ASTVผู้จัดการรายวัน - นายก “ปู” รับปากหนุนท่องเที่ยวคู่ธุรกิจไมซ์ ดันประเทศไทยเป็นคอนเน็คทิวิตี้ รับเปิดเสรีอาเซียน ขณะเดียวกันนักวิชาการน้ำ รศ.ดร.เสรี บี้รัฐบาล เดินหน้าแผน กยน. รับมือน้ำท่วมปีนี้ ด้านกูรูเศรษฐกิจ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ แนะเอกชนมองตลาดให้กว้างกว่าแค่อาเซียน ขณะที่เอกชนเฟตต้า ชง ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว เสนอรัฐหนุนลงทุนเมกกะโปรเจค เพื่อเป้าหมายรายได้ 2 ล้านล้านบาทในปี 58
วานนี้(30 ม.ค.55) ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐบาล ต่อการท่องเที่ยวไทย....ในอนาคต” จัดโดยสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟตต้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะวางยุทธศาสตร์ชัดเจน ใน 2 เรื่อง สำคัญ คือ การสร้างความมั่นใจต่อประเทศไทยในสายตาต่างชาติ และการเตรียมตัวเข้าสู่เปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558การวางนยโบายส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ไทยเป็นเวทีใช้จัดประชุมนิทรรศการและการแสดงสินค้า(ไมซ์) โดยรัฐบาลจะวางแผนจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคมขนส่ง โปรโมตประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมโยง(คอนเน็คทิวิตี้ฮับ)ในการติดต่อกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพราะไทยตั้งอยู่ในโลเกชั่นที่ได้เปรียบ
“ผลจากการเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ที่เมืองดาร์วอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์สัปดาห์ก่อน ทำให้พบว่า การประชุมมีทั้งผู้นำประเทศและผู้ติดตามเดินทางไปเป็นจำนวนมาก โรงแรมที่พักถูกจองเต็มทุกแห่ง ทำให้ท่องเที่ยวคึกคัก ซึ่งไทยก็จะได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ครั้งที่ 2 ของปีนี้ วันที่ 30 พ.ค.- 1 มิ.ย.นี้ จึงอยากเห็นทุกภาคส่วนใช้โอกาสนี้ในการสร้างรายได้ให้ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องเหมือนเช่นที่เมืองดาร์วอส”
ในอดีตเราขายความงามธรรมชาติ วัฒนะธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งเมื่อเปิดเสรีอาเซียน ไทยต้องนำจุดเด่นด้านโลเกชั่น มาเป็นจุดขายสำคัญอีกทางหนึ่ง โดยรัฐจะสนับสนุน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง มอบนโยบายองค์กรปกครองท้องถิ่น วางยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวรายจังหวัดและรายคลัสเตอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมารัฐทำฝ่ายเดียวได้แต่ประชาชนและเอกชนก็ต้องร่วมกัน”
ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ มีนโยบายสร้างรายได้ชุมชน ขับเคลื่อนงานผ่านกองทุนที่มีอยู่ เช่น กองทุนหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น การเพิ่มขีดความสามารถบุคคลากร ด้านภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังเปิด AEC
***แนะเอกชนมองตลาดเอเปคใหญ่กว่าอาเซียน***
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักกลยุทธ์ ด้านการจัดการธุรกิจ เศรษฐกิจและการเมือง กล่าวในหัวข้อการเสวนา เรื่อง “วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ในปี2555” ว่า ต้องการให้ภาคเอกชนมองตลาดในภาพกว้าง เพื่อกำหนดกลยุทธ์ อย่ามองแค่การตลาดหรือการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) แต่ให้มองไปถึง 21 ประเทศ ในกลุ่ม เอเปก หรือ กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก รักษาฐานลูกค้าเก่า เพิ่มนักท่องเที่ยวจากตลาดใหม่ๆ เช่น เปรู ชิลี และแม็กซิโก ขณะที่จีน อินเดีย รัสเซีย เป็นตลาดใหญ่ ที่สำคัญมาก เพื่อลดความเสี่ยงของจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรป เพราะหากมองในแง่ร้าย ยอมรับว่า โอกาสที่เศรษฐกิจยุโรป จะล้มได้มีมากถึง 20-30% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ กรีส ซึ่งถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวจากตลาดยุโรป จะเติบโตหรือมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่
***กูรูบี้รัฐปฎิบัติตามแผนบริหารน้ำ***
ขณะที่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการเป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง “มุมมองท่องเที่ยวไทย...ในอนาคต”ว่า รัฐบาลควรนำแผนที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งทำเสร็จแล้วไปดำเนินการปฎิบัติให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมอย่างปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันต้องมองข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำไว้ล่วงหน้า เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำและบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม เพราะแม้ปี 2555 จะมีปริมาณน้ำมากเท่ากับปีก่อน แต่ ปี 2556 จะเกิดปรากฏการณ์ ลานีญ่า คือ เกิดภัยแล้ง เพราะไม่ว่าน้ำท่วม หรือภัยแล้ง จะกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวทั้งสิ้น
***เอกชนชงยุทธศาตร์เสนอรัฐหนุนเมกกะโปรเจค***
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) กล่าวว่า เอกชนท่องเที่ยวในกลุ่มเฟตต้า อยู่ระหว่างการหารือแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวไทย เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะเสร็จพร้อมเสนอในเดือนมีนาคมนี้ กรอบเบื้องต้น มี 2 ยุทธศาสตร์หลักสำคัญ ที่จะทำให้ไทยเข้าสู่การแข่งขันAEC และสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยว 30 ล้านคน ภายในปี 2558 ตามแผนรัฐบาล คือ การรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว ให้ดีไม่เสื่อมโทรม และการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆในรูปเมกกะโปรเจค ดึงการลงทุนแบบแมนเมค
“หากเรายังขายธรรมชาติ หาดทราย ชายทะเล ทุกประเทศก็มีเหมือนกัน แต่เมกกะโปรเจค จะช่วยดึงรายได้เข้าประเทศได้มาก เช่น ดิสนีแลนด์ ที่สำคัญไทยมีศักยภาพเพียงพอให้ดิสนีแลนด์เชื่อมั่นหรือไม่ โครงการเหล่านี้ช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว วันนี้รัฐควรวางแผนเมกกะโปรเจคระยะ 3-5 ปีได้แล้ว รวมถึงจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เพียงพอ”
อย่างไรก็ตาม เอกชนท่องเที่ยวต้องการให้รัฐบาล นายกรัฐมนตรีทำงานร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวนำไปสานต่อ หากแผนงานไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศ ก็ให้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาทำงาน ที่ผ่านมาผลงานของรัฐบาลด้านการท่องเที่ยวยังไม่เห็นชัดเจน ซึ่งการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นอยู่ เป็นการเติบโตตามธรรมชาติ เพราะเศรษฐกิจประเทศรอบบ้านเติบโต คนจึงท่องเที่ยว
วานนี้(30 ม.ค.55) ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐบาล ต่อการท่องเที่ยวไทย....ในอนาคต” จัดโดยสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟตต้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะวางยุทธศาสตร์ชัดเจน ใน 2 เรื่อง สำคัญ คือ การสร้างความมั่นใจต่อประเทศไทยในสายตาต่างชาติ และการเตรียมตัวเข้าสู่เปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558การวางนยโบายส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ไทยเป็นเวทีใช้จัดประชุมนิทรรศการและการแสดงสินค้า(ไมซ์) โดยรัฐบาลจะวางแผนจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคมขนส่ง โปรโมตประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมโยง(คอนเน็คทิวิตี้ฮับ)ในการติดต่อกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพราะไทยตั้งอยู่ในโลเกชั่นที่ได้เปรียบ
“ผลจากการเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ที่เมืองดาร์วอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์สัปดาห์ก่อน ทำให้พบว่า การประชุมมีทั้งผู้นำประเทศและผู้ติดตามเดินทางไปเป็นจำนวนมาก โรงแรมที่พักถูกจองเต็มทุกแห่ง ทำให้ท่องเที่ยวคึกคัก ซึ่งไทยก็จะได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ครั้งที่ 2 ของปีนี้ วันที่ 30 พ.ค.- 1 มิ.ย.นี้ จึงอยากเห็นทุกภาคส่วนใช้โอกาสนี้ในการสร้างรายได้ให้ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องเหมือนเช่นที่เมืองดาร์วอส”
ในอดีตเราขายความงามธรรมชาติ วัฒนะธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งเมื่อเปิดเสรีอาเซียน ไทยต้องนำจุดเด่นด้านโลเกชั่น มาเป็นจุดขายสำคัญอีกทางหนึ่ง โดยรัฐจะสนับสนุน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง มอบนโยบายองค์กรปกครองท้องถิ่น วางยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวรายจังหวัดและรายคลัสเตอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมารัฐทำฝ่ายเดียวได้แต่ประชาชนและเอกชนก็ต้องร่วมกัน”
ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ มีนโยบายสร้างรายได้ชุมชน ขับเคลื่อนงานผ่านกองทุนที่มีอยู่ เช่น กองทุนหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น การเพิ่มขีดความสามารถบุคคลากร ด้านภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังเปิด AEC
***แนะเอกชนมองตลาดเอเปคใหญ่กว่าอาเซียน***
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักกลยุทธ์ ด้านการจัดการธุรกิจ เศรษฐกิจและการเมือง กล่าวในหัวข้อการเสวนา เรื่อง “วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ในปี2555” ว่า ต้องการให้ภาคเอกชนมองตลาดในภาพกว้าง เพื่อกำหนดกลยุทธ์ อย่ามองแค่การตลาดหรือการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) แต่ให้มองไปถึง 21 ประเทศ ในกลุ่ม เอเปก หรือ กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก รักษาฐานลูกค้าเก่า เพิ่มนักท่องเที่ยวจากตลาดใหม่ๆ เช่น เปรู ชิลี และแม็กซิโก ขณะที่จีน อินเดีย รัสเซีย เป็นตลาดใหญ่ ที่สำคัญมาก เพื่อลดความเสี่ยงของจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรป เพราะหากมองในแง่ร้าย ยอมรับว่า โอกาสที่เศรษฐกิจยุโรป จะล้มได้มีมากถึง 20-30% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ กรีส ซึ่งถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวจากตลาดยุโรป จะเติบโตหรือมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่
***กูรูบี้รัฐปฎิบัติตามแผนบริหารน้ำ***
ขณะที่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการเป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง “มุมมองท่องเที่ยวไทย...ในอนาคต”ว่า รัฐบาลควรนำแผนที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งทำเสร็จแล้วไปดำเนินการปฎิบัติให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมอย่างปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันต้องมองข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำไว้ล่วงหน้า เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำและบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม เพราะแม้ปี 2555 จะมีปริมาณน้ำมากเท่ากับปีก่อน แต่ ปี 2556 จะเกิดปรากฏการณ์ ลานีญ่า คือ เกิดภัยแล้ง เพราะไม่ว่าน้ำท่วม หรือภัยแล้ง จะกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวทั้งสิ้น
***เอกชนชงยุทธศาตร์เสนอรัฐหนุนเมกกะโปรเจค***
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) กล่าวว่า เอกชนท่องเที่ยวในกลุ่มเฟตต้า อยู่ระหว่างการหารือแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวไทย เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะเสร็จพร้อมเสนอในเดือนมีนาคมนี้ กรอบเบื้องต้น มี 2 ยุทธศาสตร์หลักสำคัญ ที่จะทำให้ไทยเข้าสู่การแข่งขันAEC และสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยว 30 ล้านคน ภายในปี 2558 ตามแผนรัฐบาล คือ การรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว ให้ดีไม่เสื่อมโทรม และการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆในรูปเมกกะโปรเจค ดึงการลงทุนแบบแมนเมค
“หากเรายังขายธรรมชาติ หาดทราย ชายทะเล ทุกประเทศก็มีเหมือนกัน แต่เมกกะโปรเจค จะช่วยดึงรายได้เข้าประเทศได้มาก เช่น ดิสนีแลนด์ ที่สำคัญไทยมีศักยภาพเพียงพอให้ดิสนีแลนด์เชื่อมั่นหรือไม่ โครงการเหล่านี้ช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว วันนี้รัฐควรวางแผนเมกกะโปรเจคระยะ 3-5 ปีได้แล้ว รวมถึงจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เพียงพอ”
อย่างไรก็ตาม เอกชนท่องเที่ยวต้องการให้รัฐบาล นายกรัฐมนตรีทำงานร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวนำไปสานต่อ หากแผนงานไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศ ก็ให้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาทำงาน ที่ผ่านมาผลงานของรัฐบาลด้านการท่องเที่ยวยังไม่เห็นชัดเจน ซึ่งการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นอยู่ เป็นการเติบโตตามธรรมชาติ เพราะเศรษฐกิจประเทศรอบบ้านเติบโต คนจึงท่องเที่ยว