ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.ไทยรับสร้างบ้าน ประเมินน้ำท่วมฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคหดตัวรุนแรง ส่งผลตลาดปี 54 วูบ 25% เหลือ 8,300 ล้านบาท คาดซึมยาวไปถึงกลางปี 55 ระบุเห็นจุดเปลี่ยนธุรกิจ ตจว.แย่งแชร์ กทม.และปริมณฑล ปี 58 ตจว.ล้มแช้มป์ครองแชร์กว่า 50%
ภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งในกทม.และต่างจังหวัด ตามที่สมาคมฯ ได้เคยคาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2554 มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 8,000 ล้านาบาท หรือประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าตลาดรวม และมูลค่าตลาดต่างจังหวัดประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 30 ของตลาดรวมซึ่งในช่วงไตรมาส 1-3 ตลาดรวมรับสร้างบ้านเติบโตแบบทรงตัว โดยตลาดต่างจังหวัดมีทิศทางการเติบโตได้ค่อนข้างดีกว่าปีก่อนๆ
แต่ปรากฏว่า ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ (กันยายน-ธันวาคม.) ประเทศไทยเกิดปัญหาอุทกภัยร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่ภากลางกว่า 20 จังหวัด สร้างความเสียหายและสร้างผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง
สำหรับกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน ทั้งนี้ พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัวรุนแรง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งถือเป็นตลาดหลักของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน และมีสัดส่วนกว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งระบบ ซึ่งมีผู้ประกอบการแข่งขันอยู่ในเขตกรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมฯ จึงได้มีการปรับประมาณการมูลค่าตลาดรับสร้างบ้านปี 2554 โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดรับสร้างบ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจะลดลงเหลือเพียง 5,500-5,600 ล้านบาท ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณ 2,700 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมในกลุ่มตลาดรับสร้างบ้านทั่วประเทศปีนี้ ลดลงเหลือเพียง 8,200-8,300 ล้านบาทเท่านั้น หรือเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 25 และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงครึ่งปีแรกปี 2555 อันเกิดจากความวิตกของผู้บริโภคที่มีต่อปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในปีหน้า
อย่างไรก็ดี สมาคมฯ ประเมินภาพรวมมูลค่าตลาด “บ้านสร้างเอง” หรือบ้านที่สร้างบนที่ดินของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศในปีนี้ (บ้านที่ไม่ใช่สร้างโดยผู้ประกอบการบ้านจัดสรร) น่าจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านมีส่วนแบ่ง “บ้านสร้างเอง” อยู่ประมาณร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งหากมองในแง่ดีก็ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจรับสร้างบ้านยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ที่ผ่านมา ตลาดบ้านสร้างเองส่วนใหญ่ตกเป็นของผู้รับเหมารายย่อยทั่ว ไป ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน เติบโตจำกัดอยู่ในพื้นที่วงแคบหรือกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ทั้งๆ ที่ธุรกิจนี้มีมานานกว่า 50 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับอุสาหกรรมที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เช่น บ้านจัดสรร บ้านมือสอง กลับพบว่ามีมูลค่าเติบโตกว่าหลายเท่าตัวและกระจายอยู่ทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่ผ่านมาขาดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพและตลาดรวมรับสร้างบ้านให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เผยว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ณ ปัจจุบันจะเห็นภาพของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน เพียงแค่ความเสียหายเฉพาะหน้าหรือในส่วนงานก่อสร้างที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น แต่ที่จะต้องจับตาต่อไป คือ ยอดขายและรายได้ของผู้ประกอบการแต่ละราย จากนี้ไปจะหดหายไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน โดยเฉพาะรายที่รับสร้างบ้านเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ฉะนั้นความเสียหายทางการเงินของกลุ่มธุรกิจนี้ จะปรากฏชัดเจนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า สาเหตุที่ปรากฏให้เห็นช้าเป็นเพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ใช้ระบบเครดิตในการจัดซื้อและจัดจ้าง ดังนั้น สภาพคล่องและสถานะทางการเงินจะแสดงออกมาให้เห็นชัดในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านยังพอมีทางออก หากแต่ต้องปรับตัวเองรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ เช่น หันมารับงานซ่อมแซมบ้านหรือโรงงานที่มีอยู่จำนวนมากในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้านี้ หรือขยายการรับงานสร้างบ้านออกไปในต่างจังหวัด ฯลฯ เป็นต้น
สมาคมฯ ประเมินสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในปี 2555 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วง 1-6 เดือนแรก คาดว่า ความต้องการสร้างบ้านจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับภัยธรรมชาติหรือภัยน้ำท่วม สำหรับในครึ่งปีหลังคงต้องประเมินอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่ากำลังซื้อจะกลับสู่ภาวะปกติ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำขึ้นอีกในปีหน้า ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะอยู่รอดหรือจะล้มเหลวของธุรกิจรับสร้างบ้าน จึงมิใช่เพียงผู้ประกอบการจะปรับตัวฝ่ายเดียว หากแต่รัฐบาลจะต้องเร่งวางระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อเรียกความมั่นของผู้บริโภคและประชาชนกลับคืนมาโดยเร็ว
“ปี 2555 นับเป็นปีหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าธุรกิจรับสร้างบ้านมีการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำหลายรายจะขยับรุกตลาดรับสร้างบ้านต่างต่อเนื่องมากขึ้น เหตุผลก็เพราะ 1.ความจำเป็นอันเกิดจากตลาดรับสร้างบ้านกทม.หดตัว 2.แรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดรับสร้างบ้านกทม.และปริมณฑล 3.มองเห็นโอกาสตลาดรับสร้างบ้านตจว.และการแข่งขันที่ไม่รุนแรง 4.เพื่อสร้างยอดขายในพื้นที่ใหม่มาชดเชยกับตลาดเดิมที่ขนาดเล็กลง 5.เพื่อแข่งขันชิงความเป็นผู้นำตลาดตจว.และทั่วประเทศ ฯลฯ เป็นต้น”
นายสิทธิพร กล่าวต่อว่า จากทิศทางการปรับตัวของผู้ประกอบการดังกล่าว สมาคมฯ คาดการณ์ว่านับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไปจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดรับสร้างบ้านโดยสัดส่วนตลาดรับสร้างบ้านใน กทม.และปริมณฑล ปีหน้าจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 60 จากปีนี้ที่มีสัดส่วน 70% และมูลค่าตลาดต่างจังหวัดจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 (จากปีนี้ร้อยละ 30) นอกจากนี้ยังคาดว่าภายในปี 2558 เป็นต้นไป มูลค่าตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัดจะมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดรวมทั่วประเทศ
สำหรับปี 2555 ปริมาณบ้านสร้างเองทั่วประเทศจำนวนหน่วย คาดว่า จะลดลงเล็กน้อย แต่มูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงเหตุเพราะต้นทุนค่าก่อสร้างบ้านเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ประเมินว่าปริมาณบ้านสร้างเองยังคงมีมูลค่ารวมประมาณ 120,000 ล้านบาท โดยสมาคมฯ คาดาการณ์ว่า ธุรกิจรับสร้างบ้านจะมีแชร์ส่วนแบ่งทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8-8.5 หรือประมาณ 9,600-10,000 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ ให้จับตามูลค่าตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัดที่จะมีแนวโน้มเติบโตสูง อันเนื่องมาจากการรุกขยายตลาดของกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาสร้างบ้านสำรองหลังที่ 2 ในต่างจังหวัด ตลอดจนการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค เนื่องมาจากสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น และจะส่งผลประชาชนมีรายได้สูงขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมไปถึงก่อให้เกิดการขยายตัวของครอบครัวและมีความต้องการที่อยู่อาศัยหลังใหม่เพิ่มขึ้นตาม
ภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งในกทม.และต่างจังหวัด ตามที่สมาคมฯ ได้เคยคาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2554 มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 8,000 ล้านาบาท หรือประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าตลาดรวม และมูลค่าตลาดต่างจังหวัดประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 30 ของตลาดรวมซึ่งในช่วงไตรมาส 1-3 ตลาดรวมรับสร้างบ้านเติบโตแบบทรงตัว โดยตลาดต่างจังหวัดมีทิศทางการเติบโตได้ค่อนข้างดีกว่าปีก่อนๆ
แต่ปรากฏว่า ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ (กันยายน-ธันวาคม.) ประเทศไทยเกิดปัญหาอุทกภัยร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่ภากลางกว่า 20 จังหวัด สร้างความเสียหายและสร้างผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง
สำหรับกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน ทั้งนี้ พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัวรุนแรง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งถือเป็นตลาดหลักของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน และมีสัดส่วนกว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งระบบ ซึ่งมีผู้ประกอบการแข่งขันอยู่ในเขตกรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมฯ จึงได้มีการปรับประมาณการมูลค่าตลาดรับสร้างบ้านปี 2554 โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดรับสร้างบ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจะลดลงเหลือเพียง 5,500-5,600 ล้านบาท ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณ 2,700 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมในกลุ่มตลาดรับสร้างบ้านทั่วประเทศปีนี้ ลดลงเหลือเพียง 8,200-8,300 ล้านบาทเท่านั้น หรือเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 25 และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงครึ่งปีแรกปี 2555 อันเกิดจากความวิตกของผู้บริโภคที่มีต่อปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในปีหน้า
อย่างไรก็ดี สมาคมฯ ประเมินภาพรวมมูลค่าตลาด “บ้านสร้างเอง” หรือบ้านที่สร้างบนที่ดินของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศในปีนี้ (บ้านที่ไม่ใช่สร้างโดยผู้ประกอบการบ้านจัดสรร) น่าจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านมีส่วนแบ่ง “บ้านสร้างเอง” อยู่ประมาณร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งหากมองในแง่ดีก็ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจรับสร้างบ้านยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ที่ผ่านมา ตลาดบ้านสร้างเองส่วนใหญ่ตกเป็นของผู้รับเหมารายย่อยทั่ว ไป ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน เติบโตจำกัดอยู่ในพื้นที่วงแคบหรือกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ทั้งๆ ที่ธุรกิจนี้มีมานานกว่า 50 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับอุสาหกรรมที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เช่น บ้านจัดสรร บ้านมือสอง กลับพบว่ามีมูลค่าเติบโตกว่าหลายเท่าตัวและกระจายอยู่ทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่ผ่านมาขาดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพและตลาดรวมรับสร้างบ้านให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เผยว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ณ ปัจจุบันจะเห็นภาพของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้าน เพียงแค่ความเสียหายเฉพาะหน้าหรือในส่วนงานก่อสร้างที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น แต่ที่จะต้องจับตาต่อไป คือ ยอดขายและรายได้ของผู้ประกอบการแต่ละราย จากนี้ไปจะหดหายไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน โดยเฉพาะรายที่รับสร้างบ้านเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ฉะนั้นความเสียหายทางการเงินของกลุ่มธุรกิจนี้ จะปรากฏชัดเจนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า สาเหตุที่ปรากฏให้เห็นช้าเป็นเพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ใช้ระบบเครดิตในการจัดซื้อและจัดจ้าง ดังนั้น สภาพคล่องและสถานะทางการเงินจะแสดงออกมาให้เห็นชัดในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านยังพอมีทางออก หากแต่ต้องปรับตัวเองรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ เช่น หันมารับงานซ่อมแซมบ้านหรือโรงงานที่มีอยู่จำนวนมากในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้านี้ หรือขยายการรับงานสร้างบ้านออกไปในต่างจังหวัด ฯลฯ เป็นต้น
สมาคมฯ ประเมินสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในปี 2555 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วง 1-6 เดือนแรก คาดว่า ความต้องการสร้างบ้านจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับภัยธรรมชาติหรือภัยน้ำท่วม สำหรับในครึ่งปีหลังคงต้องประเมินอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่ากำลังซื้อจะกลับสู่ภาวะปกติ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำขึ้นอีกในปีหน้า ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะอยู่รอดหรือจะล้มเหลวของธุรกิจรับสร้างบ้าน จึงมิใช่เพียงผู้ประกอบการจะปรับตัวฝ่ายเดียว หากแต่รัฐบาลจะต้องเร่งวางระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อเรียกความมั่นของผู้บริโภคและประชาชนกลับคืนมาโดยเร็ว
“ปี 2555 นับเป็นปีหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าธุรกิจรับสร้างบ้านมีการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำหลายรายจะขยับรุกตลาดรับสร้างบ้านต่างต่อเนื่องมากขึ้น เหตุผลก็เพราะ 1.ความจำเป็นอันเกิดจากตลาดรับสร้างบ้านกทม.หดตัว 2.แรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดรับสร้างบ้านกทม.และปริมณฑล 3.มองเห็นโอกาสตลาดรับสร้างบ้านตจว.และการแข่งขันที่ไม่รุนแรง 4.เพื่อสร้างยอดขายในพื้นที่ใหม่มาชดเชยกับตลาดเดิมที่ขนาดเล็กลง 5.เพื่อแข่งขันชิงความเป็นผู้นำตลาดตจว.และทั่วประเทศ ฯลฯ เป็นต้น”
นายสิทธิพร กล่าวต่อว่า จากทิศทางการปรับตัวของผู้ประกอบการดังกล่าว สมาคมฯ คาดการณ์ว่านับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไปจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดรับสร้างบ้านโดยสัดส่วนตลาดรับสร้างบ้านใน กทม.และปริมณฑล ปีหน้าจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 60 จากปีนี้ที่มีสัดส่วน 70% และมูลค่าตลาดต่างจังหวัดจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 (จากปีนี้ร้อยละ 30) นอกจากนี้ยังคาดว่าภายในปี 2558 เป็นต้นไป มูลค่าตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัดจะมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดรวมทั่วประเทศ
สำหรับปี 2555 ปริมาณบ้านสร้างเองทั่วประเทศจำนวนหน่วย คาดว่า จะลดลงเล็กน้อย แต่มูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงเหตุเพราะต้นทุนค่าก่อสร้างบ้านเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ประเมินว่าปริมาณบ้านสร้างเองยังคงมีมูลค่ารวมประมาณ 120,000 ล้านบาท โดยสมาคมฯ คาดาการณ์ว่า ธุรกิจรับสร้างบ้านจะมีแชร์ส่วนแบ่งทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8-8.5 หรือประมาณ 9,600-10,000 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ ให้จับตามูลค่าตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัดที่จะมีแนวโน้มเติบโตสูง อันเนื่องมาจากการรุกขยายตลาดของกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาสร้างบ้านสำรองหลังที่ 2 ในต่างจังหวัด ตลอดจนการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค เนื่องมาจากสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น และจะส่งผลประชาชนมีรายได้สูงขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมไปถึงก่อให้เกิดการขยายตัวของครอบครัวและมีความต้องการที่อยู่อาศัยหลังใหม่เพิ่มขึ้นตาม