นาวาอากาศตรี ประจักษ์ สัจจโสภณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เปิดเผยว่า บวท.ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้วางแผน และเตรียมการรองรับกรณีที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จะดำเนินการปรับปรุงทางวิ่ง ฝั่งตะวันออก ด้านทิศเหนือ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Runway 19L/01R) ระยะทาง 1,620 เมตร จากความยาวรันเวย์ทั้งสิ้น 4,000 เมตร ตั้งแต่เวลา 07.00 น.ของวันที่ 23 เมษายน 2555 ถึงเวลา 17.00 น.ของวันที่ 21 มิถุนายน 2555 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 60 วัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการบางส่วนของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ ได้วางแผนการปฏิบัติงานและแผนเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้สายการบินต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดระยะเวลาของการปรับปรุงพื้นผิวรันเวย์ โดยมีแผน 4 ด้าน คือ 1.นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการการจราจรภาคพื้นและการจัดลำดับการขึ้น-ลงของเครื่องบิน เพื่อลดการ Delay ให้น้อยที่สุด 2.จัดทำแผนบริหารการใช้ทางวิ่ง ทางขับ รวมถึงวิธีปฏิบัติ Gate Hold โดยการคำนวณระยะเวลาการบินขึ้นที่แม่นยำ เพื่อลดระยะเวลาการติดเครื่องยนต์รอบินขึ้นบน Taxi Way ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัว และยังช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องบินด้วย
3.ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงานในช่วงที่มีการปิดทางวิ่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถบริหารจัดการปริมาณการจราจรที่คับคั่งทั้งภาคพื้น และในอากาศ ด้วยความราบรื่นเรียบร้อย และ 4.สร้างความเข้าใจและการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ทอท.และสายการบินต่างๆ
สำหรับรันเวย์ฝั่งตะวันออกที่จะมีการปรับปรุงพื้นผิวทางนั้น ทอท.จะปิดทางวิ่งเฉพาะบริเวณที่จะปรับปรุงเท่านั้น ไม่ได้ปิดทางวิ่งทั้งหมด จึงสามารถใช้พื้นที่ที่เหลือรองรับการวิ่งขึ้นของเครื่องบินขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ATR72, แอร์บัส A320 และ โบอิ้ง B737 ในการวิ่งขึ้นได้ เนื่องจากใช้ระยะวิ่งขึ้นไม่เกิน 2,000 เมตร ส่วนรันเวย์ฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถรองรับเที่ยวบินได้ตามปกติ ประมาณ 34-36 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ดังนั้น บวท.เชื่อมั่นว่า จะสามารถบริหารจัดการการจราจรทางอากาศให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม บวท.ได้มีการประสานงานกับท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อรองรับเที่ยวบินในกรณีที่สายการบินต้องการย้ายไปใช้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว และได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกองการบินทหารเรือ เพื่อให้เครื่องบินสามารถทำการบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา ในกรณีที่เครื่องบินไม่สามารถลงที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ รวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ โดยมั่นใจว่า จะสามารถให้บริการจราจรทางอากาศให้มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นใจ และความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ และผู้โดยสารได้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัยทุกเที่ยวบิน
ทั้งนี้ ได้วางแผนการปฏิบัติงานและแผนเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้สายการบินต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดระยะเวลาของการปรับปรุงพื้นผิวรันเวย์ โดยมีแผน 4 ด้าน คือ 1.นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการการจราจรภาคพื้นและการจัดลำดับการขึ้น-ลงของเครื่องบิน เพื่อลดการ Delay ให้น้อยที่สุด 2.จัดทำแผนบริหารการใช้ทางวิ่ง ทางขับ รวมถึงวิธีปฏิบัติ Gate Hold โดยการคำนวณระยะเวลาการบินขึ้นที่แม่นยำ เพื่อลดระยะเวลาการติดเครื่องยนต์รอบินขึ้นบน Taxi Way ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัว และยังช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องบินด้วย
3.ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงานในช่วงที่มีการปิดทางวิ่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถบริหารจัดการปริมาณการจราจรที่คับคั่งทั้งภาคพื้น และในอากาศ ด้วยความราบรื่นเรียบร้อย และ 4.สร้างความเข้าใจและการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ทอท.และสายการบินต่างๆ
สำหรับรันเวย์ฝั่งตะวันออกที่จะมีการปรับปรุงพื้นผิวทางนั้น ทอท.จะปิดทางวิ่งเฉพาะบริเวณที่จะปรับปรุงเท่านั้น ไม่ได้ปิดทางวิ่งทั้งหมด จึงสามารถใช้พื้นที่ที่เหลือรองรับการวิ่งขึ้นของเครื่องบินขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ATR72, แอร์บัส A320 และ โบอิ้ง B737 ในการวิ่งขึ้นได้ เนื่องจากใช้ระยะวิ่งขึ้นไม่เกิน 2,000 เมตร ส่วนรันเวย์ฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถรองรับเที่ยวบินได้ตามปกติ ประมาณ 34-36 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ดังนั้น บวท.เชื่อมั่นว่า จะสามารถบริหารจัดการการจราจรทางอากาศให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม บวท.ได้มีการประสานงานกับท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อรองรับเที่ยวบินในกรณีที่สายการบินต้องการย้ายไปใช้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว และได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกองการบินทหารเรือ เพื่อให้เครื่องบินสามารถทำการบิน ณ สนามบินอู่ตะเภา ในกรณีที่เครื่องบินไม่สามารถลงที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ รวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ โดยมั่นใจว่า จะสามารถให้บริการจราจรทางอากาศให้มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นใจ และความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ และผู้โดยสารได้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัยทุกเที่ยวบิน