มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น มองต่อไปจะยุคสมัยของอาเซียน หรือ อาเซียน อีรา (Asean Era) ย้ำ ไทยเป็นศูนย์กลางและตลาดสำคัญของภูมิภาค เผย มีโอกาสทำยอดขายสูงสุด 1 ใน 5 ของโลก จากปัจจุบันอยู่อันดับ 6 แถมบรรลุเป้าหมายล่วงหน้า 2 ปี ต้องขยับแชร์ใหม่เพิ่มเป็น 7% ในปี 2556 พร้อมประกาศสนับสนุนเรื่องผลิตภัณฑ์และการตลาดเต็มที่
นายมาซาฮิโระ โมโร เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ หรือสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ทิศทางหรือแนวโน้มต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ อย่างเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือ ยุโรป ที่เคยแข็งแกร่งก็เกิดวิกฤต หรือแม้แต่ประเทศจีนที่มีการประเมินในอนาคตจะชะลอตัวลง และดูเหมือนว่าการพยากรณ์ดังกล่าวจะถูกต้องด้วย
“เมื่อมีประเทศที่ตกต่ำ ย่อมต้องมีกลุ่มประเทศที่แข็งแกร่ง และมีความโดดเด่นขึ้นมาแทน ซึ่งแน่นอนอาเซียนเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง โดยเห็นได้จากกลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทรถ ต่างเข้ามาลงทุน และรุกตลาดนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับมาสด้าที่มองว่าต่อไปจะเป็นยุคสมัยของอาเซียน หรือ อาเซียน อีรา (Asean Era) โดยเฉพาะในไทยที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของมาสด้าทั่วโลก”
สำหรับปัจจุบันยอดขายสูงสุดของมาสด้า อันดับหนึ่งเป็นสหรัฐอเมริกา รองลงมาอยู่ที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และ ไทย แต่หากดูเฉพาะส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในแต่ละประเทศ ปรากฏว่า ไทยจะอยู่ดับ 3 โดยปัจจุบันอยู่ที่กว่า 5% ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการลงทุน และวางผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเก๋งขนาดเล็กมาสด้า 2
นายโมโร กล่าวว่า ไทยเป็นตลาดที่สำคัญของมาสด้า และถือเป็นฐานการผลิตหลักในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี 2553 มาสด้าได้ประกาศแผนธุรกิจ Building Block ในไทย โดยมีเป้าหมายครองส่วนแบ่งการตลาด 5% ภายในปี 2556 แต่เมื่อปีที่ผ่านมา มาสด้าในประเทศไทย สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเวลาถึง 2 ปี นี่แสดงให้เห็นความสำเร็จ และการมีฐานตลาดที่แข็งแกร่ง และจะเป็นส่วนสำคัญให้มาสด้าเติบโตควบคู่ไปกับภูมิภาคนี้
“มาสด้าได้มีการปรับเป้าหมายใหม่ โดยในปีนี้มาสด้าตั้งเป้าขาย 60,000 คัน หรือมีส่วนแบ่งการตลาด 6% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7% ในปี 2556 ซึ่งการเติบโตดังกล่าวจะควบคู่ไปกับภูมิภาคอาเซียน และทำให้มาสด้าในไทยมีโอกาสที่จะมียอดขายสูงสุดติด 1 ใน 5 ของโลก”
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศแคนาดา ที่อยู่อันดับ 5 ปีที่ผ่านมา มียอดขายกว่า 7 หมื่นคัน ขณะที่ไทยทำได้ 4.2 หมื่นคัน แม้จะห่างกันพอสมควร แต่หากมองตลาดรวมแคนาดาใหญ่กว่าไทยมาก หรืออยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านคัน ส่วนตลาดรถไทยแค่ 8 แสนคัน แต่จากนี้ไปไทยเองมีเป้าหมายเติบโตสูงเช่นกัน และหากตลาดแคนาดาชะลอตัว ส่วนไทยยังคงทิศทางนี้โอกาสที่ขึ้นมาทดแทนก็เป็นไปได้เช่นกัน และ มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมจะสนับสนุนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์ หรือเรื่องการตลาด
นายโมโร กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (24 ม.ค.) มาสด้าจะเปิดโฉมใหม่ของปิกอัพรุ่นบีที-50 สู่ตลาดไทย ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความแตกต่าง และขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ด้วยการตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องการปิกอัพที่มีความรู้สึกเดียวกับรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง และตัวรถมีเส้นสายสวยงาม ขณะเดียวกันก็ยังคงสมรรถนะของความเป็นปิกอัพไว้ครบครัน
นอกจากนี้ จะมีการเปิดตัวมาสด้า 3 โฉมใหม่ เครื่องยนต์ 1600 ซีซี ในเร็วๆ นี้ เพื่อตอบสนองผู้ชื่นชอบรถยนต์ที่มีสมรรถนะสปอร์ตในตัว และขับสนุก พร้อมกับรูปลักษณ์การออกแบบสวยงามประณีตและมีศิลปะ ซึ่งการพยายามหาช่องว่างและตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ตรงจุดเหล่านี้ เชื่อมั่นว่ามาสด้าจะสามารถขยายตลาดและเติบโตได้ แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีในปัจจุบันคงไม่เพียงพอต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ซึ่งอนาคตจะต้องมีมากกว่านี้ ส่วนจะเป็นรุ่นไหนต้องดูความต้องการของตลาด ความคุ้มค่าทางธุรกิจ และนโยบายของรัฐบาลด้วย
นายมาซาฮิโระ โมโร เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ หรือสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ทิศทางหรือแนวโน้มต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ อย่างเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือ ยุโรป ที่เคยแข็งแกร่งก็เกิดวิกฤต หรือแม้แต่ประเทศจีนที่มีการประเมินในอนาคตจะชะลอตัวลง และดูเหมือนว่าการพยากรณ์ดังกล่าวจะถูกต้องด้วย
“เมื่อมีประเทศที่ตกต่ำ ย่อมต้องมีกลุ่มประเทศที่แข็งแกร่ง และมีความโดดเด่นขึ้นมาแทน ซึ่งแน่นอนอาเซียนเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง โดยเห็นได้จากกลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทรถ ต่างเข้ามาลงทุน และรุกตลาดนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับมาสด้าที่มองว่าต่อไปจะเป็นยุคสมัยของอาเซียน หรือ อาเซียน อีรา (Asean Era) โดยเฉพาะในไทยที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของมาสด้าทั่วโลก”
สำหรับปัจจุบันยอดขายสูงสุดของมาสด้า อันดับหนึ่งเป็นสหรัฐอเมริกา รองลงมาอยู่ที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และ ไทย แต่หากดูเฉพาะส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในแต่ละประเทศ ปรากฏว่า ไทยจะอยู่ดับ 3 โดยปัจจุบันอยู่ที่กว่า 5% ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการลงทุน และวางผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเก๋งขนาดเล็กมาสด้า 2
นายโมโร กล่าวว่า ไทยเป็นตลาดที่สำคัญของมาสด้า และถือเป็นฐานการผลิตหลักในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี 2553 มาสด้าได้ประกาศแผนธุรกิจ Building Block ในไทย โดยมีเป้าหมายครองส่วนแบ่งการตลาด 5% ภายในปี 2556 แต่เมื่อปีที่ผ่านมา มาสด้าในประเทศไทย สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเวลาถึง 2 ปี นี่แสดงให้เห็นความสำเร็จ และการมีฐานตลาดที่แข็งแกร่ง และจะเป็นส่วนสำคัญให้มาสด้าเติบโตควบคู่ไปกับภูมิภาคนี้
“มาสด้าได้มีการปรับเป้าหมายใหม่ โดยในปีนี้มาสด้าตั้งเป้าขาย 60,000 คัน หรือมีส่วนแบ่งการตลาด 6% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7% ในปี 2556 ซึ่งการเติบโตดังกล่าวจะควบคู่ไปกับภูมิภาคอาเซียน และทำให้มาสด้าในไทยมีโอกาสที่จะมียอดขายสูงสุดติด 1 ใน 5 ของโลก”
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศแคนาดา ที่อยู่อันดับ 5 ปีที่ผ่านมา มียอดขายกว่า 7 หมื่นคัน ขณะที่ไทยทำได้ 4.2 หมื่นคัน แม้จะห่างกันพอสมควร แต่หากมองตลาดรวมแคนาดาใหญ่กว่าไทยมาก หรืออยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านคัน ส่วนตลาดรถไทยแค่ 8 แสนคัน แต่จากนี้ไปไทยเองมีเป้าหมายเติบโตสูงเช่นกัน และหากตลาดแคนาดาชะลอตัว ส่วนไทยยังคงทิศทางนี้โอกาสที่ขึ้นมาทดแทนก็เป็นไปได้เช่นกัน และ มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมจะสนับสนุนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์ หรือเรื่องการตลาด
นายโมโร กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (24 ม.ค.) มาสด้าจะเปิดโฉมใหม่ของปิกอัพรุ่นบีที-50 สู่ตลาดไทย ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความแตกต่าง และขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ด้วยการตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องการปิกอัพที่มีความรู้สึกเดียวกับรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง และตัวรถมีเส้นสายสวยงาม ขณะเดียวกันก็ยังคงสมรรถนะของความเป็นปิกอัพไว้ครบครัน
นอกจากนี้ จะมีการเปิดตัวมาสด้า 3 โฉมใหม่ เครื่องยนต์ 1600 ซีซี ในเร็วๆ นี้ เพื่อตอบสนองผู้ชื่นชอบรถยนต์ที่มีสมรรถนะสปอร์ตในตัว และขับสนุก พร้อมกับรูปลักษณ์การออกแบบสวยงามประณีตและมีศิลปะ ซึ่งการพยายามหาช่องว่างและตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ตรงจุดเหล่านี้ เชื่อมั่นว่ามาสด้าจะสามารถขยายตลาดและเติบโตได้ แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีในปัจจุบันคงไม่เพียงพอต่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ซึ่งอนาคตจะต้องมีมากกว่านี้ ส่วนจะเป็นรุ่นไหนต้องดูความต้องการของตลาด ความคุ้มค่าทางธุรกิจ และนโยบายของรัฐบาลด้วย