ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมการท่องเที่ยว เล็งหารือหน่วยงาน ปรับอัตราเงินค้ำประกันบริษัทนำเที่ยว ให้เหมาะสม คาด ไตรมาสแรก ได้เห็นการเริ่มงาน ด้านภาคเอกชน หนุนให้มีการปรับขึ้นเงินค้ำประกัน ระบุ ทุกวันนี้อัตราที่กำหนดไว้ต่ำเกินจริง เป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพ แทรกตัว
นายสุพล ศรีพันธ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ จะเชิญผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาหารือเกี่ยวกับการปรับเกณฑ์อัตราเก็บเงินค้ำประกับบริษัทที่จดทะเบียนทำธุรกิจนำเที่ยวให้มีความเหมาะสมเป็นธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างให้แก่กลุ่มมิจฉาชีพ ที่เข้ามาใช้ช่องทางธุรกิจนี้ เพื่อหลอกลวง คาดว่า ภายในไตรมาสแรกปีนี้ จะได้เห็นการประชุม และกรอบแนวทางการกำหนดอัตราเงินค้ำประกัน
“มีหลายฝ่ายเสนอมามาก ว่า อัตราเงินค้ำประกัน บริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทนำเที่ยว ในปัจจุบันนี้เป็นอัตราที่ต่ำมากเกินไป และใช้อัตรานี้มานานแล้ว ซึ่งกรมฯคงต้องนำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า อัตราที่จะตั้งขึ้นใหม่ ต้องเอื้อกับบริษัททัวร์ขนาดเล็กที่มีเงินทุนน้อย แต่สนใจเข้าสูงธุรกิจนี้อย่างถูกกฎหมายด้วย เพราะการเก็บเงินค้ำประกัน ถ้ามากเกินไป ก็จะไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบธุรกิจอย่างถูกต้อง หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต่างกับการที่จะทำให้เกิดทัวร์เถื่อนมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งการทำงาน กรมจะข้อดู พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ประกอบด้วย หากต้องปรับหรือแก้ไข ก็ต้องดำเนินการ เพราะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ คงต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับการทำงานจริงด้วย” นายสุพล กล่าว
*** ทัวร์ใหม่แห่จดทะเบียนเกือบ 2 พันราย
อย่างไรก็ตาม ปี 2554 มีบริษัททัวร์จดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,839 บริษัท, บริษัททัวร์ที่ต่ออายุ 2,169 บริษัท เมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งทั้งปีมีบริษัททัวร์จดทะเบียนใหม่อยู่ที่ 2,139 บริษัท ต่ออายุ 1,621 บริษัท มีผู้ขอรับใบอนุญาตมัคคุเทศก์ใหม่ทั้งสิ้น 5,732 คน ต่ออายุ 5,333 คน เทียบกับปี 2553 ที่จดใหม่ 6,672 คน และต่ออายุ 2,739 คน
ส่วนการขอยกเลิกบริษัททัวร์ในปี 2554 มี 464 บริษัท น้อยกว่าปี 2553
ซึ่งยกเลิกอยู่ที่ 499 บริษัท ตลอดทั้งปี 2554 มีการร้องเรียนตามมาตรา 40 นักท่องเที่ยวได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวตามที่โฆษณาหรือชี้ชวนไว้ทั้งสิ้น 14 คดี จาก 8 บริษัท และได้สั่งพักใช้ใบอนุญาตบริษัททัวร์หนึ่งราย อยู่ระหว่างการสอบสวน 7 บริษัท
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า เดือนพฤษภาคม 54 จดทะเบียนบริษัททัวร์ 330 บริษัทเทียบกับปี 53 ที่จด 192 บริษัทสูงกว่าปีก่อนหน้า 138 บริษัท ส่วนมัคคุเทศก์เดือนกันยายน 2554 จดเพิ่มสูงถึง 1,709 คนเทียบกับปี 53 ที่จด 735 คนสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 974 คน
***แนะต้องศึกษาให้เหมาะสม***
ทางด้าน นายเอนก ศรีชีวะชาติ ประธานที่ปรึกษา สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ และ กรรมการในสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟตต้า กล่าวว่า โดยส่วนตัว เห็นด้วยกับแนวคิด ที่ กรมการท่องเที่ยว จะปรับขึ้นอัตราเงินค้ำประกันบริษัทจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว เพราะอัตราที่ใช้อยู่ปัจจุบันใช้มามากกว่า 10 ปี แล้ว โดยอัตราที่จัดเก็บ คือ บริษัทที่ทำทัวร์อินบาวนด์ 1 แสนบาท, ทัวร์เอาต์บาวนด์ 2 แสนบาท และ ทัวร์โดเมสติก 5 หมื่นบาท จากอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว ซึ่งเมื่อดูจากค่าเงินและมูลค่าของธุรกิจในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก และยังต่ำกว่าทุกๆ ประเทศในประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยจัดเก็บต่ำที่สุด ตรงนี้อาจเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพที่แอบแฝงเข้ามาจดทะเบียน เพื่อมาทำธุรกิจแบบหลอกลวงนักท่องเที่ยว เมื่อเสร็จภาระกิจก็ยกเลิกการจดทะเบียน พอจะหลอกใหม่ก็เข้ามาจดใหม่ ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราเงินค้ำประกัน เป็นเรื่องที่อ่อนไหว ดังนั้น จึงแนะนำให้ กรมการท่องเที่ยวทำการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ที่ตั้งใจทำธุรกิจจริง ส่วนอัตราที่เหมาะสม ก็ให้ศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน มาเลเซีย ไต้หวัน เป็นต้น โดยแต่ละประเทศเก็บเงินค้ำประกันในอัตราที่สูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น หรือเฉลี่ยขั้นต่ำ คือ 1 ล้านบาท ขึ้นไป
นายสุพล ศรีพันธ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ จะเชิญผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาหารือเกี่ยวกับการปรับเกณฑ์อัตราเก็บเงินค้ำประกับบริษัทที่จดทะเบียนทำธุรกิจนำเที่ยวให้มีความเหมาะสมเป็นธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างให้แก่กลุ่มมิจฉาชีพ ที่เข้ามาใช้ช่องทางธุรกิจนี้ เพื่อหลอกลวง คาดว่า ภายในไตรมาสแรกปีนี้ จะได้เห็นการประชุม และกรอบแนวทางการกำหนดอัตราเงินค้ำประกัน
“มีหลายฝ่ายเสนอมามาก ว่า อัตราเงินค้ำประกัน บริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทนำเที่ยว ในปัจจุบันนี้เป็นอัตราที่ต่ำมากเกินไป และใช้อัตรานี้มานานแล้ว ซึ่งกรมฯคงต้องนำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า อัตราที่จะตั้งขึ้นใหม่ ต้องเอื้อกับบริษัททัวร์ขนาดเล็กที่มีเงินทุนน้อย แต่สนใจเข้าสูงธุรกิจนี้อย่างถูกกฎหมายด้วย เพราะการเก็บเงินค้ำประกัน ถ้ามากเกินไป ก็จะไม่จูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบธุรกิจอย่างถูกต้อง หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต่างกับการที่จะทำให้เกิดทัวร์เถื่อนมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งการทำงาน กรมจะข้อดู พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ประกอบด้วย หากต้องปรับหรือแก้ไข ก็ต้องดำเนินการ เพราะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ คงต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับการทำงานจริงด้วย” นายสุพล กล่าว
*** ทัวร์ใหม่แห่จดทะเบียนเกือบ 2 พันราย
อย่างไรก็ตาม ปี 2554 มีบริษัททัวร์จดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,839 บริษัท, บริษัททัวร์ที่ต่ออายุ 2,169 บริษัท เมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งทั้งปีมีบริษัททัวร์จดทะเบียนใหม่อยู่ที่ 2,139 บริษัท ต่ออายุ 1,621 บริษัท มีผู้ขอรับใบอนุญาตมัคคุเทศก์ใหม่ทั้งสิ้น 5,732 คน ต่ออายุ 5,333 คน เทียบกับปี 2553 ที่จดใหม่ 6,672 คน และต่ออายุ 2,739 คน
ส่วนการขอยกเลิกบริษัททัวร์ในปี 2554 มี 464 บริษัท น้อยกว่าปี 2553
ซึ่งยกเลิกอยู่ที่ 499 บริษัท ตลอดทั้งปี 2554 มีการร้องเรียนตามมาตรา 40 นักท่องเที่ยวได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวตามที่โฆษณาหรือชี้ชวนไว้ทั้งสิ้น 14 คดี จาก 8 บริษัท และได้สั่งพักใช้ใบอนุญาตบริษัททัวร์หนึ่งราย อยู่ระหว่างการสอบสวน 7 บริษัท
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า เดือนพฤษภาคม 54 จดทะเบียนบริษัททัวร์ 330 บริษัทเทียบกับปี 53 ที่จด 192 บริษัทสูงกว่าปีก่อนหน้า 138 บริษัท ส่วนมัคคุเทศก์เดือนกันยายน 2554 จดเพิ่มสูงถึง 1,709 คนเทียบกับปี 53 ที่จด 735 คนสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 974 คน
***แนะต้องศึกษาให้เหมาะสม***
ทางด้าน นายเอนก ศรีชีวะชาติ ประธานที่ปรึกษา สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ และ กรรมการในสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟตต้า กล่าวว่า โดยส่วนตัว เห็นด้วยกับแนวคิด ที่ กรมการท่องเที่ยว จะปรับขึ้นอัตราเงินค้ำประกันบริษัทจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว เพราะอัตราที่ใช้อยู่ปัจจุบันใช้มามากกว่า 10 ปี แล้ว โดยอัตราที่จัดเก็บ คือ บริษัทที่ทำทัวร์อินบาวนด์ 1 แสนบาท, ทัวร์เอาต์บาวนด์ 2 แสนบาท และ ทัวร์โดเมสติก 5 หมื่นบาท จากอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว ซึ่งเมื่อดูจากค่าเงินและมูลค่าของธุรกิจในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก และยังต่ำกว่าทุกๆ ประเทศในประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยจัดเก็บต่ำที่สุด ตรงนี้อาจเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพที่แอบแฝงเข้ามาจดทะเบียน เพื่อมาทำธุรกิจแบบหลอกลวงนักท่องเที่ยว เมื่อเสร็จภาระกิจก็ยกเลิกการจดทะเบียน พอจะหลอกใหม่ก็เข้ามาจดใหม่ ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราเงินค้ำประกัน เป็นเรื่องที่อ่อนไหว ดังนั้น จึงแนะนำให้ กรมการท่องเที่ยวทำการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ที่ตั้งใจทำธุรกิจจริง ส่วนอัตราที่เหมาะสม ก็ให้ศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน มาเลเซีย ไต้หวัน เป็นต้น โดยแต่ละประเทศเก็บเงินค้ำประกันในอัตราที่สูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น หรือเฉลี่ยขั้นต่ำ คือ 1 ล้านบาท ขึ้นไป