นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) เปิดเผยแผนการลงทุน 5 ปีนี้ ว่า บริษัทจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,300-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการลงทุนพื้นฐาน (Basic Case) ใช้เงินลงทุนแน่นอนเฉลี่ยปีละ 200-250 ล้านเหรียญ หากมีการลงทุนใหม่่ในต่างประเทศ บริษัทจะใช้เม็ดเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถ้ามีการลงทุนควบรวมกิจการ (M&A) ซึ่งเป็นการลงทุนแบบ High Case ก็จะใช้เงินลงทุนเพิ่มเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 5 ปีข้างหน้า
ขณะนี้บริษัทให้ความสำคัญในการลงทุนในต่างประเทศ โดยจะทำงานร่วมมือกับ ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดยดูลู่ทางการลงทุนทั้งในอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า จีน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขณะเดียวกัน ก็ดูลู่ทางการเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) ในยุโรปด้วย เนื่องจากมีบางบริษัทขาดสภาพคล่อง และเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งคนรุ่นใหม่อาจไม่ต้องสืบทอดธุรกิจต่อไป
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเจรจากับพันธมิตรยุโรปที่จะทำธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นในไทย ขณะเดียวกัน ก็ช่วยบริษัทดูลู่ทางการซื้อกิจการโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีในยุโรปด้วย
นายสุรงค์ กล่าวว่า บริษัทสนใจลงทุนโครงการผลิตภัณฑ์สินค้าเกรดพิเศษเกี่ยวเนื่องกับโรงกลั่นในอินโดนีเซีย อาทิ แว๊กซ์ ส่วน เวียดนาม จะเน้นการทำตลาด สารทำละลาย (โซเวนต์) เพิ่มมากกว่าการตั้งโรงงานเช่นเดียวกันจีนที่จะหันมาทำตลาดน้ำมันเครื่องมากขึ้น ส่วนพม่าก็จะมองโอกาสลงทุนทั้งเครือฯ มีทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมีและปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เกิด Synergyมากที่สุด
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2555 บริษัทจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันสูงมาก แต่หากไม่รวมสต๊อกน้ำมันจะมีกำไรขั้นต้นต่ำ เนื่องจากมีค่าการกลั่น (GRM) 1-2 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลเท่านั้น ส่วนมาร์จินของพาราไซลีนก็ไม่ค่อยดีนัก
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่า รายได้ไทยออยล์ปีนี้เติบโตขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยกลุ่ม ปตท.ได้ปรับประมาณการราคาน้ำมันดิบในปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 108 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็น 118 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล หากราคาน้ำมันยืนในระดับนี้ จะทำให้ทั้งปีไทยออยล์มีกำไรจากสต็อกน้ำมันค่อนข้างมาก
ขณะนี้บริษัทให้ความสำคัญในการลงทุนในต่างประเทศ โดยจะทำงานร่วมมือกับ ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดยดูลู่ทางการลงทุนทั้งในอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า จีน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขณะเดียวกัน ก็ดูลู่ทางการเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) ในยุโรปด้วย เนื่องจากมีบางบริษัทขาดสภาพคล่อง และเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งคนรุ่นใหม่อาจไม่ต้องสืบทอดธุรกิจต่อไป
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเจรจากับพันธมิตรยุโรปที่จะทำธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นในไทย ขณะเดียวกัน ก็ช่วยบริษัทดูลู่ทางการซื้อกิจการโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีในยุโรปด้วย
นายสุรงค์ กล่าวว่า บริษัทสนใจลงทุนโครงการผลิตภัณฑ์สินค้าเกรดพิเศษเกี่ยวเนื่องกับโรงกลั่นในอินโดนีเซีย อาทิ แว๊กซ์ ส่วน เวียดนาม จะเน้นการทำตลาด สารทำละลาย (โซเวนต์) เพิ่มมากกว่าการตั้งโรงงานเช่นเดียวกันจีนที่จะหันมาทำตลาดน้ำมันเครื่องมากขึ้น ส่วนพม่าก็จะมองโอกาสลงทุนทั้งเครือฯ มีทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมีและปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เกิด Synergyมากที่สุด
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2555 บริษัทจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันสูงมาก แต่หากไม่รวมสต๊อกน้ำมันจะมีกำไรขั้นต้นต่ำ เนื่องจากมีค่าการกลั่น (GRM) 1-2 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลเท่านั้น ส่วนมาร์จินของพาราไซลีนก็ไม่ค่อยดีนัก
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่า รายได้ไทยออยล์ปีนี้เติบโตขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยกลุ่ม ปตท.ได้ปรับประมาณการราคาน้ำมันดิบในปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 108 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็น 118 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล หากราคาน้ำมันยืนในระดับนี้ จะทำให้ทั้งปีไทยออยล์มีกำไรจากสต็อกน้ำมันค่อนข้างมาก