป็น 3 ส่วน เช่น การสร้างท่าเรือ และท่าเทียบเรือ ที่ปัจจุบันเมียนมาร์มีท่าเรือทั้งหมด 9 แห่ง และท่าเทียบเรือรวม 22 แห่ง โดยมีแผนที่จะสร้างเพิ่มเติม จะมีท่าเทียบเรือรวมทั้งสิ้น 62 แห่ง ที่ท่าเรือย่างกุ้ง และท่าเรือติละวา จะสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้ 75 ลำ และสามารถขนถ่ายสินค้าได้ประมาณ 80-100 ล้านตันต่อปี
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปขยายการค้า-ลงทุนในพม่าว่า จากการหารือนักธุรกิจไทยและนักลงทุนไทยรายใหญ่ในพม่า กับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อรับฟังสถานการณ์การค้าการลงทุนและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย เครือเจริญโภคภัณฑ์, ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, การบินไทย และบางกอกแอร์เวย์ส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้ามาลงทุนในพม่าตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ถือเป็นบริษัทหัวหอกเพื่อผลักดันนโยบาย “ครัวไทยสู่โลก” จึงใช้วิสัยทัศน์ข้อนี้เป็นฐานการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดพม่า
ทั้งนี้ พม่าได้เปิดการนำเข้าผลไม้สดตั้งแต่กลางปี 54 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกผลไม้ไทยไปพม่าเพิ่มขึ้น ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ได้ขอให้ทางการพม่าสนับสนุนการบริโภคและลดอุปสรรคการนำเข้าผลไม้ของไทย เพื่อเพิ่มปริมาณการนำเข้าผลไม้สดจากไทยที่ขณะนี้กำลังทยอยสู่ตลาดจำนวนมาก เนื่องจากผลไม้ไทยมีจุดเด่นในด้านผลผลิตที่มีความหลากหลาย มีผลผลิตตลอดปี รสชาติเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ในการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วและผลักดันผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดพม่าเพิ่มขึ้น โดยนอกจากประเทศในอาเซียนแล้ว ในเดือนหน้ากระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะเดินทางไปทำตลาดผลไม้ในจีน และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
“กลยุทธ์ของไทยในการทำตลาดผัก ผลไม้ ปีนี้จะส่งเสริมการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้มีการสร้างแบรนด์ผลไม้ของไทย โดยเน้นเรื่องเอกลักษณ์ด้านคุณค่าและสายพันธุ์ที่โดดเด่นของผลไม้ไทย ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถยืดอายุของผลผลิต และเหมาะสมกับตลาดเพื่อการส่งออก และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐควบคุมกำกับดูแลการเพาะปลูกให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด” นายภูมิกล่าว
ในภาพรวมกรมฯ ตั้งเป้าหมายการส่งออก ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 15-20% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,338.86-1,397.05 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณ 1,407,103 ตัน มูลค่า 1,205 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 60.46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553
ทั้งนี้ จากการหารือกับเอกชนที่ทำธุรกิจในพม่า พบว่ามี 2 ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการลงทุน ประการแรก ประชากรพม่ามีประมาณ 60 ล้านคน ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือมีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารคล้ายๆ คนไทย และประการที่ 2 คือ พม่าเป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญ การเปิดประเทศของพม่ากำลังเป็นโอกาสของนักลงทุนจากไทย ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพราะแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงรอบนี้จะถูกประเมินว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แต่ก็ยังมีความสุ่มเสี่ยงจากความไม่พร้อมในหลายๆ ด้าน
ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล ผอ.สำนักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึงการพานักธุรกิจและผู้บริหารภาครัฐของไทยเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าไทย “ไทยแลนด์ เทรด เอ็กซิบิชัน 2555” ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 เมษายนที่ผ่านมาว่า มีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมแสดงสินค้ารวม 161 ราย โดยมีมูลค่าการซื้อขายภายในงานทันทีไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และคาดว่ามีมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งปีประมาณ 1,100 ล้านบาท นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 2 ในรอบ 6 ปี ที่ทางการพม่าได้อนุญาตให้จัดขึ้น
สำหรับสินค้าที่นำไปจัดแสดง ประกอบด้วย สินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเกษตร เครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ อีกทั้งสินค้าของขวัญของตกแต่งบ้าน และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการพม่าร่วมแสดงสินค้ารวม 14 ราย มีนักธุรกิจสนใจเจรจาการค้าเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในกรุงย่างกุ้ง เช่นเดียวกับไทยจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น แต่สินค้าไทยเป็นที่นิยมมาก เพราะคุณภาพดีและราคาเหมาะสม
นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้ร่วมสัมมนาความร่วมมือทางธุรกิจบริการลอจิสติกส์ระหว่างไทยกับพม่า ในหัวข้อ “โอกาสใหม่ของลอจิสติกส์ไทย-พม่าสู่สากล” และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคธุรกิจลอจิสติกส์ไทย และภาคธุรกิจลอจิสติกส์/ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกสหภาพเมียนมาร์ (Business Matching) โดยมีผู้ประกอบการลอจิสติกส์ไทยเข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 16 บริษัท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายตลาดลอจิสติกส์ไทยไปยังตลาดเศรษฐกิจใหม่ในเชิงรุก โดยพม่าถือเป็นหนึ่งในกลุ่มตลาดเศรษฐกิจใหม่ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชัดเจน และร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรค ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลอจิสติกส์ให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในคุณภาพมาตรฐาน
ร.อ.สุวิพันธุ์ กล่าวว่า จากการเดินทางสำรวจและเยี่ยมชมระบบลอจิสติกส์และการขนส่ง ณ ท่าเรือย่างกุ้ง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักในการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปต่างประเทศของพม่า มีสัดส่วนสินค้าที่ให้บริการ 90% ของทั่วประเทศ หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือในเมียนมาร์ คือ Myanmar Port Authority แบ่งออกเป็น 3 ส่วน เช่น การสร้างท่าเรือ และท่าเทียบเรือ ที่ปัจจุบันเมียนมาร์มีท่าเรือทั้งหมด 9 แห่ง และท่าเทียบเรือรวม 22 แห่ง โดยมีแผนที่จะสร้างเพิ่มเติม จะมีท่าเทียบเรือรวมทั้งสิ้น 62 แห่ง ที่ท่าเรือย่างกุ้ง และท่าเรือติละวา จะสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้ 75 ลำ และสามารถขนถ่ายสินค้าได้ประมาณ 80-100 ล้านตันต่อปี