ASTVผู้จัดการรายวัน - ญี่ปุ่นรุดสอบถามแผนสร้างเขื่อนกั้นนิคมอุตสาหกรรม กังวล “สหรัตนนคร” ล่าช้า “พงษ์สวัสดิ์” ยันภาพรวมจะเสร็จช่วง ส.ค.นี้แน่นอน เผย ล่าสุด โรงงานที่ปิดกิจการชั่วคราวจากน้ำท่วมนิคมฯ เริ่มมาผลิตแล้วกว่า 50% ปลื้มผลเยือนญี่ปุ่น นักลงทุนพร้อมเดินหน้าลงทุนในไทยเพิ่ม เม็ดเงินขยายกิจการต่อเนื่องเฉียดแสนล้านบาท “พาณิชย์” อ้อนญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวและไก่ให้ไทย คาดได้ข่าวดีเร็วๆ นี้
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเข้าพบของนาย เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย วานนี้ (13 มี.ค.) ว่า ญี่ปุ่นได้ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการที่ประสบภาวะน้ำท่วม โดยมีความกังวลส่วนของนิคมสหรัตนนครที่อาจจะล่าช้ากว่าแผน โดยได้ยืนยันว่าจะดูแลให้เป็นไปตามแผนงานมากที่สุด ขณะที่นิคมฯ อื่นๆ ภาพรวมได้ก่อสร้างแล้ว คาดภายในเดือนส.ค.2555 จะเสร็จ และโรงงานต่างๆ ในนิคมฯ ที่ปิดกิจการชั่วคราวได้เริ่มทยอยมาเปิดดำเนินงานแล้วเกิน 50% จากที่ปิดไป 838 แห่ง
“ญี่ปุ่นกังวลนิคมฯ สหรัตนนครที่อยู่นอกคันกั้นน้ำเดิมของพื้นที่ จ.อยุธยา ซึ่งขณะนี้ก็กำลังดำเนินงานอยู่ โดยเฉพาะการเจรจากับเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการโหวตแผนฟื้นฟูที่จะพิจารณากันในวันที่ 23 มี.ค.รวมถึงการรอนสิทธิพื้นที่สร้างเขื่อนให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดพยายามจะให้เสร็จตามแผน ส.ค.นี้” ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์กล่าว
นอกจากนี้ ทางญี่ปุ่นได้สรุปผลกรณีนายกรัฐมนตรีและคณะนักลงทุนไทยไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีและทำให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นยังคงยืนยันในการขยายการลงทุนยังไทยต่อ โดยเบื้องต้น โตชิบา ยืนยันว่า จะขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรมเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ขอเปิดเผย เช่นเดียวกับบริษัท มิตซุย ที่สนใจลงทุนด้านพลังงานทดแทน มารูบินี สนใจลงทุนเกี่ยวกับรถไฟฟ้า และแคนนอนขยายการลงทุนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท
ขณะที่โตโยต้ายังสนใจขยายการผลิตรถตู้ในไทยเงินลงทุนอีกประมาณ 8,200 ล้านบาท นิสสันขยายลงทุนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่เงินลงทุนยังไม่ขอเปิดเผย ขณะเดียวกันค่ายรถฮอนด้าก็เตรียมแผนลงทุนฟื้ฟูกิจการอีก 22,000 ล้านบาท สยามโตโยต้าขยายการลงทุนเครื่องยนต์ดีเซลอีก 6,000 ล้านบาท อีซูซุลงทุนผลิตรถยนต์กระบะอีก 100,000คันเป็น 400,000คัน บริดจ์สโตนผลิตยางรถบรรทุกลงทุน 20,000 ล้านบาท ส่วนการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ทั้งมิตซูบิชิ ก็ยังเดินหน้าลงทุน 6,000 ล้านบาท และซูซูกิ 7,000 ล้านบาทตามแผน
“ผมเชื่อว่า บรรยากาศการลงทุนของไทยในปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอคาดหวังไว้ในระดับ 600,000 ล้านบาท” ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึงผลการเดินทางไปญี่ปุ่นในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบปะหารือกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (มิติ) และผู้นำเข้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น โดยได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวให้กับไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภค และขอให้เปิดตลาดให้นำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย หลังจากที่ญี่ปุ่นห้ามนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2547 ช่วงที่เกิดไข้หวัดนกระบาด แต่ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคดังกล่าวแล้ว ซึ่งคาดว่าไทยน่าจะได้ข่าวดีเร็วๆ นี้
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเข้าพบของนาย เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย วานนี้ (13 มี.ค.) ว่า ญี่ปุ่นได้ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการที่ประสบภาวะน้ำท่วม โดยมีความกังวลส่วนของนิคมสหรัตนนครที่อาจจะล่าช้ากว่าแผน โดยได้ยืนยันว่าจะดูแลให้เป็นไปตามแผนงานมากที่สุด ขณะที่นิคมฯ อื่นๆ ภาพรวมได้ก่อสร้างแล้ว คาดภายในเดือนส.ค.2555 จะเสร็จ และโรงงานต่างๆ ในนิคมฯ ที่ปิดกิจการชั่วคราวได้เริ่มทยอยมาเปิดดำเนินงานแล้วเกิน 50% จากที่ปิดไป 838 แห่ง
“ญี่ปุ่นกังวลนิคมฯ สหรัตนนครที่อยู่นอกคันกั้นน้ำเดิมของพื้นที่ จ.อยุธยา ซึ่งขณะนี้ก็กำลังดำเนินงานอยู่ โดยเฉพาะการเจรจากับเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการโหวตแผนฟื้นฟูที่จะพิจารณากันในวันที่ 23 มี.ค.รวมถึงการรอนสิทธิพื้นที่สร้างเขื่อนให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดพยายามจะให้เสร็จตามแผน ส.ค.นี้” ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์กล่าว
นอกจากนี้ ทางญี่ปุ่นได้สรุปผลกรณีนายกรัฐมนตรีและคณะนักลงทุนไทยไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีและทำให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นยังคงยืนยันในการขยายการลงทุนยังไทยต่อ โดยเบื้องต้น โตชิบา ยืนยันว่า จะขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรมเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ขอเปิดเผย เช่นเดียวกับบริษัท มิตซุย ที่สนใจลงทุนด้านพลังงานทดแทน มารูบินี สนใจลงทุนเกี่ยวกับรถไฟฟ้า และแคนนอนขยายการลงทุนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท
ขณะที่โตโยต้ายังสนใจขยายการผลิตรถตู้ในไทยเงินลงทุนอีกประมาณ 8,200 ล้านบาท นิสสันขยายลงทุนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่เงินลงทุนยังไม่ขอเปิดเผย ขณะเดียวกันค่ายรถฮอนด้าก็เตรียมแผนลงทุนฟื้ฟูกิจการอีก 22,000 ล้านบาท สยามโตโยต้าขยายการลงทุนเครื่องยนต์ดีเซลอีก 6,000 ล้านบาท อีซูซุลงทุนผลิตรถยนต์กระบะอีก 100,000คันเป็น 400,000คัน บริดจ์สโตนผลิตยางรถบรรทุกลงทุน 20,000 ล้านบาท ส่วนการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ทั้งมิตซูบิชิ ก็ยังเดินหน้าลงทุน 6,000 ล้านบาท และซูซูกิ 7,000 ล้านบาทตามแผน
“ผมเชื่อว่า บรรยากาศการลงทุนของไทยในปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอคาดหวังไว้ในระดับ 600,000 ล้านบาท” ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึงผลการเดินทางไปญี่ปุ่นในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบปะหารือกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (มิติ) และผู้นำเข้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น โดยได้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวให้กับไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภค และขอให้เปิดตลาดให้นำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย หลังจากที่ญี่ปุ่นห้ามนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2547 ช่วงที่เกิดไข้หวัดนกระบาด แต่ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคดังกล่าวแล้ว ซึ่งคาดว่าไทยน่าจะได้ข่าวดีเร็วๆ นี้