ASTVผู้จัดการรายวัน - “ศิริวัฒน์” รับเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสาธารณสุข และพาณิชย์ ดูโครงสร้างราคายาใหม่ หลังถูกร้องแพงเกินจริง พร้อมหาทางจัดการยาปลอมที่ขายเกลื่อนทางอินเทอร์เน็ต เห็นด้วยดันเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมในอนุกรรมการยาและเวชภัณฑ์ชุดต่างๆ แฉบริษัทยาโขกกำไรตั้งราคายากว่า 20 เท่า
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) และองค์กรภาคประชาชน วานนี้ (17 ม.ค.) ว่า จะมีการเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงสาธารณสุข กรมการค้าภายใน มาหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องยามีราคาแพงเกินจริง เพราะสินค้ายาเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่คงไม่ใช่การกำหนดราคาควบคุมยา เพราะไม่สามารถทำได้ แต่จะใช้วิธีการเจรจาว่าบริษัทยาจะสามารถปรับลดราคาลงมา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพราะอุตสาหกรรมยาก็มีการลงทุนสูง ในขณะที่ภาคประชาชนจำเป็นต้องเข้าถึงยาเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังมีการชี้แจงกรณีที่ไทยต้องบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (CL) เพราะต้องการให้ประชาชนเข้าถึงยา แต่ไม่ได้มีข้อเสนอที่จะขอใช้ CL กับยารายการใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งทางพรีมาได้ขอให้รัฐบาลบังคับใช้ CL ภายใต้ความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ให้การใช้ CL ต้องทำกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะเร่งด่วน โดยรัฐบาลควรพิจารณาการบังคับใช้ให้สอดคล้องข้อตกลง TRIPs เพราะแม้การใช้ CL ที่เคยทำในรัฐบาลเมื่อปี 2550 จะช่วยลดงบประมาณการค่ายาของรัฐได้ แต่ก็ลงได้เพียง 1% ในทางกลับกันได้สร้างผลกระทบระยะยาวต่อความเชื่อมั่นของคู่ค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับสถานการณ์ของยาปลอมที่พบในสถานที่ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิต
ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชน ได้ขอให้รัฐบาลสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนกำหนดนโยบายและวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการให้เข้าไปเป็นตัวแทนคณะอนุกรรมการต่างๆ โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งตนเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และพร้อมผลักดันให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ตามที่ร้องขอ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการตั้งข้อสังเกตุถึงการตั้งราคายาที่มีสิทธิบัตรของบริษัทยา หลังจากทางพรีมาขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญในการคุ้มครองยา เพราะการพัฒนายาใหม่ขึ้นมาแต่ละชนิดต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10-15 ปี โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ยมากถึง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนได้ออกมาโต้แย้งว่า การตั้งราคายาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองนาน 15-20 ปี มีการกำหนดราคายาที่สูงเกินความเป็นจริงมาก สังเกตุได้จากเมื่อยาหมดอายุสิทธิบัตร จากราคายาที่เคยจำหน่ายเม็ดละ 100 บาท ลดลงเหลือเพียง 10-20 บาทเท่านั้น หรือมีการตั้งกำไรสูงถึง 20 เท่า จึงขอให้ นายศิริวัฒน์ เข้ามาดูแลโครงสร้างราคายาใหม่
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) และองค์กรภาคประชาชน วานนี้ (17 ม.ค.) ว่า จะมีการเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงสาธารณสุข กรมการค้าภายใน มาหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องยามีราคาแพงเกินจริง เพราะสินค้ายาเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่คงไม่ใช่การกำหนดราคาควบคุมยา เพราะไม่สามารถทำได้ แต่จะใช้วิธีการเจรจาว่าบริษัทยาจะสามารถปรับลดราคาลงมา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพราะอุตสาหกรรมยาก็มีการลงทุนสูง ในขณะที่ภาคประชาชนจำเป็นต้องเข้าถึงยาเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังมีการชี้แจงกรณีที่ไทยต้องบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (CL) เพราะต้องการให้ประชาชนเข้าถึงยา แต่ไม่ได้มีข้อเสนอที่จะขอใช้ CL กับยารายการใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งทางพรีมาได้ขอให้รัฐบาลบังคับใช้ CL ภายใต้ความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ให้การใช้ CL ต้องทำกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะเร่งด่วน โดยรัฐบาลควรพิจารณาการบังคับใช้ให้สอดคล้องข้อตกลง TRIPs เพราะแม้การใช้ CL ที่เคยทำในรัฐบาลเมื่อปี 2550 จะช่วยลดงบประมาณการค่ายาของรัฐได้ แต่ก็ลงได้เพียง 1% ในทางกลับกันได้สร้างผลกระทบระยะยาวต่อความเชื่อมั่นของคู่ค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับสถานการณ์ของยาปลอมที่พบในสถานที่ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิต
ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชน ได้ขอให้รัฐบาลสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนกำหนดนโยบายและวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการให้เข้าไปเป็นตัวแทนคณะอนุกรรมการต่างๆ โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งตนเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และพร้อมผลักดันให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ตามที่ร้องขอ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการตั้งข้อสังเกตุถึงการตั้งราคายาที่มีสิทธิบัตรของบริษัทยา หลังจากทางพรีมาขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญในการคุ้มครองยา เพราะการพัฒนายาใหม่ขึ้นมาแต่ละชนิดต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10-15 ปี โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ยมากถึง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนได้ออกมาโต้แย้งว่า การตั้งราคายาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองนาน 15-20 ปี มีการกำหนดราคายาที่สูงเกินความเป็นจริงมาก สังเกตุได้จากเมื่อยาหมดอายุสิทธิบัตร จากราคายาที่เคยจำหน่ายเม็ดละ 100 บาท ลดลงเหลือเพียง 10-20 บาทเท่านั้น หรือมีการตั้งกำไรสูงถึง 20 เท่า จึงขอให้ นายศิริวัฒน์ เข้ามาดูแลโครงสร้างราคายาใหม่