ASTVผู้จัดการรายวัน - ยักษ์ใหญ่ “โตโยต้า” เชื่อมั่นประเทศไทย ตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่เกตุเวย์เพิ่มอีกแห่ง เพื่อผลิตเก๋งและอีโคคาร์ในกลางปี 2556 พร้อมกลับมาปรับและเปิดสายการผลิตโรงงานทีเอดับเบิลยู เพื่อผลิตรถรุ่นใหม่ปลายปีนี้ รวมมูลค่าการลงทุน 8.2 พันล้าน ขณะที่มองตลาดรถไทยปีนี้ เห็นพ้องกับ “อีซูซุ” คาด จะพุ่งทะลุ 1 ล้านคัน ทำสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดรถไทยโตโยต้าลงทุนตั้ง รง.ใหม่ 8.2 พันล.
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่ท่านประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาประเทศไทยในช่วงเกิดเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และกล่าวว่า พร้อมที่จะขยายกิจการของโตโยต้าในประเทศไทยต่อไป
“ขณะที่ตลาดมีความต้องการสูง และการผลิตปัจจุบันไม่เพียงพอรองรับได้ โตโยต้าจึงจะก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ในชื่อโรงงานผลิตรถยนต์เกตเวย์ 2 พร้อมกลับมาเริ่มปรับและเปิดสายการผลิตโรงงานไทยออโต้เวิร์ค หรือ ทีเอดับเบิลยู (TAW) อีกครั้ง รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 8.2 พันล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตทั้งสองแห่งรวมกันอยู่ที่ 8.8 หมื่นคัน”
ทั้งนี้ โรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ จะเริ่มการผลิตประมาณกลางปีหน้า หรือช่วงเดือนกรกฎาคม โดยจะผลิตรถยนต์นั่ง หรือ เก๋ง ซึ่งรวมรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ที่จะเปิดตัวในปี 2556 ด้วยกำลังการผลิตของโรงงานแห่งนี้ประมาณ 7 หมื่นคันต่อปี มูลค่าการลงทุน 7 พันล้านบาท
นายทานาดะ กล่าวว่า ส่วนโรงงานทีเอดับเบิลยูที่เดิมเคยผลิตรถยนต์โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ก่อนจะย้ายไปโรงงานบ้านโพธิ์ จะปรับสายผลิตรองรับการประกอบรถยนต์รุ่นใหม่ แต่ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ตอนนี้ โดยจะเริ่มการผลิตประมาณปลายปีนี้ ด้วยมูลค่าการลงทุนปรับไลน์ผลิตมีกำลังการผลิตอยู่ที่ปีละประมาณ 1.8 หมื่นคัน
น้ำท่วมพ่นพิษยอดผลิตหาย 2 แสน
สำหรับตลาดรถยนต์ในปี 2554 ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น และน้ำท่วมใหญ่ในไทยช่วงปลายปีที่แล้ว ทำให้ยอดขายรถในไทยโดยรวมไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ที่ระดับ 9 แสนคัน โดยทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ด้วยยอดขายประมาณ 7.94 แสนคัน หรือลดลง 0.8%
ขณะที่โตโยต้ายอดขายในปีที่ผ่านมา 2.9 แสนคัน ลดลง 11% ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้า จำนวน 2.5 แสนคัน ลดลง 25% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.07 แสนล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกนำรายได้กลับสู่ประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 1.61 แสนล้านบาท
นายทานาดะ กล่าวว่า สำหรับยอดขายในประเทศและการส่งออกที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์ จากเหตุการณ์สึนามิ และอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าเดือนมีนาคมจะฟื้นการผลิตมาได้ 6 แสนคัน ทำให้ทั่วโลกการผลิตหายไป 4 แสนคัน และเฉพาะในไทย 2 แสนคัน โดยแบ่งเป็นจากผลกระทบน้ำท่วม 1.5 แสนคัน และจากเหตุการณ์สึนามิจำนวน 5 หมื่นคัน
เห็นพ้องอีซูซุตลาดพุ่งทะลุล้านคัน
“ส่วนตลาดรถยนต์ไทยในปี 2555 ยังคงมีความต้องการอยู่อย่างมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องของค่ายรถยนต์ต่างๆ ด้วยการแนะนำรถรุ่นใหม่ ตลอดจนนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ คาดว่าตลาดรถยนต์ในเมืองไทย จะมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.1 ล้านคัน”
ในส่วนของโตโยต้าปีนี้ เราตั้งเป้าหมายการขายที่ 4.5 แสนคัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 2.14 แสนคัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2.36 แสนคัน โดยเป็นปิกอัพ 1 ตัน (รวมปิกอัพดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ ด้วยจำนวน 2.141 แสนคัน และเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ เป็นรถสำเร็จรูปประมาณ 3.75 แสนคัน เพิ่มขึ้น 50% คิดเป็นมูลค่า 1.57 แสนล้านบาท และชิ้นส่วนมูลค่า 6.47 หมื่นล้านบาท โดยรวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 2.217 แสนล้านบาท
นายฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ในส่วนโรงงานผลิตรถอีซูซุจะกลับมาฟื้นกำลังผลิตเต็มที่อีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และหลังการเปิดตัวปิกอัพ อีซูซุ ดีแมคซ์ ใหม่ ได้การตอบรับจากตลาดดีมาก แต่ช่วงที่น้ำท่วมทำให้การผลิตมีปัญหา ปัจจุบันมียอดค้างส่งมอบกว่า 50,000 หมื่นคัน หรือถ้าจองรถตอนนี้ลูกค้าอาจต้องรออย่างน้อย 4 เดือน
“ในส่วนของแนวโน้มตลาด อีซูซุมองไปในทิศทางเดียวกับค่ายรถยนต์อื่นๆ ว่า หลังกำลังการผลิตกับมาเดินเครื่องเป็นปกติ มีโอกาสที่ตลาดรถยนต์รวมในปีนี้จะทำสถิติขายสูงสุดถึง 1 ล้านคัน ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นสัดส่วนของปิกอัพ 50% หรือเพิ่มขั้นจากปี 2554 ที่มีสัดส่วนเพียง 42%”
สำหรับยอดขายรถอีซูซุปีนี้ บริษัทยังไม่ได้ตั้งเป้าหมาย เพราะต้องดูตามความสามารถในการผลิต เพราะขึ้นอยู่กับการผลิตชิ้นส่วนของซัปพลายเออร์ด้วย แต่ถ้ามองจากตลาดรวม 1 ล้านคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 5 แสนคัน ดังนั้นถ้าบริษัทมีส่วนแบ่งในตลาดปิกอัพ 35-40% ยอดขายปี 2555น่าจะอยู่ประมาณ 1.8-2.0 แสนคัน (ปี 2554 ทำได้ 1.3 แสนคัน)
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่ท่านประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาประเทศไทยในช่วงเกิดเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และกล่าวว่า พร้อมที่จะขยายกิจการของโตโยต้าในประเทศไทยต่อไป
“ขณะที่ตลาดมีความต้องการสูง และการผลิตปัจจุบันไม่เพียงพอรองรับได้ โตโยต้าจึงจะก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ในชื่อโรงงานผลิตรถยนต์เกตเวย์ 2 พร้อมกลับมาเริ่มปรับและเปิดสายการผลิตโรงงานไทยออโต้เวิร์ค หรือ ทีเอดับเบิลยู (TAW) อีกครั้ง รวมมูลค่าการลงทุนประมาณ 8.2 พันล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตทั้งสองแห่งรวมกันอยู่ที่ 8.8 หมื่นคัน”
ทั้งนี้ โรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ จะเริ่มการผลิตประมาณกลางปีหน้า หรือช่วงเดือนกรกฎาคม โดยจะผลิตรถยนต์นั่ง หรือ เก๋ง ซึ่งรวมรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ที่จะเปิดตัวในปี 2556 ด้วยกำลังการผลิตของโรงงานแห่งนี้ประมาณ 7 หมื่นคันต่อปี มูลค่าการลงทุน 7 พันล้านบาท
นายทานาดะ กล่าวว่า ส่วนโรงงานทีเอดับเบิลยูที่เดิมเคยผลิตรถยนต์โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ก่อนจะย้ายไปโรงงานบ้านโพธิ์ จะปรับสายผลิตรองรับการประกอบรถยนต์รุ่นใหม่ แต่ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ตอนนี้ โดยจะเริ่มการผลิตประมาณปลายปีนี้ ด้วยมูลค่าการลงทุนปรับไลน์ผลิตมีกำลังการผลิตอยู่ที่ปีละประมาณ 1.8 หมื่นคัน
น้ำท่วมพ่นพิษยอดผลิตหาย 2 แสน
สำหรับตลาดรถยนต์ในปี 2554 ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น และน้ำท่วมใหญ่ในไทยช่วงปลายปีที่แล้ว ทำให้ยอดขายรถในไทยโดยรวมไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ที่ระดับ 9 แสนคัน โดยทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ด้วยยอดขายประมาณ 7.94 แสนคัน หรือลดลง 0.8%
ขณะที่โตโยต้ายอดขายในปีที่ผ่านมา 2.9 แสนคัน ลดลง 11% ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้า จำนวน 2.5 แสนคัน ลดลง 25% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.07 แสนล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกนำรายได้กลับสู่ประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 1.61 แสนล้านบาท
นายทานาดะ กล่าวว่า สำหรับยอดขายในประเทศและการส่งออกที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์ จากเหตุการณ์สึนามิ และอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าเดือนมีนาคมจะฟื้นการผลิตมาได้ 6 แสนคัน ทำให้ทั่วโลกการผลิตหายไป 4 แสนคัน และเฉพาะในไทย 2 แสนคัน โดยแบ่งเป็นจากผลกระทบน้ำท่วม 1.5 แสนคัน และจากเหตุการณ์สึนามิจำนวน 5 หมื่นคัน
เห็นพ้องอีซูซุตลาดพุ่งทะลุล้านคัน
“ส่วนตลาดรถยนต์ไทยในปี 2555 ยังคงมีความต้องการอยู่อย่างมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องของค่ายรถยนต์ต่างๆ ด้วยการแนะนำรถรุ่นใหม่ ตลอดจนนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ คาดว่าตลาดรถยนต์ในเมืองไทย จะมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.1 ล้านคัน”
ในส่วนของโตโยต้าปีนี้ เราตั้งเป้าหมายการขายที่ 4.5 แสนคัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 2.14 แสนคัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2.36 แสนคัน โดยเป็นปิกอัพ 1 ตัน (รวมปิกอัพดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ ด้วยจำนวน 2.141 แสนคัน และเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ เป็นรถสำเร็จรูปประมาณ 3.75 แสนคัน เพิ่มขึ้น 50% คิดเป็นมูลค่า 1.57 แสนล้านบาท และชิ้นส่วนมูลค่า 6.47 หมื่นล้านบาท โดยรวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 2.217 แสนล้านบาท
นายฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ในส่วนโรงงานผลิตรถอีซูซุจะกลับมาฟื้นกำลังผลิตเต็มที่อีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และหลังการเปิดตัวปิกอัพ อีซูซุ ดีแมคซ์ ใหม่ ได้การตอบรับจากตลาดดีมาก แต่ช่วงที่น้ำท่วมทำให้การผลิตมีปัญหา ปัจจุบันมียอดค้างส่งมอบกว่า 50,000 หมื่นคัน หรือถ้าจองรถตอนนี้ลูกค้าอาจต้องรออย่างน้อย 4 เดือน
“ในส่วนของแนวโน้มตลาด อีซูซุมองไปในทิศทางเดียวกับค่ายรถยนต์อื่นๆ ว่า หลังกำลังการผลิตกับมาเดินเครื่องเป็นปกติ มีโอกาสที่ตลาดรถยนต์รวมในปีนี้จะทำสถิติขายสูงสุดถึง 1 ล้านคัน ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นสัดส่วนของปิกอัพ 50% หรือเพิ่มขั้นจากปี 2554 ที่มีสัดส่วนเพียง 42%”
สำหรับยอดขายรถอีซูซุปีนี้ บริษัทยังไม่ได้ตั้งเป้าหมาย เพราะต้องดูตามความสามารถในการผลิต เพราะขึ้นอยู่กับการผลิตชิ้นส่วนของซัปพลายเออร์ด้วย แต่ถ้ามองจากตลาดรวม 1 ล้านคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 5 แสนคัน ดังนั้นถ้าบริษัทมีส่วนแบ่งในตลาดปิกอัพ 35-40% ยอดขายปี 2555น่าจะอยู่ประมาณ 1.8-2.0 แสนคัน (ปี 2554 ทำได้ 1.3 แสนคัน)